![โรคกระเพาะ](https://s.isanook.com/gu/0/ui/1/6577/250334__21022009103515.jpg?ip/crop/w300/q90/webp)
กระเพาะอาหารเป็นอวัยวะที่อยู่ในระดับลิ้นปี่ ทำหน้าที่เป็นที่พักและย่อยอาหารให้แตกย่อยในเบื้องต้น จากนั้นจึงส่งต่อไปยังลำไส้เล็กเพื่อผ่านกระบวนการย่อยและดูดซึม
โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง แต่อุบัติการณ์ของโรคนี้ในประเทศไทยยังไม่มีรายงานจำนวนที่แน่นอน โรคนี้พบได้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรทั่วไป โดยสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย และส่วนใหญ่อาหารหรือแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น โดยมีรายงานว่าแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้นพบได้บ่อยในคนวัยหนุ่มสาว โดยอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้คือ 35 ปี และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 4 เท่า ส่วนแผลที่กระเพาะอาหารมักพบในวัยกลางคนขึ้นไป โดยอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้คือ 42 ปี และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 3 เท่า
โรคกระเพาะอาหารเปรียบเสมือนดั่งภัยเงียบที่คอยบั่นทอนสุขภาพ หากเราละเลยไม่ให้ความใส่ใจดูแลสังเกตอาการของตนเอง อาจทำให้ได้รับความรุนแรงของโรคจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นหากพบว่าอาการปวดท้องของตนเองหรือบุคคลใกล้ชิด มีอาการที่ใกล้เคียงกับโรคต่างๆ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน นอกจากจะส่งผลให้การรักษาไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควรแล้ว โรคปวดท้องธรรมดาๆ ก็อาจลุกลามกลายเป็นโรคร้ายแรง และอาจถึงขั้นต้องสูญเสียชีวิตในที่สุด
ข้อมูลทั่วไปของโรคกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะ ตามความหมายของแพทย์ หมายถึง แผลที่เกิดบนเยื่อบุกระเพาะอาหาร (Stomach) หรือลำไส้เล็กส่วนต้นหรือดูโอดีนัม (Duodenum) ตรงกับคำว่า แผลเพ็ปติก (peptic ulcer) แต่เนื่องจากเรามักจะวินิจฉัยผู้ที่มีอาการปวดท้องตรงยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ที่เกิดก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร ว่าเป็น
พยาธิวิทยาของโรค
อาการ
มักมีอาการปวดท้องเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ตรงบริเวณกลางยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ บางรายอาจค่อนมาทางขวาหรือซ้ายก็ได้ เวลาที่ปวดมักจะสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เช่น ก่อนหรือหลังอาหาร ลักษณะการปวด อาจปวดแสบ ปวดตื้อ จุกเสียด หรือมีความรู้สึกหิวข้าวก่อนเวลาอาหาร บางครั้งอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือเรอเปรี้ยวร่วมด้วย
ในผู้ป่วยที่มีแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น มักมีอาการปวดท้องหลังกินอาหารแล้วประมาณ 1
การควบคุมและป้องกันโรค
ผู้ป่วยที่กินยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดแผลเพ็ปติก เช่น ผู้สูงอายุ, ผู้ที่ต้องใช้ยานี้ในขนาดสูงหรือนาน ๆ หรือใช้ร่วมกับยาสเตอรอยด์, ผู้ที่เคยเป็นแผลเพ็ปติกมาก่อน เป็นต้น ควรให้กินยาป้องกันควบคู่ด้วย ได้แก่ ไมโซพรอสตอล (misoprostol) มีชื่อทางการค้า เช่น ไซไตเทก (Cytotec) 100
การปฏิบัติตน
1. ผู้ป่วยที่เริ่มให้การรักษาด้วยยารักษาแผลเพ็ปติก ถ้ายังมีอาการปวดท้อง ควรให้ยาลดกรด (ย14.1) ช่วยบรรเทาอาการ ครั้งละ 15