ถ้าผู้บริโภคคิดจะออมทรัพย์ ผู้บริโภคจะต้องรู้จักวิธีการออมทรัพย์ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเอง และระบบเศรษฐกิจส่วนรวม ผู้บริโภคจะต้องปฏิบัติตามหลักการออมทรัพย์ดังนี้
1. ต้องรู้จัดเพิ่มพูนรายได้ ผู้บริโภคต้องมีความกระตือรือร้น ขยันขันแข็ง มานะอดทนในการประกอบสัมมาชีพ รู้จักคิดหาทางเพิ่มพูนรายได้ตลอดเวลา เพราะผู้มีรายได้มาก และรู้จักประหยัดการใช้จ่าย ย่อมมีโอกาสเก็บออมได้มากกว่าผู้มีรายได้น้อย หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ครอบครัวหารายได้มากเท่าไรก็มีโอกาสประหยัดเงินได้มากเท่านั้น
2. ต้องปลูกผังนิสัยการเก็บออม ผู้บริโภคควรต้องพยายามฝึกฝนตัวเองให้มีความสามารถที่ควบคุมการใช้จ่ายของตน ฝึกเก็บออมเงินอย่างสม่ำเสมอจนเคยชินเป็นนิสัย ผู้บริโภคและครอบครัวที่มองการณ์ไกลซึ่งมีการพิจารณาถึงสิ่งที่จำเป็นและต้องการไว้ล่วงหน้า ทั้งระยะสันและระยะยาวอยู่เสมอ ย่อมจะทำให้การใช้เงินเป็นไปอย่างระมัดระวัง และมีเงินออมเพื่อการใช้จ่ายในอนาคตตามต้องการได้ นิสัยการเก็บเงินอมย่อมทำให้ผู้บริโภคมีการวางแผนการใช้จ่ายเงินที่ดี แม้ว่าผู้มีรายได้น้อยจะทำการออมได้ยาก แต่ถ้าหากได้ฝึกจนเป็นนิสัยก็ย่อมจะทำได้การเก็บออมจะทำได้เพียงใดนั้นย่อขึ้นอยู่กับความพยายามและความตั้งใจแน่วแน่ของผู้บริโภค
แต่ละครอบครัวควรถือเป็นหน้าที่ที่จะช่วยกันออมในสิ่งที่ควรออมและในสิ่งที่สามารถทำได้ การเก็บออมคนละเล็กละน้อย ย่อมจะทำให้ครอบครัวมีเงินออมมากขึ้น หากไม่เชื่อใจว่าจะสามารถบังคับใจตนเองให้เก็บออมได้ก็อาจใช้วิธีการออมแบบบังคับทางอ้อม เช่น ฝากเงินประเภทประจำกับธนาคาร การซื้อสลากออมสิน การประกันชีวิตหรือเข้าเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ ฯลฯ จากวิธีการดังกล่าวะทำให้ผู้บริโภคสามารถมีเงินออมได้
3. รู้จักทำงบประมาณวางแผนการใช้เงิน ผู้บริโภคควรจะได้มีการวางแผนการใช้เงิน โดยวิธีการกำหนดวงเงินค่าใช้จ่ายปัจจุบันหรือวงเงินตามต้องการในอนาคต ทำประมาณการรายได้และรายจ่าย พิจารณารายการและจำนวนเงินรายจ่ายและทำบัญชีรายจ่ายประจำตัว และประจำครอบครัวตามรายจ่ายที่ต้องจ่ายจริงแต่ละเดือน
4. รู้จักสงเคราะห์คนอื่นเท่าที่จำเป็น ในเมื่อทุกคนเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม ทุกคนก็มีรายจ่ายจำเป็นส่วนหนึ่งเพื่องานสังคม เพื่อการกุศลหรือสาธารณะประโยชน์ส่วนรวม รายจ่ายส่วนนี้ผู้บริโภคควรกันเงินเอาไว้เท่าที่จำเป็น เช่น การสงเคราะห์บุคคลที่ด้อยกว่า งานแต่งงาน งานศพ งานบวชนาค การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ฯลฯ รายจ่ายเพื่องานสังคมที่ไม่มีความจำเป็น ควรจะยกเว้นไปบ้าง
ที่มา https://www.expert2you.com/view_article.php?art_id=3680