ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก, วัคซีนมะเร็งปากมดลูก หมายถึง, วัคซีนมะเร็งปากมดลูก คือ, วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ความหมาย, วัคซีนมะเร็งปากมดลูก คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
วัคซีนมะเร็งปากมดลูก


วัคซีน
มะเร็งปากมดลูก ฮีโร่พันธุ์ใหม่ของผู้หญิง
 
เรื่องที่กำลังเป็นประเด็นร้อนสำหรับคุณผู้หญิงช่วงนี้ โดยเฉพาะในวัยรุ่น และสำหรับคุณแม่ที่มีลูกสาว คงจะไม่พ้นเรื่องวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก นับเป็นข่าวดีที่ผู้หญิงทุกท่านควรจะทราบข้อมูลไว้

ปัจจุบันมะเร็งปากมดลูก เป็นสาเหตุที่ผู้หญิงเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 1 ในบรรดาโรคมะเร็งทั้งหมดในผู้หญิง ผู้หญิงส่วนใหญ่มักกังวลกับมะเร็งเต้านม และตรวจหาเบื้องต้นได้คลำหาก้อนเนื้อได้ด้วยตัวเอง ต่างจากมะเร็งปากมดลูกที่ต้องเข้ารับการตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญ เราเรียกวิธีการตรวจภายในแบบนี้ว่า Pap Smear

แพทย์แนะนำว่า ผู้หญิงที่อยู่ในวัยทำงานที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ควรได้รับการตรวจภายในปีละ 1 ครั้ง สาเหตุการเกิดมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Genital human papillomavirus (HPV) การติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ มักติดเชื้อจากการร่วมเพศ เมื่อติดเชื้อแล้วอาจจะไม่มีอาการและอาจหายไปได้เองเป็นส่วนใหญ่ เหลือเพียงส่วนน้อยที่การติดเชื้อจะเป็นแบบเรื้อรังและดำเนินไปสู่มะเร็งปากมดลูก

ไวรัสเอชพีวี (HPV) แบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ ไวรัสกลุ่มความเสี่ยงต่ำและกลุ่มความเสี่ยงสูง ถ้าติดเชื้อไวรัสกลุ่มความเสี่ยงต่ำโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกมีเพียงเล็กน้อย บางรายอาจเป็นแค่หูดบริเวณอวัยวะเพศ แต่ถ้าติดเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูง เช่น ชนิด 16, 18, 31 มีความเสี่ยงสูงที่จะพัฒนากลายเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ โดยที่ 99% ของคนที่เป็นมะเร็งปากมดลูกพบว่ามีการติดเชื้อไวรัส HPV ชนิดความเสี่ยงสูงในกลุ่มนี้อยู่ด้วย

สำหรับปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส HPV นั้นเนื่องมาจากเชื้อไวรัส HPV เป็นการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ดังที่กล่าวมาแล้ว หากมีจำนวนคู่นอนมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากตามไปด้วย

นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของผู้หญิงเองด้วย พบว่าอย่างน้อย 50% ของผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ต้องมีการติดเชื้อไวรัส HPV ในชีวิต แต่ 70% ของกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อรายใหม่มีโอกาสหายเองโดยใช้เวลาประมาณ 1 ปี และ 90% สามารถหายเองได้ภายในระยะเวลา 2 ปี

สำหรับกลุ่มที่ติดเชื้อไวรัส HPV ชนิดเสี่ยงสูงมักเป็นเรื้อรังจนกระทั่งพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูกใช้เวลาประมาณ 10 ปี ดังนั้นการไปพบแพทย์เพื่อตรวจภายใน Pap Smear จึงมีประโยชน์อย่างมาก เนื่องมาจากว่ามะเร็งปากมดลูกนั้นเป็นมะเร็งที่ลุกลามช้า การตรวจร่างกายเป็นประจำ จะทำให้พบความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และมีโอกาสสูงมากที่จะรักษาให้หายได้

สำหรับปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส HPV นั้นมีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน คือ

- จำนวนคู่นอนหากยิ่งมีมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูง

- การสูบบุหรี่

- อายุที่เพิ่มมากขึ้น

- โรคอื่นๆ ที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์

- ภูมิต้านทานต่ำ

สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่การรักษา แต่เป็นวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อไวรัส HPV มีอยู่หลายประการด้วยกัน คือ

ควรป้องกันการติดเชื้อด้วยการสวมถุงยางอนามัย นอกจากจะเป็นการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV แล้วยังเป็นการป้องกัน HIV ได้อีกด้วย การป้องกันที่ปฏิบัติในอดีตนั้น คือ การแนะนำให้ใส่ถุงยางอนามัยในกรณีที่มีคู่นอนหลายคน

นอกจากนี้ สำหรับผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ควรเข้ารับการตรวจ Pap Smear เป็นประจำทุกปี แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีการพัฒนาอย่างมาก ได้มีการพัฒนาวัคซีนออกมาใช้เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV เพื่อลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งปากมดลูก วัคซีนชนิดนี้ได้รับอนุญาตให้ออกมาจำหน่ายแล้ว

คำแนะนำในปัจจุบันผู้หญิงที่ควรได้รับการฉีดวัคซีนนี้ควรได้รับตั้งแต่อายุ 9 ถึง 26 ปี ควรฉีดทั้งหมด 3 ครั้ง ภายในระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งจะเห็นว่าคำแนะนำสำหรับการฉีดวัคซีนนี้ จะแนะนำสำหรับผู้หญิงที่อายุยังน้อย ซึ่งจะได้ผลดีที่สุดหากยังไม่เคยมีการติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับในวัคซีน

ข้อมูลจาก :
ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
https://www.healthcorners.com/2007/article/showArticle.php?category=womenround&id=683

เรื่องที่เกี่ยวข้อง :
มะเร็งปากมดลูก (HPV)
มะเร็งปากมดลูกคืออะไร
มะเร็งปากมดลูกเริ่มแรกเป็นอย่างไร
สัญญาณเตือนโรคมะเร็งปากมดลูก
ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก
สมุนไพรรักษามะเร็งปากมดลูก
วิธีป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก
ทิชชู กับ มะเร็งปากมดลูก 

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก, วัคซีนมะเร็งปากมดลูก หมายถึง, วัคซีนมะเร็งปากมดลูก คือ, วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ความหมาย, วัคซีนมะเร็งปากมดลูก คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu