ไปจ่ายตลาดของมาเยอะเกินไป เราจะเก็บใส่ตู้เย็นแบบไหนให้ของ สด สะอาด อายุการเก็บยาวนาน
เทคนิคการแช่แข็งอาหาร
เรามาใช้ตู้เย็นในการยืดอายุการเก็บรักษาวัตถุดิบสำหรับทำอาหาร โดยอาศัยความเย็นที่เหมาะสมเป็นตัวยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย มาเช็คและเตรียมพร้อมตู้เย็นกัน
ตั้งอุณหภูมิตู้เย็นให้ต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส ส่วนช่องแข็งให้ตั้งเอาไว้ที่ -18 องศาเซลเซียส ถ้าให้ดีเราควรใช้เทอรโมมิเตอร์ในการตั้งอุณหภูมิ
ควรเช็ควันหมดอายุของ ของที่ซื้อมา ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ต่างๆ ใช้วิธีแช่แข็งจะช่วยให้ยืดวันหมดอายุได้มากกว่าที่ระบุไว้ เมื่อเปิดห่อเมื่อไหร่ควรที่จะใช้ให้หมด แต่ถ้าใช้ไม่หมดให้รีบเก็บเข้าตู้เย็นทันที แต่ถ้าของที่ซื้อมาไม่มีวันระบุ ให้เตรียมของโดยแบ่งเป็นชุดๆ เท่าที่จำเป็น และเขียนวันที่ซื้อเอาไว้
อาหารที่ปรุง หรืออาหารที่เหลือ เราควรเก็บในตู้เย็นทันทีก่อนที่อุณหภูมิอาหารจะลดลงเท่ากับอุณหภูมิห้อง อาหารที่เหลือมากให้เลือกใช้ภาชนะก้นตื้นในการเก็บเข้าตู้เย็น ไม่ควรเก็บนานเกินกว่า 3-4 วัน
ลดการปนเปื้อนของแบคทีเรียในของสดและของที่ปรุงสุกแล้ว ไม่ควรเก็บผักสลัดกับเนื้อไก่ที่ปรุงสุกแล้ว ส่วนผัก ผลไม้ที่หั่นแล้วควรเก็บเข้าตู้เย็นภายใน 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรีย
+++ข้อควรรู้เมื่อต้องละลายอาหารแช่แข็ง+++
เอาอาหารแช่แข็งลงมาพักไว้ที่ช่องธรรมดา เมื่อละลายเรียบร้อยแล้วค่อยนำไปใช้ หากไม่ได้ใช้โดยที่ยังไม่ได้เอาออกมาจากตู้เย็น ก็สามารถใส่กลับไปที่ช่องแข็งได้ แต่คุณค่าทางอาหารจะลดลง
ให้ละลายอาหารแข็ง โดยนำไปแช่ในน้ำเย็น ต้องระวังไม่ให้ภาชนะที่ใส่อาหารเสียหาย ให้เปลี่ยนน้ำทุก 30 นาที เพื่อช่วยให้ละลายได้เร็วขึ้น
ใช้ไมโครเวฟในการละลายน้ำแข็ง เมื่อละลายแล้วควรรีบใชทันที แต่ถ้านำไปปรุงสุกแล้วเหลือ ก็สามารถนำมาแช่แข็งเก็บไว้ได้
การละลายน้ำแข็ง โดยใช้อุณหภูมิห้องหรือใช้น้ำร้อน ต้องรีบใช้ให้หมดในครั้งเดียว
หากเราเก็บรักษาอาหารโดยการแช่แข็งและการละลายอาหารแช่แข็งอย่างถูกวิธีแล้ว จะทำให้เราเก็บอาหารได้ยาวนานขึ้นแถมคุณค่าอาหารยังคงเดิม
บทความโดย FoodieTaste
บทความที่เกี่ยวข้อง
การถนอมอาหารโดยใช้ความเย็น
การละลายอาหารแช่เยือกแข็ง สามารถทำได้โดยวิธีไดบ้าง?