เมื่อเทคโนโลยีทางการแพทย์ในยุคโลกร้อนนี้ก้าวหน้ามากขึ้น จำนวนคนสูงอายุก็มากขึ้นไปด้วย ถึงแม้จะไม่มีใครอยากถูกเรียกว่าเป็นคนสูงอายุ แต่ก็ต้องยอมรับว่าปัจจุบันจะได้ตรวจผู้ป่วยอายุสูงเกิน 80 ปีขึ้นไปที่ยังดูดีเดินมาพบแพทย์เองได้ตามปกติมากขึ้น และดังนั้นเราจึงน่าจะมารู้จักการเปลี่ยนแปลงในคนที่อายุมากเพื่อเตรียมตัวรับสถานการณ์กัน
การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท
เมื่อหลังคลอดได้ไม่นานเซลล์สมองก็หยุดการแบ่งตัว สภาวะแวดล้อม ร่วมกับโปรแกรมที่ถูกกำหนดมาในรหัสทางพันธุกรรมของเรา ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านกายภาพและสรีรวิทยาของสมอง พบว่าเมื่อแรกคลอด สมองหนัก 350 กรัม และเพิ่มเป็น 1400 กรัมเมื่ออายุ 20 ปี พออายุ 70 น้ำหนักของเนื้อสมองจะลดลงไปร้อยละ 5 และลดลงอีกเท่าตัวทุกอายุ10 ปีที่มากขึ้น โดยเนื้อสมองส่วนนอก (grey matter)จะเหี่ยวลงมากกว่าส่วนอื่น โดยที่จำนวนเซลล์สมองในคนสูงอายุที่ความจำปกติก็ไม่ได้ลดลงแต่สูญเสียส่วนประกอบบางอย่างเช่น dendritic spines มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์ (reactive synaptogenesis) และการสื่อสารระหว่างเซลล์ลดลง(signal transduction) อย่างไรก็ตามสมองจะมีการปรับตัวตลอดชีวิตของเราที่เรียกว่า neural plasticity
การเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือดในสมอง พบว่าเส้นเลือดใหญ่แข็งขึ้น (atherosclerosis) เส้นเลือดเล็กก็หนาตัวขึ้น และอาจพบสารอมัยลอยด์ในผนังเส้นเลือด
การเปลี่ยนแปลงของ Cytokines ทำให้มีโอกาสเกิดพยาธิสภาพของการอักเสบ(inflammatory response) มากขึ้นซึ่งพบได้ในหลายโรครวมทั้ง Alzheimer
สมองเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อเราอายุมากขึ้น
สมองเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อเราอายุมากขึ้น, สมองเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อเราอายุมากขึ้น หมายถึง, สมองเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อเราอายุมากขึ้น คือ, สมองเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อเราอายุมากขึ้น ความหมาย, สมองเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อเราอายุมากขึ้น คืออะไร
สมองเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อเราอายุมากขึ้น, สมองเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อเราอายุมากขึ้น หมายถึง, สมองเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อเราอายุมากขึ้น คือ, สมองเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อเราอายุมากขึ้น ความหมาย, สมองเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อเราอายุมากขึ้น คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!