โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่มีผลกระทบเป็นอย่างสูงกับคนสูงอายุทั่วโลก ในประเทศไทยพบว่าผู้สูงอายุเป็นโรคนี้กันมาก
โรคกระดูกพรุน เป็นภาวะที่เนื้อกระดูกลดลง และโครงสร้างภายในเนื้อกระดูกเปลี่ยนแปลงทำให้กระดูกเปราะบางและแตกหักง่าย แม้ความแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย
ปกติเนื้อกระดูกจะค่อยๆสะสมตั้งแต่แรกเกิด และมีความหนาแน่นของกระดูกสูงสุด เมื่ออายุ 30 ปี จากนั้นเนื้อกระดูกจะลดลงเรื่อยๆ ในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน อายุประมาณ 50 ปี เนื้อกระดูกจะลดลงมากกว่าผู้ชายอายุที่เท่ากัน ประมาณ 5 – 10 ปี หลังจากนั้นผู้หญิงและผู้ชายจะมีอัตราการสูญเสียเนื้อกระดูกเท่าๆกัน
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
1. เพศ เพศหญิงมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย
2. อายุ อายุยิ่งมากขึ้นกระดูกจะบางมากยิ่งขึ้น
3. เชื้อชาติ พบในคนเอเชียและผิวขาวมากกว่า
4. รูปร่าง รูปร่างเล็กและผอมบาง กระดูกจะบางมากกว่าคนรูปร่างปกติ
6. ดื่มกาแฟ เป็นต้นเหตุของโรคกระดูกพรุน
7. สูบบุหรี่, ดื่มสุรา เป็นสาเหตุทำให้กระดูกบางมากยิ่งขึ้น
8. การใช้ยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ เป็นต้น
การป้องกันและรักษา
1.หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง คือ
- รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมอย่างเพียงพอ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที ไม่น้อยกว่า 3 วัน / สัปดาห์
- งดการสูบบุหรี่ และงดดื่มกาแฟ
2. การรักษาโดยใช้ยา ได้แก่
- แคลเซียมและวิตามินดี
- ยากลุ่มฮอร์โมน
- แคลซิโตนิน
- ยากลุ่มบิสฟอสฟอร์เนต
ขอบคุณข้อมูลจาก คลินิกศัลยกรรมกระดูก และข้อ ร.พ.พญาไท