ซีไอเอ (Central Intelligence Agencies : CIA)
หน่วยข่าวกรองกลาง ซีไอเอ (The Central lntelligence Agency-CIA) เป็นองค์การที่รัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาสถาปนาขึ้นเมื่อ ค.ศ. ๑๙๔๗ มีหน้าที่แสวงหาข่าวสารข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งในและนอกสหรัฐอเมริกา เสนอประธานาธิบดีซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและรัฐสภา เพื่อให้รัฐบาลกลางมองเห็นสถานการณ์ของโลกทั้งภายในและภายนอกประเทศได้ ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อนำไปใช้ประกอบการวางนโยบายต่างประเทศที่ให้ผลถูกต้องแน่นอน
ก่อนหน้า ค.ศ. ๑๙๔๗ งานสืบราชการลับในต่างประเทศเป็นหน้าที่ของหน่วยบริการยุทธศาสตร์โอเอสเอส (Office of Strategic Service-OSS) ซึ่งจัดตั้งขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ค.ศ. ๑๙๔๒ โดยมีนายพลตรี วิลเลียม เจ. โดโนแวน (William J. Donovan) เป็นหัวหน้าดำเนินงานมาจนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๔๕ ก็ถูกยุบเลิกไป หน่วยบริการยุทธศาสตร์โอเอสเอสทำหน้าที่รวบรวมและวิเคราะห์ข่าวสารทาง ยุทธศาสตร์และทำการติดต่อกับแนวหลังของศัตรู และประเทศที่ศัตรูยึดครองอยู่ หน่วยงานนี้ทำงานได้ผลดีเพียงใดยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่ ๒ วินสตัน เชอร์ชิล (Winston Churchill) ชอบใช้แผนที่ของหน่วยโอเอสเอสมากกว่าแผนที่ที่ทำขึ้นในประเทศอังกฤษเองแต่ หน่วยบริการยุทธศาสตร์โอเอสเอสก็ต้องอาศัยข่าวกรองจากข่ายจารชนอังกฤษป้อน ให้ตนเป็นส่วนใหญ่
เมื่อรัฐบาลสหรัฐฯ จัดตั้งกระทรวงกลาโหมขึ้นเมื่อ ค.ศ. ๑๙๔๗ (รวมกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศเข้าไว้ด้วยกันในกระทรวงกลาโหม) จึงได้สถาปนาองค์การสืบราชการลับซีไอเอขึ้นด้วย โดยรับเอาอาสาสมัครจากหน่วยบริการยุทธศาสตร์โอเอสเอสเข้าเป็นเจ้าหน้าที่ใน องค์การนี้เป็นจำนวนมากในสายตาของคนภายนอก องค์การนี้คือการหวนกลับมาของหน่วยบริการยุทธศาสตร์โอเอสเอสนั่นเอง
กิจกรรมขององค์การสืบราชการลับซีไอเอกระทำกันเป็นความลับ ซึ่งมีทั้งความ สำเร็จและความล้มเหลว องค์การนี้ได้รับอนุญาตให้ทำกิจกรรมที่เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ อย่างอิสระ เช่น การโคนล้มกองกำลังทางเหนือของอิหร่านซึ่งสนับสนุนคอมมิวนิสต์เมื่อ ค.ศ. ๑๙๕๓ การโค่นล้มรัฐบาลที่ฝักใฝ่ คอมมิวนิสต์ในกัวเตมาลา การจัดตั้งรัฐบาลที่สนับสนุนฝ่ายโลกตะวันตกในอียิปต์เมื่อ ค.ศ. ๑๙๕๔ การกำจัดรัฐบาลอินโดนีเซียเมื่อ ค.ศ. ๑๙๕๘ แต่ไม่สำเร็จ การจัดให้มีรัฐบาลใหม่ในประเทศลาวเมื่อ ค.ศ. ๑๙๕๙ การสนับสนุนให้ชาวคิวบาที่ลี้ภัยการเมืองเข้ามาพำนักอยู่ในสหรัฐอเมริกาต่อ ต้านระบบการปกครองของ ฟิเดล คาสโตร (Fidel Castro) เมื่อ ค.ศ. ๑๙๖๐ เป็นต้น แต่กิจกรรมในต่างประเทศเช่นนี้ก็ทำให้เกิด
การวิพากษ์วิจารณ์กันทั่วไปว่า รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังใช้สมรรถภาพและสิทธิของตนในการกำหนดโชคชะตาของนานาชาติและยังบุกรุก สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลของคนอเมริกันด้วยกันอย่างลับ ๆ อีกด้วย ในบางเรื่ององค์การสืบราชการลับซีไอเอก็กระทำเกินขอบเขตของความเหมาะสมถูก ต้อง เช่น เมื่อประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสัน (Lyndon B. Johnson) เกิดไม่แน่ใจว่าสถานการณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขณะนั้นเป็นอย่างไร จึงจัดส่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โรเบิร์ต แม็กนามารา (Robert McNamara) ไปเยือนเวียดนามเป็นการส่วนตัวเพื่อค้นหาความจริง
องค์การสืบราชการลับซีไอเอจากกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นฝ่ายจัดเตรียมการเยือนครั้งนั้นด้วย ทำให้แม็กนามาราได้รับข่าวเท็จและครึ่งเท็จครึ่งจริง โทรเลขปลอมรายงานเท็จ ทั้งนี้ก็เพื่อให้สมจริงว่าสงครามในเวียดนามเป็นสงครามที่ต่อสู้กันอย่างแน่ ชัดระหว่างคอมมิวนิสต์กับฝ่ายที่มิใช่คอมมิวนิสต์ ซึ่งมีผลให้ประธานาธิบดีจอห์นสันสั่งเพิ่มกำลังทหารอเมริกันทวีคูณขึ้นใน เวียดนาม การทุ่มตัวเข้าไปในสงครามเวียดนามยังทำให้เจ้าหน้าที่ขององค์การนี้ต้องเข้า ไปแทรกตัวอยู่ในมูลนิธิต่าง ๆ สมาคมพ่อค้านานาประเภท สถาบันต่าง ๆมหาวิทยาลัย กลุ่มนักศึกษา แม้แต่บรรดาศาสตราจารย์ก็ได้รับทุนและเงินช่วยเหลือจากองค์การนี้เพื่อระงับ เสียงวิพากษ์วิจารณ์นโยบายเวียดนามของรัฐบาล
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๖๗ นิตยสารแรมพาร์ตส์ (Ramparts) ได้เปิดเผยขอบข่ายการทำงานอย่างกว้างขวางขององค์การนี้ ต่อมาสำนักพิมพ์ในเยอรมนีได้พิมพ์หนังสือชื่อ "ใครเป็นใครในองค์การสืบราชการลับซีไอเอ" (Who's Who in the CIA) โดยพิมพ์บัญชีรายชื่อเอเยนต์ขององค์การนี้จำนวน ๖,๐๐๐ คน ใน ๑๒๐ ประเทศ ทำให้องค์การนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายไปทั่วโลกมากยิ่งขึ้น
ที่มา ศ. สมร นิติทัณฑ์ประภาศ หนังสือ