ความเป็นมาของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
นโยบายการแทรกแซงกลไกราคาน้ำมันในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2516 เนื่องจากในขณะนั้นเกิดวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันขึ้นทั่วโลกราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศสูงขึ้น และเกิดการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น รัฐบาลจึงได้ดำเนินการการออกพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 เพื่อให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรีในการออกมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขสภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
จนกระทั่งในปี 2520 กลุ่มประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียม (Organization of the Petroleum Exporting Countries : OPEC) ได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมันดิบ แต่รัฐบาลได้ขึ้นราคาขายปลีกในสัดส่วนที่น้อยกว่าราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น รัฐบาลโดยใช้มาตรการลดอัตราภาษีผลิตภัณฑ์น้ำมันลงตามส่วนของต้นทุนน้ำมันดิบ แต่ในกรณีน้ำมันเตาการลดอัตราภาษีไม่พอเพียงกับต้นทุนราคาน้ำมันดิบ รัฐบาลจึงได้ใช้วิธีลดภาษีที่เก็บจากน้ำมันเบนซินมากกว่าต้นทุนที่เพิ่ม และกันเงินส่วนนี้ไว้ในกองทุน โดยได้อาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 เรื่องการกำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันส่งเงินเข้ากองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ค้าน้ำมัน เพื่อจัดตั้งกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยให้โรงกลั่นน้ำมัน และผู้นำเข้าส่งเงินเข้ากองทุน และเงินกองทุนนี้นำไปชดเชยให้ผู้ค้าน้ำมันเตา
ในปี พ.ศ. 2521 รัฐบาลได้ประกาศเพิ่มค่าเงินบาท ทำให้ผู้นำเข้าน้ำมันได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน รัฐบาลเห็นว่ากำไรที่เกิดขึ้นไม่ใช่กำไรจากการดำเนินงาน จึงได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 206/2521 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2521 จัดตั้งกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ) และกำหนดให้ผู้นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงนำส่งกำไรที่เกิดจากการเพิ่มค่าเงินบาทเข้ากองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ) เพื่อเก็บไว้ใช้ทดแทนเมื่อราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น
ในปี พ.ศ. 2522 ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีความผันผวนมากขึ้นเพราะ กลุ่มประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียมได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมันดิบ 4 ครั้ง ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศ ไม่ให้ผันผวนไปตามการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และรัฐบาลต้องการรวมกองทุนต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นกองทุนเดียว จึงได้จัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สร. 0201/9 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2522 โดยรวมกองทุนรักษาระดับน้ำมันเชื้อเพลิง กับ กองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ) เข้าด้วยกัน
ปี 2546 เกิดความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลกขึ้นมาอีกครั้งโดยมีสาเหตุสำคัญมาจากเหตุการณ์ต่างๆดังนี้
1.การทำสงครามของสหรัฐอเมริกาในประเทศอิรักซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่
2.ปัญหาทางการเมืองในประเทศเวเนซุเอลาซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลกจากปัญหาดังกล่าวทำให้เวเนซุเอลาไม่สามารถส่งออกน้ำมันดิบได้
3.น้ำมันสำรองของสหรัฐอเมริกาลดระดับลง
รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะนั้น ไม่ต้องการให้ความผันผวนของราคาน้ำมันส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจ จึงกำหนดมาตรการตรึงราคาน้ำมัน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจซึ่งมาตรการครั้งนี้มีประสิทธิภาพเพราะความผันผวนมีระยะสั้นราคาน้ำมันก็กลับสู่ภาวะปกติ
ในปี 2547 ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกครั้ง รัฐบาลจึงออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547) เป็นคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 เพื่อดำเนินมาตรการแทรกแซงราคาน้ำมันโดยการตรึงราคาน้ำมัน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกองทุนเชื้อเพลิงมีดังนี้
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ทําหน้าที่ เสนอนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของ ประเทศต่อคณะรัฐมนตรี กําหนดหลั กเกณฑ์และเงื่อนไขในการกําหนด ราคาพลังงานให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนา พลังงานของประเทศ รวมทั้งติดตาม ดูแล ประสาน สนับสนุ นและเร่งรั ด การดําเนินการของคณะกรรมการทั้ งหลายที่ มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับ พลังงาน ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เพื่อให้มีการดําเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารและ พัฒนาพลังงานของประเทศ
คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ทําหน้าที่กําหนดหลักเกณฑ์ ในการคํานวณราคา กําหนดราคาน้ำมัน เชื้อเพลิง และกําหนดนโยบายอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือ อัตราเงินชดเชยของน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหาร นโยบายพลังงาน จะพิจารณาเฉพาะในส่วนของนโยบายของกองทุน เท่านั้น
คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อพลิง ทําหน้าที่พิจารณาเรื่องการใช้จ่ายของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่ได้รับ มอบหมายจากคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ทําหน้าที่ พิจารณาปรับอัตราเงินส่ง เขัากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อัตราเงินชดเชย ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว ค่าเก็บรักษาก๊าซ และค่า ขนส่งก๊าซไปยังคลังก๊าซส่วนภูมิภาคตามที่ได้รับมอบหมาย
กรมสรรพสามิต รับผิดชอบในการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและจ่ายเงินชดเชย จากกองทุนน้ำมั นเชื้อเพลิง ในส่วนของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิต ภายในประเทศ
กรมศุลกากรรับผิดชอบในการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและจ่ายเงินชดเชย จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในส่วนของน้ำมันเชื้อเพลิงที่นําเข้า
กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ รับผิดชอบในการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและจ่ายเงินชดเชย จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในส่ วนของก๊าซที่ซื้อหรือได้มาจากผู้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม (ถ้ามี)
สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน(องค์การมหาชน) รับผิดชอบในการบริหารจัดการด้านการเงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ให้มีสภาพคล่องเพียงพอกับรายรั บและรายจ่ายที่เกิดขึ้น รวมทั้งจัดหา เงินทุนให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้ในการดําเนินงานต่างๆ (ทั้งนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์ การมหาชน) พ.ศ. 2546)
รายรับของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รายรับที่เป็นรายได้หลักของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาจากภาษีสรรพสามิตที่กรมสรรพสามิตเรียกเก็บจากผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ และมาจากภาษีศุลกากรที่กรมศุลกากรเรียกเก็บจากผู้นำเข้าน้ำมันโดยทั้ง 2 หน่วยงานดังกล่าวจะนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของกองทุนเชื้อเพลิง ขณะที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมีหน้าที่เก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับผู้ที่ได้รับสัมปทานก๊าซแต่เนื่องจากราคาที่แท้จริงของก๊าซหุงต้มสูงกว่าที่รัฐกำหนดมาเป็นเวลานานทำให้ไม่มีการเก็บเงินส่วนนี้จากผู้รับสัมปทาน
โดยสถาบันบริหารกองทุนพลังงานจะนำรายได้ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาจ่ายชําระดอกเบี้ยและไถ่ถอนพันธบัตร ซึ่งรายได้ของกองทุนจะขึ้นอยู่กับ อัตราเงินส่ง เข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่กําหนดโดยคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานและ ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับอัตราเงินส่ง เข้ากองทุน โดยกำหนดอัตราสูงสุดที่สามารถเรียกเก็บได้ไว้ที่ 1.50 บาทต่อลิตรซึ่งการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนจะขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐ และสถานการณ์ราคาน้ำมันในแต่ละช่วงเวลาเป็นหลัก
รายจ่ายของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
หากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกผันผวนโดยมีราคาสูงขึ้นก็จะกระทบกับราคาขายปลีกของน้ำมันในประเทศให้สูงขึ้นตามดังนั้นกองทุนน้ำมันจะทำการแทรกแซงราคาให้ราคาน้ำมันต่ำกว่าที่ควรจะเป็นโดยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะเป็นผู้รับผิดชอบจ่าย ค่าชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาที่ควรจะเป็นและราคาที่กําหนดให้แก่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขาย เพื่อช่วยรักษาระดับราคาขายปลีกเพื่อบรรเทาความผันผวนของราคาน้ำมันไม่ให้มากเกินไป โดยผู้ขอรับเงินชดเชยจะแจ้งผ่านมายังกรมสรรพสามิต และ/หรือ กรมศุลกากร แล้วแต่กรณี ซึ่ง ทั้งหน่วยงานจะรายงานไปยังสถาบันบริหารกองทุนพลังงานและเป็นตัวกลางในการเบิกจ่ายเงินให้กับผู้ขอรับเงินชดเชยซึ่ง
เงินชดเชยสำหรับผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงและผู้นําเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจัดเป็นรายจ่ายหลักของกองทุนโดยในปีงบประมาณ 2544-2546 เงินชดเชยดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 95-98 ของรายจ่ายรวมของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนรายจ่ายอื่นๆของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงประกอบด้วย
(1) ค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
(2) ค่าใช้จ่ายในการดําเนินการใดๆ เพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
(3) ค่าใช้จ่ายในการดําเนินการใดๆ เพื่อให้การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือการจ่ายเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นไปอย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ
(4) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานหรือคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เห็นชอบ
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.efai.or.th/index-theoil.html