ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ภาษีหัก ณ. ที่จ่าย ใครมีหน้าที่หักภาษี, ภาษีหัก ณ. ที่จ่าย ใครมีหน้าที่หักภาษี หมายถึง, ภาษีหัก ณ. ที่จ่าย ใครมีหน้าที่หักภาษี คือ, ภาษีหัก ณ. ที่จ่าย ใครมีหน้าที่หักภาษี ความหมาย, ภาษีหัก ณ. ที่จ่าย ใครมีหน้าที่หักภาษี คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 4
ภาษีหัก ณ. ที่จ่าย ใครมีหน้าที่หักภาษี

แล้วเงินได้อะไรต้องหักภาษีบ้าง และต้องหักในอัตราเท่าใดของรายได้

ในปัญหาเกี่ยวกับการหักภาษี ณ. ที่จ่ายมักมีปัญหาทำผิดพลาดเสมอ และถ้าผิดพลาดผลที่เกิดขึ้นคือ ต้องถูกประเมิน ต้องไปยื่นเพิ่มเติม เสียภาษี ค่าปรับ เงินเพิ่ม เสียเงินจนผู้ประกอบการต้องปวดหัว และเกิดความเครียด จนกลัวเรื่องภาษีไปหมด

คราวนี้มาทำความเข้าใจเรื่องภาษีหัก ณ . ที่จ่ายกันหน่อย  ในเรื่องภาษีหัก ณ. ที่จ่าย ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ. ที่จ่าย คือ บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล  ที่เป็นผู้จ่ายเงินได้  ต้องมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องทำการหักภาษี ณ. ที่จ่ายไว้เสมอ ถ้าถามว่า เงินที่หักภาษี ณ. ที่จ่ายนี้เป็นเงินอะไรในทางภาษี คำตอบคือเป็นเงินภาษีรายได้ของผู้ถูกหักภาษี(ผู้มีรายได้)นั้นเอง ที่เมื่อกลางปี สิ้นปี ครบรอบบัญชีแล้ว ผู้มีรายได้ต้องไปยื่นแบบเสียภาษีต่อกรมสรรพกร และหากคำนวณแล้วไม่มีภาษีต้องเสีย หรือภาษีสุทธิน้อยกว่าภาษีหัก ณ. ที่จ่ายไว้ ท่านก็ไม่ต้องเสียเงินชำระภาษีอีก ในขณะเดียวกันถ้ามีภาษีหัก ณ. ที่จ่ายมากกว่าภาษีที่ต้องชำระเมื่อคำนวณแล้ว ท่านก็จะสามารถขอคืนภาษีได้ครับ แต่ท่านต้องยื่นแบบขอคืนให้ถูกต้อง แต่ถ้าท่านรวยมากไม่ขอคืนภาษี ก็เท่ากับว่าท่านทำความดียกเงินคืนนั้นให้ประเทศครับ ดังนี้เมื่อผู้มีรายได้ถูกผู้จ่ายเงินได้ หักภาษี ณ. ที่จ่ายไว้แล้ว ผู้มีรายได้ต้องเก็บใบหัก ณ. ที่จ่ายไว้ครับ และที่สำคัญควรตรวจดูชื่อ สกุล ที่อยู่ต้องให้ตรงกับทะเบียนบ้านทุกตัวอักษร (เวลารับเงินได้  ควรจดชื่อ นามสกุล ที่อยู่ให้ผู้จ่ายเงินได้ จะได้ไม่ผิดพลาด) และหากรายการใดผิดพลาดจะใช้ไม่ได้ครับ และถ้าข้อความผิดไม่ต้องตกใจ รีบกลับไปให้ผู้จ่ายเงินได้ออกใบหักภาษี ณ. ที่จ่ายให้ใหม่โดยทันที ครับ

ส่วนในปัญหา เงินได้ใดต้องถูกหักภาษี ณ. ที่จ่ายบ้าง และถ้าถูกหักมีการหักอย่างไร หรือมีอัตราเท่าใด วิธีการคำนวณในแต่ละประเภทรายได้ต้องทำอย่างไรนั้น ผู้จ่ายเงินได้ ต้องมีหน้าที่หัก ณ. ที่จ่ายในเงินได้ดังต่อไปนี้

มาตรา 50 ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามวิธีดังต่อไปนี้

    (1) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) ให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย เพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น
    ถ้าการหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายตามความในวรรคก่อนไม่ลงตัว เหลือเศษเท่าใดให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น เพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักรวมทั้งปีเท่าจำนวนภาษีที่จะต้องเสียทั้งปี

    ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งได้คำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงาน และได้จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ให้คำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(5) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น
    ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) นอกจากที่ระบุไว้ในวรรคสาม ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอันตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้

    (2) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) และ (4) ให้คำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้ เว้นแต่

         (ก) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) และ (4) นอกจากที่ระบุไว้ใน (ข)(ค)(ง) และ (จ) ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้

         (ข) ในกรณีเงินได้พึงประเมินที่ระบุในมาตรา 48(3) (ก) และ(ค) ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้      

         (ค) ในกรณีเงินได้พึงประเมินที่ระบุในมาตรา 48(3) (ข) ให้ถือว่าผู้ออกตั๋วเงิน ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือนิติบุคคลผู้โอนตั๋วเงินหรือตราสารดังกล่าว ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามส่วนนี้เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน และให้เรียกเก็บภาษีเงินได้จากผู้มีเงินได้ ในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ และให้ถือว่าภาษีที่เรียกเก็บนั้นเป็นภาษีที่หักไว้
         (ง) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) (ก) ที่มิได้ระบุใน (ข) และ (ค) แห่งมาตรานี้ ถ้าผู้จ่ายเงินได้มิใช่เป็นนิติบุคคล และจ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ไม่ต้องหักภาษีตามมาตรานี้
         (จ) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) (ข) ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้

     (3) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) และ (6) ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้

     (4) นอกจากกรณีตาม (5) ในกรณีผู้จ่ายเงินตามมาตรานี้เป็นรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ซึ่งจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)(6) (7) หรือ (8) แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าซื้อพืชผลทางการเกษตรให้กับผู้รับรายหนึ่ง ๆ มีจำนวนรวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่งๆ ไม่ถึง 10,000 บาทก็ดี ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมิน แต่เฉพาะเงินได้ในการประกวดหรือแข่งขัน ให้คำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้

    (5) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) เฉพาะที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์ ให้คำนวณหักดังต่อไปนี้

         (ก) สำหรับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ให้คำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(4) (ก) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น
         (ข) สำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นนอกจาก (ก) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(4) (ข) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น

    (6) ในกรณีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน ให้ผู้โอนหักภาษีตามเกณฑ์ใน (5) โดยถือว่าผู้โอนเป็นผู้จ่ายเงินได้

    มาตรา 50 ทวิ ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ได้หักไว้แล้วในปีภาษีให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายสองฉบับ มีข้อความตรงกันในกรณีและตามกำหนดเวลาดังต่อไปนี้
    (1) ในกรณีตามมาตรา 3 เตรส ให้ออกในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย
    (2) ในกรณีตามมาตรา 50(1) ให้ออกภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ของปีถัดจากปีภาษี หรือภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายออกจากงานในระหว่างปีภาษี
    (3) ในกรณีตามมาตรา 50(2) (3) หรือ (4) ให้ออกในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย
    หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ใช้ตามแบบที่อธิบดีกำหนด
    อธิบดีมีอำนาจยกเว้นการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ในกรณีที่เห็นสมควร

ที่มา  บทความวิชาการ:ทนายศิริ วสุสิริกุล
sahanetilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=319902&Ntype=2


ภาษีหัก ณ. ที่จ่าย ใครมีหน้าที่หักภาษี, ภาษีหัก ณ. ที่จ่าย ใครมีหน้าที่หักภาษี หมายถึง, ภาษีหัก ณ. ที่จ่าย ใครมีหน้าที่หักภาษี คือ, ภาษีหัก ณ. ที่จ่าย ใครมีหน้าที่หักภาษี ความหมาย, ภาษีหัก ณ. ที่จ่าย ใครมีหน้าที่หักภาษี คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu