"น้ำเต้าหู้" หรือ "นมถั่วเหลือง" แหล่งโปรตีนชั้นดีสำหรับผู้ที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ หรือสำหรับคนที่บริโภคเนื้อสัตว์ ก็สามารถดื่มน้ำเต้าหู้เป็นอาหารเสริมได้เพราะถั่วเหลืองที่นำมาทำน้ำเต้าหู้นั้นมีโปรตีนสูง และมีคุณค่าทางโภชณาการใกล้เคียงกับโปรตีนจากเนื้อสัตว์
นอกจากนี้ ในถั่วเหลืองยังอุดมไปด้วยสารอาหารอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามิน AB, B1, B2, B6, B12 ไนอาซิน และวิตามิน C, D, E และในเมล็ดถั่วเหลืองยังมี "เลซิทิน" อันเป็นสารบำรุงสมอง เพิ่มความทรงจำ ลดไขมันและลดโคเลสเตอรอลในร่างกายได้อีกด้วย
ประโยชน์ของน้ำเต้าหู้
ข้อดี
- โอกาสการเป็นมะเร็งเต้านมลดน้อยลง เนื่องจาก ไฟโตเอสโตรเจนจะไแย่งจับกับตัวรับ (Receptor) ของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย
- ไฟโตเอสโตรเจนช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน อาการวัยทอง และโรคหลอดเลือดหัวใจการรับประทานเต้าหู้วันละ 2ชิ้น จะได้สารไฟโตเอสโตรเจน 2 มิลลิกรัม ซึ่งเพียงพอต่อการป้องกันกระดูกพรุน การรับประทานโปรตีนถั่วเหลืองวันละ 25 กรัม สามารถลดหรือป้องกันอาการวัยทอง ได้แก่ ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก และวิตกกังวล
- ป้องกันการทำลาย DNA ใน lymphocyte
ข้อเสีย
- การรับประทานไฟโตเอสโตรเจนขนาดสูง อาจเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ เพราะไฟโตเอสโตรเจนก็ทำหน้าที่เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ดังนั้นคนที่เป็นมะเร็งเต้านม การรับประทานไฟโตเอสโตรเจนเป็นควรระวัง
คุณประโยชน์อื่นๆที่น่าสนใจในผู้หญิงและผู้ชาย
- ช่วยลดและป้องกัน โรคมะเร็งเต้านม และ บรรเทาอาการ ข้างเคียงจาก ภาวะหมดประจำเดือน
- ช่วยป้องกันและแก้ไข โรคหัวใจ เนื่องจากเป็นอาหารที่ไม่มีคอเรสเตอรอล มีไฟเบอร์สูง นอกจากนี้ยังมี โอเมกา 3 และวิตามินอี
- ช่วยป้องกันและยับยั้งโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
- ช่วยป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากถั่วเหลืองมีไฟเบอร์สูง ไฟเบอร์เหล่านี้จะช่วยทำความสะอาดระบบทางเดินอาหาร
- ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ได้
- เป็นแหล่งโปรตีนสำคัญสำหรับนักมังสวิรัต เพราะถั่วเหลืองมีสารอะมิโน เอซิด ที่จำเป็นต่อร่างกาย
- ใช้แทนน้ำนมวัว ในเด็กที่แพ้นมวัวและแพ้แลคโตสในนม
- ใช้เป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะถั่วเหลืองมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบน้อย และยังไม่มีคอเลสเตอรอล
วิธีทำน้ำเต้าหู้
ส่วนผสมน้ำเต้าหู้
- ถั่วเหลืองเลาะเปลือกแยกกากและเศษผงออก 1 ถ้วย
- น้ำสะอาด 7 ถ้วย
- น้ำตาลทราย 3/4 ถ้วย
- วิธีทำ
- ล้างทำความสะอาดถั่วให้สะอาดแล้วแช่น้ำไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง
- โม่หรือบดถั่วให้ละเอียด กรองด้วยผ้าขาวบางแยกน้ำออก หากมีเครื่องแยกกากก็ใช้เครื่องแยกกากก็ได้ค่ะ
- นำขึ้นตั้งไฟ ตอนใกล้ๆ เดือดต้องคอยคนอยู่เสมอเพื่อไม่ให้ไหม้
- ใส่น้ำตาลทราย คนให้ละลายแล้วปิดไฟ อาจแยกบางส่วนไม่ใส่น้ำตาลทรายเลยก็ได้ แล้วแต่ชอบ
- ทั้งนี้ จุดสำคัญของการทำน้ำเต้าหู้อยู่ที่ขั้นตอนการทำ ต้องหมั่นคน มิฉะนั้นจะมีกลิ่นไหม้
วิธีทำเครี่องน้ำเต้าหู้
- "ลูกเดือย" นำลูกเดือยมาแช่น้ำประมาณ 1 ชั่วโมง นำลงต้มในน้ำจนเดือด จากนั้นลดไฟลงและเคี่ยวต่อจนเปื่อย ใช้เฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อลูกเดือย ส่วนที่เป็นน้ำเททิ้งไป
- "วุ้น" นำน้ำขึ้นตั้งไฟต้มจนเดือด ระหว่างนั้นนำผงวุ้นละลายในน้ำธรรมดา พักไว้ เทน้ำที่ต้มไว้แล้วลงในถาดโลหะอาจเป็นถาดอลูมิเนียมหรือถาดสแตนเลสก็ได้นำผงวุ้นที่ละลายน้ำไว้แล้วเทลงในถาดใช้ช้อนคนให้ทั่วทั้งถาด... รอให้เย็นวุ้นก็จะแข็งเป็นก้อน เมื่อแข็งเป็นก้อนแล้วจึงใช้มีดตัดออกเป็นก้อนสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 3 คูณ 3 เซนติเมตรและซอยออกเป็นเส้นเล็กๆ อีกครั้งหนึ่ง
- "สาคู" นำน้ำขึ้นตั้งไฟให้เดือด เทสาคูลงไป ต้มจนน้ำเดือดอีกครั้ง จากนั้นปิดไฟปล่อยไว้ให้เย็นแล้วเทน้ำทิ้งไป ทำเช่นนี้สองครั้งก็จะได้สาคูที่นุ่มลิ้น
แหล่งที่มา : thaigoodview.com