ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

"โรคหอบหืด" อาจถึงตายได้ ถ้าประมาท, "โรคหอบหืด" อาจถึงตายได้ ถ้าประมาท หมายถึง, "โรคหอบหืด" อาจถึงตายได้ ถ้าประมาท คือ, "โรคหอบหืด" อาจถึงตายได้ ถ้าประมาท ความหมาย, "โรคหอบหืด" อาจถึงตายได้ ถ้าประมาท คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
"โรคหอบหืด" อาจถึงตายได้ ถ้าประมาท

     หอบหืด (Asthma) ชื่อโรคนี้เรียกตามอาการของคนไข้ อาการหอบหืดเกิดจากการหดตัวหรือตีบตันของช่องทางเดินหายใจส่วนหลอดลม
ทำให้อากาศเข้าสู่ปอดน้อยลง ปัจจัยที่ทำให้เกิดการตีบตันของหลอดลมคือ
  1. การหดตัวของกล้ามเนื้อรอบๆ หลอดลม
  2. การบวมอักเสบของเยื่อบุภายในหลอดลม
  3. เสมหะจำนวนมากที่คั่งค้างอยู่ภายในหลอดลม 
     การหดตัวของกล้ามเนื้อรอบๆ หลอดลมแท้จริงแล้วเป็นผลจากอักเสบของเยื่อบุหลอดลม การอักเสบส่วนใหญ่จะเป็นการอักเสบเรื้อรังเกิดจากภาวะที่มีการตอบสนองรุนแรงเกินเหตุ
     โรคนี้ต่างกับโรคอื่นๆ คนไข้บางคนเป็นน้อย บางคนเป็นมาก อาจเสียชีวิตได้ ภาวะที่กระตุ้นให้โรคกำเริบก็ต่างกันในแต่ละคนไข้ ตัวอย่างของภาวะหรือสิ่งที่กระตุ้นให้โรคกำเริบ คือ การหายใจเอาสารที่แพ้เข้าไปในหลอดลม ภาวะติดเชื้อ โพรงจมูกอักเสบ กลิ่นน้ำหอม ยาฆ่าแมลง กลิ่นอับ กลิ่นท่อไอเสีย กลิ่นบุหรี่ ภาวะอากาศเปลี่ยน การออกกำลังกาย โรคทางเดินอาหารบางโรค ภาวะแพ้ยา สารสี สารเคมีต่างๆ และภาวะเครียด ในเด็กที่เป็นโรคหอบหืดส่วนใหญ่สองในสามจะมีภาวะภูมิแพ้ด้วย แต่ในผู้ใหญ่ต่างกันที่ส่วนใหญ่จะไม่มีภาวะภูมิแพ้ ความเข้าใจผิดคือ ความเข้าในที่ว่าโรคหอบหืดเป็นผลจากภาวะภูมิแพ้เสมอไป โรคนี้คนเป็นกันมาก ตามสถิติแล้วประมาณ 10-13% ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในเด็กชายเป็นมากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อย
      การวินิจฉัยโรคหอบหืดในเด็กทั่วไปแล้วจะยากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กจำนวนไม่น้อยมีอาการอื่นร่วมด้วย เด็กบางคนไม่มีอาการหอบเลยก็ได้ ส่วนใหญ่ประวัติการเจ็บป่วยของเด็กจะไม่ค่อยสมบูรณ์เพราะข้อมูลได้มาจากแม่เด็ก พี่เลี้ยง ครูที่โรงเรียน หรือตัวเด็กเอง อาการสำคัญคือ ไอตอนเช้า กลางคืนตอนดึก ไอเวลาวิ่งเล่น หรือหลังวิ่งเล่น คัดจมูก น้ำมูกไหลร่วมด้วย ในเด็กเล็กที่หอบจากมีสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่โรคหอบหืด เช่น โรคหัวใจ โรคติดเชื้อในปอด สารแปลกปลอม ถั่ว ข้าวโพดคั่วติดในหลอดลม หรือโรคทางเดินอาหารบางชนิด
      การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้โรคหอบหืดกำเริบ ส่วนใหญ่ของเชื้อจะเป็นไวรัสที่ติดมาจากโรงเรียน หรือที่ชุมชน เด็กจำนวนมากที่แพ้สารต่างๆ เช่น ไรฝุ่น เชื้อรา แมลงสาบ และอื่นๆ จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบให้แน่นอน
      การรักษาโรคหอบหืดจะต่างกันในคนไข้แต่ละคน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อายุคนไข้ และภาวะที่เกิดร่วมกับโรคหอบหืด เช่น ภาวะภูมิแพ้ หรือโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง โดยทั่วๆ ไป แนวทางรักษาที่ยอมรับโดยผู้เชี่ยวชาญมีอยู่ 4 ข้อดังนี้
  1. แนะนำให้ใช้การตรวจสอบสมรรถภาพของปอด เพื่อบ่งชี้ความรุนแรงของโรค และเพื่อติดตามวัดผลการรักษา
  2. การใช้ยาเพื่อลดการอักเสบ หรือป้องกันการอักเสบอขงเยื่อบุหลอดลมร่วมกับการใช้ยา เพื่อคลายกล้ามเนื้อรอบหลอดลมที่หดตัว
  3. การควบคุมภาวะแวดล้อมต่างๆ โดยเฉพาะในคนไข้ที่มีภาวะภูมิแพ้ร่วมด้วย รวมถึงการรักษาเฉพาะเจาะจงในภาวะภูมิแพ้
  4. ต้องให้ความรู้คนไข้ และครอบครัวเกี่ยวกับโรคหอบหืด และการปฏิบัติตน เช่น เลิกสูบบุหรี่ วิธีการออกกำลังกาย และวิธีใช้ยาที่ถูกต้อง
      การรักษาอย่างต่อเนื่องสำคัญที่สุดในโรคหอบหืด คนไข้ส่วนใหญ่ หรือแพทย์ส่วนใหญ่จะมองข้ามจุดสำคัญนี้ ทำให้ผลการรักษาไม่เป็นที่พึงพอใจของทั้งสองฝ่าย คนไข้ก็ว่าไม่หายซักที หมอก็ว่าคนไข้ไม่รู้เรื่องไม่ทำตามสั่ง
ผลการรักษาที่ควรเกิดขึ้นมีดังนี้
  1. สมรรถภาพปอดดีขึ้น
  2. คนไข้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ หรือเกือบปกติ รวมทั้งการออกกำลังกาย
  3. อาการเรื้อรังที่น่าเบื่อหน่วยสำหรับคนไข้สิ้นสลายไปอาการ เช่น ไอ หายใจขัด แน่นหน้าอก
  4. ป้องกันการกำเริบของโรคได้
  5. ผลข้างเคียงจากยาควรจะไม่มี หรือมีน้อยที่สุด
      ความเข้าใจที่สำคัญมาก คือ การอักเสบของเยื่อบุหลอดลมในโรคหอบหืดนี้เป็นการอักเสบอย่างเรื้อรัง ต่อเนื่องที่กำเริบได้เป็นระยะ แม้เวลาที่คนไข้รู้สึกดี ไม่มีอาการไอ หรือหอบ ภาวะการอักเสบนี้ยังคงอยู่ตลอดเวลา
ยาหลักที่ใช้ในการรักษา
ยาต้านการอักเสบ
  • ยาสเตียรอยด์ เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาโรคหอบหืดสำหรับผู้ป่วยเด็ก และผู้ใหญ่ี้มีทั้งยาเม็ดสำหรับรับประทาน และแบบพ่นเข้าสู่หลอดลมโดยตรง อย่างไรก็ตามยาในรูปแบบพ่นถือว่าเป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษา้หอบหืดเรื้อรัง และมีความปลอดภัยสูง เพราะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายน้อย ส่วนยารับประทานจะใช้รับประทานเมื่อมีอาการกำเริบอย่างรุนแรงหรือไม่สามารถจะพ่นยาได้ ใช้ในระยะสั้นๆ เท่านั้น คือ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ถ้ารับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานอาจพบผลข้างเคียงเช่น น้ำหนักตัวเพิ่ม ความดันโลหิตสูง ตาเป็นต้อ เป็นต้น 
  • โครโมลิน และนิโดโครมิล เป็นยาพ่นที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน และลดการอักเสบที่จะเกิดขึ้นจากการออกกำลังกาย หรืออากาศเปลี่ยน
  • อื่นๆ
ยาขยายหลอดลม                  ยาประเภทนี้จะช่วยขยาย หรือคลายกล้ามเนื้อรอบๆ หลอดลมที่หดเกร็งตัว
  1. ยากลุ่มเบต้าอะโกนิส ที่ใช้แพร่หลายคือยาพ่นแบบน้ำ และแบบผง อีกทั้งยังมียาเม็ด และยาน้ำในรูปแบบรับประทาน รวมทั้งรูปแบบที่ใช้กับเครื่องปั๊ม ยากลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการขยายหลอดลมสูง นิยมใช้ในคนไข้ที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน แต่ไม่ควรใช้ติดต่อเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงในภายหลัง เพราะไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุที่แท้จริงของโรคหอบหืด
  2. ยากลุ่มแซนทีน ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และขยายหลอดลมสำหรับใช้ในคนไข้หอบหืดเรื้อรัง ในปัจจุบันจะพบได้ทั้งยาฉีดยาน้ำ และยาเม็ด ทั้งรูปแบบธรรมดา และออกฤทธิ์เนิ่นเพื่อเพิ่มความสะดวกในการรับประทาน ผลข้างเคียงพบได้น้อย มีความปลอดภัยสูง
แหล่งที่มา : https://www.vcharkarn.com/varticle/43717

"โรคหอบหืด" อาจถึงตายได้ ถ้าประมาท, "โรคหอบหืด" อาจถึงตายได้ ถ้าประมาท หมายถึง, "โรคหอบหืด" อาจถึงตายได้ ถ้าประมาท คือ, "โรคหอบหืด" อาจถึงตายได้ ถ้าประมาท ความหมาย, "โรคหอบหืด" อาจถึงตายได้ ถ้าประมาท คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu