โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลสมองส่วนที่สร้างโดปามีน มักเกิดในคนสูงอายุประมาณว่าพบได้ร้อยละ1.5 ในคนอายุเกิน 65 ปี อาการเด่นของผู้ป่วยประกอบด้วยอาการทางการเคลื่อนไหว ได้แก่ มือสั่น เกร็ง ทำอะไรช้าลง และการทรงตัวผิดปกติ ล้มได้ง่าย นอกจากนั้นยังมีอาการผิดปกติทางระบบอัตโนมัติ ท้องผูกกลืนลำบาก ลุกแล้วหน้ามืด อารมณ์ซึมเศร้า ความจำแย่ลง นอนไม่หลับ การดมกลิ่นผิดปกติ ลายมือเปลี่ยน โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด และอาการจะมากขึ้นเรื่อยๆอย่างช้าๆ โรคนี้เกิดขึ้นเอง ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่พบว่าร้อยละสิบของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันเกิดจากพันธุกรรมที่ผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่าห้าสิบปี การรักษาในปัจจุบันเป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการแต่ไม่ได้หายขาด ยังต้องการการวิจัยอีกมากเพื่อนำไปสู่การพัฒนาการรักษาต่อไปในอนาคต
ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยพาร์กินสันควรจะทราบ และผู้ป่วยพาร์กินสันจึงควรได้รับการดูแลของแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อที่แพทย์จะได้ปรับการรักษาให้เหมาะสมกับระยะของโรค
ในช่วงแรกที่อาการเป็นไม่มาก แพทย์จะเริ่มใช้ยาในรายที่คิดว่าอาการนั้นรบกวนชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ถ้าอาการน้อยก็ไม่จำเป็นต้องให้ยา แต่เมื่อผู้ป่วยเริ่มทานยาแล้ว เมื่อทานยาไปห้าปีประมาณร้อยละห้าสิบของผู้ป่วยจะมีการตอบสนองต่อยาลดลง และไม่แน่นอน ที่เรียกว่า แวริ่งออฟ (wearing off) ดังนั้นแพทย์จึงจำเป็นจะต้องได้ทราบ ข้อมูลการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วย เพื่อที่จะปรับยาให้เหมาะสมกับอาการ จึงใคร่ขอความร่วมมือผู้ป่วยและญาติช่วยบันทึกข้อมูลดังต่อไปนี้ ได้แก่
- ผู้ป่วยตื่นนอนเวลาใด
- ตื่มมาลุกได้เองหรือไม่
- ตัวแข็งหรือไม่
- ทานยาตอนเช้าเวลาใด
- อาการดีขึ้นหลังทานยากี่นาที
- ช่วงที่ยาออกฤทธิ์อยู่นานเท่าไร
- ช่วงที่ยาออกฤทธิ์มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ ยุกยิก หรือไม่
- ยาออกฤทธิ์อยู่ถึงมื้อยาถัดไปหรือไม่
- ยาหมดฤทธิ์ตอนเวลาใด
- ก่อนยามื้อต่อไปมีอาการสั่น เกร็ง บิด ยุกยิก หรือไม่
- อาการอื่นๆตอนยาหมดฤทธิ์
- ทานยาตอนเวลาใดบ้างในแต่ละวัน
- ตอนนอนพลิกตัวบนเตียงได้หรือไม่
- ลุกเองได้หรือไม่
- มีอาการท้องผูกหรือไม่
- มีอาการหน้ามืดเวลาลุกเร็วๆหรือไม่
- ล้มบ่อยหรือไม่
- ความทรงจำเป็นอย่างไร
- อื่นๆ
คำถามเหล่านี้แม้จะเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง แต่มักเป็นคำถามที่แพทย์ต้องการถามเวลาตรวจผู้ป่วยพาร์กินสัน แต่บางครั้งอาจไม่มีเวลาพอ ถ้าผู้ป่วยเตรียมตัวบันทึก หรือ