ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ประวัติความเป็นมาของเลสิก, ประวัติความเป็นมาของเลสิก หมายถึง, ประวัติความเป็นมาของเลสิก คือ, ประวัติความเป็นมาของเลสิก ความหมาย, ประวัติความเป็นมาของเลสิก คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ประวัติความเป็นมาของเลสิก

ประวัติความเป็นมาของเลสิก
กำเนิดของการรักษาด้วยวิธีเลสิกนั้น เริ่มต้นในปี คศ.1949 โดย Dr.Jose I. Barraquer จักษุแพทย์ชื่อดังแห่งกรุงโบโกต้า ประเทศโคลัมเบีย ซึ่งเป็นจักษุแพทย์ท่านแรกที่คิดค้น วิธีการแยกชั้นกระจกตา (Keratomileusis) โดยทำการผ่าตัดแยกชั้นกระจกตาออก แล้วนำชั้นกระจกตาที่ได้แยกไว้ไปทำการตัดแต่ง จากนั้นจึงนำกลับมาเย็บบนกระจกตาอีกครั้ง เพื่อรักษาสายตาสั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และน่าทึ่งมากในขณะนั้น นอกจากนี้ ยังถือเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของการรักษาภาวะสายตาผิดปกติของโลก ซึ่งต่อมา Dr.Jose I. Barraquer ได้รับการขนานนามให้เป็น บิดาแห่งการผ่าตัดแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติของโลก (Father of Refractive Surgery)

ต่อมาจักษุแพทย์หลายท่านได้พยายามนำวิธีการดังกล่าวมาปรับใช้ จนในปี คศ.1983 Dr.Trokel ได้นำ เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) มายิงบนผิวกระจกตาชั้นบน เพื่อรักษาภาวะสายตาผิดปกติ วิธีการผ่าตัดชนิดนี้ เรียกว่า PRK (Photo Refractive Keratectomy) ซึ่งเป็นที่นิยมมากในเวลาต่อมา                                                                                                                                
กระทั่งในปี คศ.1990 Dr.Buratto และ Dr.Pallikalis ได้นำเอาข้อดีของการผ่าตัดทั้ง 2 วิธีมาผสมผสานกันกลายเป็น การรักษาด้วยวิธีเลสิก (LASIK) ในปัจจุบัน เนื่องจาก การผ่าตัดแบบ Keratomileusis เป็นการแยกชั้นกระจกตา ซึ่งช่วยให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อแผลน้อยมาก และเมื่อผนวกกับความแม่นยำของเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ จึงทำให้เลสิกเป็นการรักษาที่มีความแม่นยำสูง และผลข้างเคียงต่ำ จึงทำให้ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในขณะนี้

เลสิก ถือเป็นนวัตกรรมที่สร้างประวัติศาสตร์อันโดดเด่นของการรักษาสายตา เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก ปลอดภัยและรวดเร็ว โดยใช้เวลาเพียง 15 นาทีต่อการรักษา 1 ข้างและให้ผลอย่างถาวร คุณจึงไม่จำเป็นต้องใช้แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์อีกต่อไป

ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเข้ารับการรักษาหรือไม่ ก็ควรพิจารณาถึงข้อดีของการแก้ไขด้วยวิธีเลสิก เปรียบเทียบกับข้อดีของการแก้ไขด้วยแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์เสียก่อน ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือข้อดีต่าง ๆ ที่คุณจะได้สัมผัสจากการรักษาด้วยวิธีเลสิก
     - เพิ่มอิสระให้กับชีวิตมากขึ้น ไม่ต้องใช้แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
     - เพิ่มโอกาสการประกอบอาชีพในบางอาชีพ
     - เพิ่มความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น
     - เป็นการรักษาที่ให้ผลถาวร
     - ใช้เวลาในการรักษาน้อยและมีระยะพักฟื้นที่รวดเร็ว เพียง 1 วันก็สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ
     - ไม่มีความเจ็บปวด เนื่องจากมีการใช้ยาชาหยอดตา ไม่ต้องฉีดยาชาหรือยาสลบ และไม่มีการเย็บแผล

ข้อเสียจากการรักษาด้วยวิธีเลสิก
     - อาจจะมีปัญหาเรื่องตาแห้ง(แต่สามารถรักษาหายได้แต่ต้องใช้เวลา) ซึ่งสาเหตุนี้จะพบบ่อยแต่ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ที่เหลือ ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเอง
     - ไม่เหมาะกับคนที่มีกระจกตาบาง

ผู้ที่เหมาะสมกับการรักษาด้วยวิธีเลสิก ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

1.ผู้ที่มีความประสงค์ที่จะลดการพึ่งพาแว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ เนื่องจากเกิดปัญหาในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน หรือการประกอบอาชีพที่ไม่เอื้ออำนวย ต่อการใช้แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ 
2.ผู้เข้ารับการรักษาควรมีอายุอย่างน้อย 18 ปี และมีระดับสายตาคงที่อย่างน้อยเป็นเวลา 1 ปี 
3.เนื่องจากผู้ที่มีอายุไม่ถึง 18 ปี สายตาจะยังมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงควร รอให้อายุถึง 18 ปีเพื่อให้ค่าสายตาคงที่ ก่อนเข้ารับการรักษา 
4.ไม่มีโรคของกระจกตา เช่น กระจกตาย้วย หรือ ความหนาของกระจกตาไม่เพียงพอ หรือโรคที่เกี่ยวกับการหายของแผลในร่างกาย 
5.ไม่ควรอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นระยะที่ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจส่งผลให้ค่าสายตาเปลี่ยนแปลงไปด้วย จึงควรรอให้คลอดบุตรเสียก่อน                                                 

สำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป การรักษาเป็นการทำให้ระดับสายตากลับมาเป็นปกติ ดังนั้นอาจมีความจำเป็นต้องใช้แว่นในการอ่านหนังสือ เช่นเดียวกับคนสายตาปกติทั่วไป

ขอบคุณข้อมูลจาก https://women.sanook.com/936238/มารู้จักเลสิกกันนะค่ะ/


ประวัติความเป็นมาของเลสิก, ประวัติความเป็นมาของเลสิก หมายถึง, ประวัติความเป็นมาของเลสิก คือ, ประวัติความเป็นมาของเลสิก ความหมาย, ประวัติความเป็นมาของเลสิก คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu