ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เด็กอ้วน, เด็กอ้วน หมายถึง, เด็กอ้วน คือ, เด็กอ้วน ความหมาย, เด็กอ้วน คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
เด็กอ้วน

          ปีนี้ “วันหัวใจโลก” ได้ให้ความสำคัญกับเด็ก และวัยรุ่นอย่างยิ่งเพราะเน้นหนักไปในเรื่องหลอดเหลือหัวใจของเด็กทีเดียว

          ใครๆอาจจะคิดว่าหัวใจเด็กก็น่าจะใสสะอาด(ในเรื่องของจิตใจอาจจะใช่) แต่ความเป็นจริงแล้ว หลอดเลือดของเด็กใช่จะใสบริสุทธิ์ดังจิตใจทุกคนไป

          เคยมีการศึกษาหลอดเลือดหัวใจเด็กหรือวัยรุ่นโดยทำการผ่าพิสูจน์ศพที่เสียชีวิตจากโรคอื่นๆที่ไม่ใช่โรคหัวใจ ไม่น่าเชื่อว่าเริ่มเผยแผ่นคราบไขมันเกาะที่หลอดเลือดหัวใจในเด็กอายุแค่ 10 ปีเท่านั้น! สถานการณ์เช่นนี้ไม่ใช่จะมีเพียงแต่ประเทศทางซีกโลกตะวันตกเท่านั้น แม้แต่ในประเทศไทย โคนหลอดเลือดหัวใจตีบก็พบในคนอายุน้อยลง แต่ก่อนคนที่เกิด heart attack อายุเฉลี่ยคือ 50-60 ปี แต่ในปัจจุบันนี้พบว่าคนไทยอายุน้อยที่สุดที่เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attack) จากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน คืออายุเพียง 21 ปี ซึ่งน่าตกใจไม่ใช่น้อย เพราะอายุเพียงแค่นี้ ใครคิดว่าจะเป็นโรคหัวใจได้(นอกจากเป็นโรคใจง่ายใจแตก)

          แต่ความเป็นจริงก็คือ เด็กก็มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจได้เช่นกัน แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กหรือวัยรุ่นคนไหนเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ต้องลองดูว่ามีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้หรือไม่

          - มีประวัติครอบครัวที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ 
          - สูบบุหรี่ 
          - น้ำหนักเกินหรืออ้วน 
          - ไม่ออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกายในการทำกิจวัตรประจำวันน้อยไป!!
          - เบาหวาน หรือมีความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือด 
          - ไขมันชนิดไม่ดีในเลือดสูง(high LDL cholesterol)
          - ไขมันชนิดดีในเลือดต่ำ(low HDL cholesterol)
          - มีความดันโลหิตสูง

          จะเห็นได้ว่าปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงได้คือ เลิกบุหรี่ บริโภคอาหารที่เหมาะสม และเคลื่อนไหวร่างกายและออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่เอาแต่นั่งดูทีวี เล่นคอมพิวเตอร์

          พูดถึงเด็กอ้วน ( ประเทศไทยมีเด็กที่น้ำหนักเกิน หรืออ้วนประมาณร้อยละ 25 และ มีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อย ) ผู้ที่มีน้ำหนักเกินจะมี โอกาส 3 - 5 เท่า ที่จะเสียชีวิตจากหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน หรือหลอดเลือดในสมองตีบตันก่อนอายุ 65 ปี เมื่อเทียบกับเด็กที่น้ำหนักปกติ ทั้งนี้เพราะพบว่าเด็กที่อ้วน โอกาสที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วนจะมากขึ้น และผู้ที่น้ำหนักเกินตั้งแต่เด็กแล้ว การที่จะลดน้ำหนักเมื่อมีอายุมากขึ้นจะทำได้ยากกว่าผู้ที่ไม่มีน้ำหนักเกินเมื่ออยู่ในวัยเด็ก    

          สิ่งที่บรรดาพ่อ-แม่และผู้ใกล้ชิดและตัวเด็กๆเองควรจะปฏิบัติก็คือ ควรให้ลูกหลานได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดบุหรี่, สร้างพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ดีทั้งที่บ้านและโรงเรียน,หลีกเลี่ยงการรับประทานขนม น้ำหวาน น้ำอัดลม!! หรืออาหารจานด่วน, ลดการดูโทรทัศน์ และกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวร่างกายใช้ชีวิตประจำวันให้มากขึ้น

          ทั้งนี้ ในเรื่องการออกกำลังกายจะพบว่า เด็กที่มีการออกกำลังกายมาตั้งแต่เด็กๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น มาเริ่มออกกำลังกายใหม่ (เพราะหมอสั่งและกลัวตาย!!) พบว่าคนกลุ่มนี้จะออกกำลังกายต่อไปได้อย่างสม่ำเสมอ ดีกว่าคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายมาตั้งแต่เด็กๆ ถึงแม้จะเชื่อ(จำใจ) ทำตามคำแนะนำแต่แรก ต่อไปสักพักหนึ่งก็จะหยุดออกกำลังกายไป! ด้วยเหตุผลสารพัด

          ทั้งนี้ การที่จะเสริมสร้างพฤติกรรมดังกล่าว พ่อ - แม่หรือผู้ดูแลต้องเป็นต้นแบบที่ดีด้วย เหมือนทุกอย่างที่ลูกๆ หลานๆ ก็จะเรียนมาจาก พ่อ - แม่ 



การดูแล

คุณพ่อ-คุณแม่, คุณตา-คุณยาย, คุณปู่-คุณย่า ทั้งหลายควรจะช่วยๆ กันให้ลูกๆ หลานๆ

          - เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
          - ออกกำลังกาย โดยเริ่มต้นจากขยันที่จะขยับเขยื้อนร่างกายมากขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น เดินมากขึ้นที่โรงเรียน ทำกิจกรรมนอกบ้านแทนการดูโทรทัศน์ แล่นคอมพิวเตอร์ และออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ 
          - ควบคุมน้ำหนัก อย่าคิดว่าเด็กๆ อ้วนแล้วน่ารักน่าเอ็นดูเลยครับ 
          - ได้ดื่มนมแม่ น้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกในช่วง ๖ เดือนแรก ลูกจะมีโภชนาการที่ดีตั้งแต่แรกเกิด ส่งผลให้สุขภาพแข็งแรงในอนาคตและไม่อ้วน 
       
          ถ้าใครปล่อยให้ลูกๆ หลานๆ อ้วน จงทราบไว้ด้วยว่าท่านทำบาปอย่างมหันต์ให้แก่เด็กๆ เหล่านั้น ท่านอาจคิดว่าเขาดูน่ารักไม่ให้เขาเล่นกีฬา ให้แต่ดูหนังสือ เรียนพิเศษ จะได้ทำงานดีๆ มีเงินมากๆ เมื่อโตขึ้น แต่เมื่อเขาโตขึ้น ถึงช่วงที่เขากำลังมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน(อายุ ๔๕-๖๐ ปี) เขาก็จะมีปัญหาเรื่องหัวใจและสมองค่อนข้างแน่ ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลตอนนี้จะมากกว่าเงินที่เขาหาได้เสียอีก แล้วจะหาว่าไม่เตือน!!!

          การที่เด็กๆ จะปราศจากโรคหัวใจในอนาคตได้นั้น ครอบครัวและผู้ใกล้ชิดมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะสร้างเสริมนิสัยที่ดีให้กับพวกเข้าตั้งแต่อายุน้อยๆ

          ทั้งนี้ มีการศึกษาในต่างประเทศพบว่า เด็กที่ดูทีวี (นั่งเล่นคอมพิวเตอร์) มากกว่าวันละ ๔ ชั่วโมงนั้น เมื่อโตขึ้นมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานมากกว่าเด็กที่ดูทีวีน้อยกว่าวันละ ๒ ชั่วโมงมากนัก

          แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า คนที่น้ำหนักเกินหรืออ้วน เมื่ออายุมากๆ แล้วนั้นจะไม่สามารถลดน้ำหนักได้นะครับ มีคนอยู่กลุ่มหนึ่งที่ผมไม่สามารถลดน้ำหนักให้ได้ คนไข้กลุ่มนี้คือ คนอ้วนที่ไม่คิดว่าตัวเองอ้วนครับ!!!

จากหนังสือ... ครอบครัวหัวใจแข็งแรง
ขอบคุณข้อมูลจาก ร.พ.พญาไท


เด็กอ้วน, เด็กอ้วน หมายถึง, เด็กอ้วน คือ, เด็กอ้วน ความหมาย, เด็กอ้วน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu