ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า, ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า หมายถึง, ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า คือ, ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า ความหมาย, ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า

1. ความเป็นมา

1.1 ค่าไฟฟ้าที่การไฟฟ้าเรียกเก็บ จากผู้ใช้ไฟฟ้า ในแต่ละเดือนประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าฐาน และค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) โดยโครงสร้างค่าไฟฟ้าฐาน จะคำนวณจากค่าใช้จ่ายในการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบสายส่ง ระบบสายจำหน่าย ภายใต้สมมติฐานความต้องการใช้ไฟฟ้า ราคาเชื้อเพลิง อัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ และการปรับปรุงประสิทธิภาพของกิจการไฟฟ้าในระดับหนึ่ง

1.2 คณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2534 ได้เห็นชอบให้มีการนำสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) มาใช้ เพื่อให้การไฟฟ้าสามารถปรับค่าไฟฟ้า ตามการเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นจริง และไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของการไฟฟ้า

1.3 การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้เรียกเก็บค่าไฟฟ้าตามสูตร Ft มาตั้งแต่การเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้าประจำเดือนกันยายน 2535 โดยนำค่า Ft ที่คำนวณได้ไปรวมกับค่าไฟฟ้าฐาน ตามโครงสร้างปกติ เดิมค่า Ft จะเปลี่ยนแปลงเป็นรายเดือน ต่อมา มีการร้องขอจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ไม่ต้องการให้ค่า Ft มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยเกินไป ปัจจุบัน จึงมีการพิจารณาใช้ค่า Ft เฉลี่ย 4 เดือน

1.4 เพื่อให้โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า สอดคล้องกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ลดลง และลักษณะการใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป คณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543 ได้มีมติเห็นชอบการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า และข้อเสนอสูตรการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติใหม่ โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ รับไปดำเนินการปรับค่าไฟฟ้าตามสูตรFt ภายใต้หลักการดังกล่าว

1.5 ค่าไฟฟ้าตามสูตร Ft ได้มีการปรับปรุงรายละเอียดของสูตร ให้มีความชัดเจนโปร่งใสยิ่งขึ้น โดยนำค่า Ftในขณะนั้น ณ ระดับ 64.52 สตางค์/หน่วย รวมไว้ในโครงสร้างค่าไฟฟ้าฐาน และปรับฐานค่า Ft ใหม่ ให้มีค่าเท่ากับ 0 ณ จุดเริ่มต้น นำค่าใช้จ่ายในการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า (DSM) ออกจากสูตร Ft และให้การไฟฟ้าร่วมรับภาระความเสี่ยง ของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศด้วย

 
2. คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ

การปรับค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติอยู่ในความดูแลของคณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ซึ่งปัจจุบันมีองค์ประกอบ ดังนี้
(1)  ปลัดกระทรวงพลังงาน  ประธานอนุกรรมการ
(2)  ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน  รองประธานอนุกรรมการ
(3)  ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  อนุกรรมการ
(4)  ผู้แทนสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ  อนุกรรมการ
(5)  ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ  อนุกรรมการ
(6)  ผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  อนุกรรมการ
(7)  ผู้แทนการไฟฟ้านครหลวง  อนุกรรมการ
(8)  ผู้แทนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  อนุกรรมการ
(9)  ผู้แทนผู้บริโภครายย่อย (นายธนาคม มหาชัยพงศ์กุล)  อนุกรรมการ
(10)  ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  อนุกรรมการ
(11)  ผู้แทนหอการค้าไทย  อนุกรรมการ
(12)  นายกฤษณพงษ์ กีรติกร (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)  อนุกรรมการ
(13)  นายนิตย์ จันทรมังคละศรี  อนุกรรมการ
(14)  ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน  อนุกรรมการและเลขานุการ
(15)  ผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

อำนาจและหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ

    กำหนดวิธีการคำนวณและคำนวณการปรับอัตราค่าไฟฟ้าภายใต้กรอบของสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า ที่ได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
    กำหนดวิธีปฏิบัติให้ชัดเจนในการกำกับการปรับอัตราค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ
    ให้ความเห็นชอบการคำนวณการปรับค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ และแจ้งให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินการปรับอัตราค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ
    รายงานต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน การปรับอัตราค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ
    เสนอต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน การเปลี่ยนแปลงสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
    ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานมอบหมาย
    แต่งตั้งคณะทำงานช่วยปฏิบัติงานในหน้าที่ตามความจำเป็น

 
3. สูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft)

3.1 สูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ก่อนเดือนตุลาคม 2543

คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2534 เห็นชอบให้มีสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เพื่อให้อัตราค่าไฟฟ้าสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริง และลดผลกระทบของความผันผวนของราคาเชื้อเพลิง ต่อฐานะการเงินของการไฟฟ้า โดยให้การไฟฟ้าปรับค่าไฟฟ้า เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงในค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง และไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของการไฟฟ้า ทั้งนี้ สูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้มีความเหมาะสมหลายครั้ง โดยองค์ประกอบของสูตร Ft ก่อนเดือนตุลาคม 2543 ประกอบด้วย

3.1.1 การเปลี่ยนแปลงของค่าเชื้อเพลิงที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของ กฟผ. (ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล และถ่านหินนำเข้า) และอัตราค่าไฟฟ้าที่ กฟผ. รับซื้อจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน

3.1.2 การเปลี่ยนแปลงรายได้ที่เกิดขึ้นจากยอดจำหน่ายไฟฟ้า และราคาขายปลีกที่จะได้รับจริงแตกต่างไปจากการประมาณการ ซึ่งใช้เป็นฐานในการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ในปี 2534

3.1.3 การเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนในการดำเนินการของกิจการระบบส่ง กิจการระบบจำหน่าย และกิจการบริการลูกค้า อันเนื่องมาจากอัตราเงินเฟ้อ และยอดขายแตกต่างจากค่าที่ใช้ในการประมาณการฐานะการเงิน

3.1.4 การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งมีผลกระทบต่อภาระหนี้ของการไฟฟ้า

3.1.5 ค่าใช้จ่ายด้านการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า (Demand Side Management: DSM)

ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft)
สตางค์/หน่วย





























3.2 สูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 เป็นต้นมา

องค์ประกอบของสูตร Ft ในปัจจุบัน ประกอบด้วย

3.2.1 ค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง (น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล ก๊าซธรรมชาติ ลิกไนต์ และถ่านหินนำเข้า) ค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน และค่าซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากค่าเชื้อเพลิง และค่าซื้อไฟฟ้าฐาน ที่ใช้ในการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า

3.2.2 ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนในการชำระคืนเงินกู้ และดอกเบี้ยต่างประเทศ ของการไฟฟ้า เนื่องจากการไฟฟ้ายังไม่มีอิสระ ในการบริหารจัดการหนี้ ได้อย่างแท้จริง ในช่วง 6 เดือนแรก ให้การไฟฟ้าสามารถปรับผลกระทบ ที่เกิดขึ้นจริง ที่แตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนฐาน ณ 38 บาท/เหรียญสหรัฐ ผ่านสูตร Ftได้ทั้งหมด

สำหรับการคำนวณค่าFt ตั้งแต่เดือนเมษายน 2544 เป็นต้นไป การไฟฟ้าจะต้องรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วยในระดับหนึ่ง กล่าวคือ การไฟฟ้าจะต้องรับภาระ5% แรก หากอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนตัวลง จากอัตราแลกเปลี่ยนฐาน และมีการกำหนดเพดานให้ปรับค่าไฟฟ้าผ่านสูตรFt ได้ไม่เกิน 45 บาท/เหรียญสหรัฐ และหากอัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น จากอัตราแลกเปลี่ยนฐาน ให้การไฟฟ้าคืนผลประโยชน์ให้ประชาชน ผ่านสูตร Ft ทั้งหมด

ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการกำกับสูตรฯ ในการประชุมครั้งที่ 4/2544 (ครั้งที่ 98) เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2544 ได้มีมติให้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฐานภายใต้มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ณ ระดับ 38 บาท/เหรียญสหรัฐ โดยหากอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ระหว่าง 38 - 40 บาท/เหรียญสหรัฐ และหากอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนตัวลงกว่า 45 บาท/เหรียญสหรัฐ การไฟฟ้าจะเป็นผู้รับภาระ หากอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ระหว่าง 40-45 บาท/เหรียญสหรัฐ ประชาชนจะเป็นผู้รับภาระ และหากอัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้นกว่า 38 บาท/เหรียญสหรัฐ การไฟฟ้าจะต้องคืนผลประโยชน์ดังกล่าวให้ประชาชน

3.2.3 รายได้ที่เปลี่ยนแปลงไปของการไฟฟ้า (MR) เนื่องจากราคาขายเปลี่ยนแปลงไปจากที่ประมาณการฐานะการเงิน ยังคงให้มีการปรับ MR ในช่วง 6 เดือนแรก เพื่อเป็นการประกันว่าค่าไฟฟ้าขายปลีก จะลดลงร้อยละ 2.11 เมื่อพ้นกำหนดดังกล่าวให้นำ MR ออกจากสูตรFt

3.2.4 การเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ของการไฟฟ้าในส่วนที่ไม่ใช่ค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า (Non-Fuel Cost) ซึ่งจะมีการปรับตามอัตราเงินเฟ้อ และหน่วยจำหน่ายที่เปลี่ยนแปลงไป จากฐานที่ใช้ในการกำหนดโครงสร้างค่าไฟฟ้าฐาน ทั้งนี้ ได้มีการดูแลเรื่องการปรับปรุงประสิทธิภาพ ของกิจการไฟฟ้าด้วยแล้วในการกำหนดโครงสร้างค่าไฟฟ้าฐาน โดยการไฟฟ้าจะต้องปรับลดค่าใช้จ่ายในกิจการผลิต กิจการระบบส่งและกิจการระบบจำหน่าย ในอัตราร้อยละ 5.8, 2.6 และ 5.1 ต่อปี ตามลำดับ

ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ


 























4. การปรับค่าไฟฟ้า ตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า โดยอัตโนมัติ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2544


คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2544 (ครั้งที่ 96) ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2544 ได้พิจารณาเรื่องค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) และมีมติเห็นชอบค่า Ft สำหรับการเรียกเก็บในเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2544 เท่ากับ 24.44 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่เรียกเก็บจากประชาชนเพิ่มขึ้นจาก 2.2097 บาทต่อหน่วย เป็น 2.4541 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 ของค่าไฟฟ้าฐาน

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่า Ft เพิ่มขึ้นครั้งนี้มี 2 ตัวแปรสำคัญ คือ

4.1 ค่าเชื้อเพลิง และค่าซื้อไฟฟ้า ที่เพิ่มขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม 2543 - มกราคม 2544 โดยราคาก๊าซธรรมชาติ ได้ปรับตัวสูงขึ้น 23.07 บาทต่อล้านบีทียู จากราคาฐาน 115.20 บาทต่อล้านบีทียู เป็น 138.27 บาทต่อล้านบีทียู นอกจากนี้ ราคาน้ำมันเตาและน้ำมันดีเซล ก็ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.66 และ 1.05 บาทต่อลิตร เป็น 7.36 บาทต่อลิตร และ 10.73 บาทต่อลิตรตามลำดับ ทำให้ค่าเชื้อเพลิง และค่าซื้อไฟฟ้าจากเอกชน เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 94 ของค่า Ft ที่เพิ่มขึ้น หรือเพิ่มขึ้น 22.99 สตางค์ต่อหน่วย

การเปลี่ยนแปลงของราคาเชื้อเพลิงที่ใช้ในการกำหนดค่า Ft






















4.2 อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนตัวลง จากระดับ 38 บาทต่อเหรียญสหรัฐ มาอยู่ ณ ระดับ 43 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีผลกระทบต่อภาระการชำระหนี้ของ 3 การไฟฟ้า ส่งผลให้ค่า Ft เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4.34 สตางค์ต่อหน่วย

อย่างไรก็ตาม จากภาวะอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงเหลือประมาณร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อฐาน ณ ระดับร้อยละ 2.83 ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ของการไฟฟ้า ในส่วนที่ไม่ใช่ค่าเชื้อเพลิง (Non-fuel cost) ลดลงส่งผลให้ค่า Ft ลดลง 2.19 สตางค์ต่อหน่วย นอกจากนี้รายได้ของการไฟฟ้าที่สูงกว่า ประมาณการตามแผน (MR) ส่งผลให้ค่า Ft ลดลงอีก 0.70 สตางค์ต่อหน่วย

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่า Ft

 

สตางค์/หน่วย

ร้อยละ (%)

ค่าเชื้อเพลิงและการรับซื้อไฟฟ้า

+22.99

+94

ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน

+4.34

+18

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานส่วนที่ไม่ใช่ค่าเชื้อเพลิง 

-2.19 

-9

รายได้ของการไฟฟ้าที่สูงกว่าแผน (MR)

-0.70 

-3

รวม

24.44

100


ทั้งนี้ ในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดกลาง กิจการขนาดใหญ่ กิจการเฉพาะอย่าง ที่ใช้อัตราค่าไฟฟ้าที่แตกต่างกันตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU) จะจำแนกค่าไฟฟ้าตามประเภทกิจการไฟฟ้าอย่างชัดเจน ได้แก่ กิจการผลิต กิจการระบบส่ง กิจการระบบจำหน่าย และกิจการค้าปลีกไฟฟ้า และจำแนกค่า Ftในแต่ละกิจการ ได้แก่ กิจการผลิต กิจการระบบส่ง และกิจการระบบจำหน่ายอย่างชัดเจนเช่นกัน โดยค่า Ft สำหรับการเรียกเก็บในเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2544 เท่ากับ 24.44 สตางค์ต่อหน่วย สามารถจำแนกค่าไฟฟ้าตามประเภทกิจการไฟฟ้า ได้ดังนี้

ค่า Ft ตามประเภทกิจการไฟฟ้า

กิจการผลิต

24.75

  สตางค์ต่อหน่วย

กิจการระบบส่ง

0.59

  สตางค์ต่อหน่วย

กิจการระบบจำหน่าย

-0.90

  สตางค์ต่อหน่วย

รวม

24.44

  สตางค์ต่อหน่วย


5. การปรับค่าไฟฟ้า ตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า โดยอัตโนมัติ ประจำเดือนมิถุนายน - กันยายน 2544

คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ในการประชุมครั้งที่ 4/2544 (ครั้งที่ 98) เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2544 ได้พิจารณาค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) และมีมติเห็นชอบค่า Ft สำหรับการเรียกเก็บในเดือนมิถุนายน - กันยายน 2544 เท่ากับ 27.13 สตางค์/หน่วย หรือเพิ่มขึ้น 2.69 สตางค์/หน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่เรียกเก็บจากประชาชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.10 จาก 2.45 บาท/หน่วย เป็น 2.48 บาท/หน่วย ผู้ใช้ไฟประเภทบ้านอยู่อาศัยขนาดเล็กจำนวนร้อยละ 67 ซึ่งมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ย 63 หน่วย/เดือน ค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.70 บาท/เดือน

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของค่า Ft ประกอบด้วย

5.1 ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงได้ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลัก ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ได้ปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 8 บาท/ล้านบีทียู โดยเพิ่มขึ้นจาก 138 บาท/ล้านบีทียู เป็น 146 บาท/ล้านบีทียู ส่งผลให้ค่า Ft เพิ่มขึ้นประมาณ 4 สตางค์/หน่วย

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในช่วงดังกล่าวอยู่ในระดับร้อยละ 1.5 ซึ่งต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อที่ประมาณการไว้ ณ ระดับ 2.83 และมีการลดสัดส่วนการใช้น้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้าลง และใช้พลังน้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ค่า Ft ลดลง 1.31 สตางค์/หน่วย เหลือ 2.69 สตางค์/หน่วย

นอกจากนี้ การทดสอบการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าราชบุรี ในช่วงเดือนตุลาคม 2543 - มกราคม 2544 ทำให้การใช้เชื้อเพลิงไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร กล่าวคือ ค่าความร้อน (Heat Rate) หรือค่าความสิ้นเปลืองในการใช้เชื้อเพลิงสูงกว่ามาตรฐาน ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าที่รับซื้อจากโรงไฟฟ้าราชบุรีมีราคาแพง คณะอนุกรรมการกำกับสูตรฯ จึงมีมติให้ กฟผ. รับภาระต้นทุนการทดสอบการเดินเครื่องดังกล่าว โดยให้ส่งผ่านค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงเสมือนโรงไฟฟ้าราชบุรีดำเนินการในกรณีปกติ ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงได้ประมาณ 40 ล้านบาท ซึ่งได้นำมาลดค่า Ft ในครั้งนี้ด้วยแล้ว



















อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในช่วงดังกล่าวอยู่ในระดับร้อยละ 1.5 ซึ่งต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อที่ประมาณการไว้ ณ ระดับ 2.83 และมีการลดสัดส่วนการใช้น้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้าลง และใช้พลังน้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ค่า Ft ลดลง 1.31 สตางค์/หน่วย เหลือ 2.69 สตางค์/หน่วย

นอกจากนี้ การทดสอบการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าราชบุรี ในช่วงเดือนตุลาคม 2543 - มกราคม 2544 ทำให้การใช้เชื้อเพลิงไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร กล่าวคือ ค่าความร้อน (Heat Rate) หรือค่าความสิ้นเปลืองในการใช้เชื้อเพลิงสูงกว่ามาตรฐาน ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าที่รับซื้อจากโรงไฟฟ้าราชบุรีมีราคาแพง คณะอนุกรรมการกำกับสูตรฯ จึงมีมติให้ กฟผ. รับภาระต้นทุนการทดสอบการเดินเครื่องดังกล่าว โดยให้ส่งผ่านค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงเสมือนโรงไฟฟ้าราชบุรีดำเนินการในกรณีปกติ ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงได้ประมาณ 40 ล้านบาท ซึ่งได้นำมาลดค่า Ft ในครั้งนี้ด้วยแล้ว

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของค่า Ft
หน่วย : สตางค์/kWh

ราคาก๊าซธรรมชาติ

+4.00

การเปลี่ยนแปลงเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ และปัจจัยอื่นๆ

-1.31

รวม

+2.69



ค่าไฟฟ้าตามสูตร Ft
หน่วย : สตางค์/kWh


 

ค่า Ft

การเปลี่ยนแปลง

ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า, ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า หมายถึง, ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า คือ, ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า ความหมาย, ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu