ต้อหิน เป็นโรคที่มีการทำลายของขั้วประสาทตาอย่างช้าๆ ส่วนใหญ่เกิดเนื่องจากมีการเพิ่มความดันลูกตาที่สูงผิดปกติ ความดันลูกตาที่สูงจะไปกดเส้นประสาท ทำให้ขั้วประสาทตาค่อยๆ เสื่อมลงมีผลทำให้ตามัว ถ้าทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด โดยปกติคนเรามีน้ำหล่อเลี้ยงภายในลูกตา การสร้างและขับน้ำออกนี้ต้องสมดุลกัน ความดันลูกตาจึงจะปกติ ถ้าเกิดการเสียสมดุลของการสร้างและขับน้ำในลูกตา จะมีผลทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น
ประเภทของต้อหิน
- เป็นแต่กำเนิด
- เป็นภายหลัง ชนิดเฉียบพลัน ชนิดเรื้อรังแบบมุมเปิด (ชนิดที่พบมากที่สุด) ชนิดเรื้อรังแบบมุมปิด
2. เป็นภายหลัง
2.1 ชนิดเฉียบพลัน เกิดจากความดันลูกตาขึ้นสูงทันที ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตามาก ตาแดง ปวดศีรษะ ตามัวลงอย่างรวดเร็ว อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจทำให้ตามัวลงมากจนตาบอดได้ มักเกิดในผู้ป่วยที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
2.2 ต้อหินเรื้อรังแบบมุมเปิด ต้อหินชนิดนี้จะมีความดันตาขึ้นทีละน้อย และโรคจะดำเนินเป็นไปอย่างช้าๆ มุมม่านตาเปิดมักไม่มีอาการเจ็บปวด มักเป็น 2 ตา ในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการผิดปกติ จนโรคเป็นมาก ขั้วประสาทตาถูกทำลายไปเรื่อยๆแล้วจึงพบมีอาการปวดตาบ้าง ตามัวลงจนบอดได้
2.3 ต้อหินชนิดเรื้อรังแบบมุมปิด ต้อหินชนิดนี้ โรคจะดำเนินไปอย่างช้าๆ ความดันลูกตาขึ้นทีละน้อย มุมม่านตาปิดเป็นหย่อมๆ ความดันลูกตาค่อยๆ สูงขึ้น ตรวจขั้วประสาทตาพบมีการทำลายขั้วประสาทตา ผู้ป่วยมาด้วยตามัว หรือปวดตา
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต้อหิน
- มีประวัติในครอบเป็นต้อหิน (โรคนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์)
- เบาหวาน
- ไมเกรน
- สายตาสั้น
- ประวัติอุบัติเหตุ
- มีความดันโลหิตสูง
- มีประวัติการใช้ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์
- การอักเสบเรื้อรัง เช่น ม่านตาอักเสบ
การรักษาโรคต้อหินทำได้หลายวิธี คือ
- การใช้ยา
- การยิงแสงเลเซอร์
- การผ่าตัด การเลือกวิธีการรักษาขึ้นกับชนิดและความรุนแรงของโรค โดยอยู่ในดุลยพินิจของจักษุแพทย์ว่าจะใช้วิธีใดจึงจะได้ผลดีกับผู้ป่วยมากที่สุด