ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

กรมบังคับคดี, กรมบังคับคดี หมายถึง, กรมบังคับคดี คือ, กรมบังคับคดี ความหมาย, กรมบังคับคดี คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
กรมบังคับคดี

กรมบังคับคดี : Legal Execution Department

          เดิมงานของกรมบังคับคดีมีที่มาจากหน่วยงานราชการระดับกองในสำนักปลัดกระทรวงยุติธรรม 2 กอง คือ กองบังคับคดีแพ่ง และ กองบังคับคดีล้มละลาย จนกระทั่งปี พ.ศ.2517 สมัยรัฐบาล ฯพณฯ ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านกิตติ สีหนนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้เห็นความสำคัญของทั้งสองกองดังกล่าว ประกอบกับงานบังคับคดีแพ่งและงานบังคับคดีล้มละลายเพิ่มขึ้นมาก หน่วยงานที่จัดไว้แต่เดิม ไม่เหมาะสมกับงานที่นับวันแต่จะทวีปริมาณมากขึ้นทุกๆ ปี 

          ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย งานเกี่ยวกับการวางทรัพย์ได้ขยายอำนาจหน้าที่ทั่วราชอาณาจักร รวมทั้งงานชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือ นิติบุคคลตามคำสั่งศาล ได้ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถชำนาญงานในหน้าที่ได้เป็นไปอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

          รัฐบาลจึงได้ออกพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2515 (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2517 ให้ยกฐานะกองบังคับคดีแพ่งและกองบังคับคดีล้มละลาย รวมจัดตั้งขึ้นเป็นกรมบังคับคดีอยู่ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม แล้วได้ตราพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารงานบางส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม พ.ศ.2517 โดยให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่ในส่วนเกี่ยวกับกองบังคับคดีแพ่งและกองบังคับคดีล้มละลาย รวมทั้งให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้ ข้าราชการ ลูกจ้าง และเงินงบประมาณของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับกองบังคับคดีแพ่งและกองบังคับคดีล้มละลายไปเป็นของกรมบังคับคดี และนอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งหน่วยงานใหม่ได้แก่ สำนักงานวางทรัพย์กลางและงานอนุญาโตตุลาการ เพื่อชี้ขาดถึงข้อ พิพาทเกี่ยวกับการวางทรัพย์ภูมิภาคขึ้น รวม 9 ภาค กรมบังคับคดีจึงมีอำนาจหน้าที่บังคับคดีแพ่งและคดีล้มละลาย ตลอดจนวางทรัพย์ทั่วประเทศ แล้วเริ่มดำเนินการในฐานะเป็นกรมบังคับคดีนับแต่นั้นเป็นต้นมา



วิสัยทัศน์

          กรมบังคับคดีเป็นองค์กรหลักในการดำเนินการ และกำกับดูแลการบังคับคดี อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม โปร่งใส โดยประชาชนมีส่วนร่วม

พันธกิจ

          - ให้บริการด้านการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การชำระบัญชี และการวางทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ เสมอภาค เป็นธรรม และรวดเร็ว

          - ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนาระบบการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การชำระบัญชีและการวางทรัพย์ของประเทศ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและสังคัม

          - พัฒนากฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีให้ทันสมัย รองรับต่อการเปลี่ยนแปลงตามภาวะการณ์ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานและบริการประชาชน โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมในสังคมและสิทธิมนุษยชน

          - พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ คล่องตัว สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง

          - พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญด้านการบังคับคดี

          - เผยแพร่ความรู้ทางกฏหมายเกี่ยวกับการบังคับคดี แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง ส่งเสริมความร่วมมือและส่วนร่วมในการบังคับคดีของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน ตลอดจนไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นบังคับคดี 
     
          กรมบังคับคดีเป็นหน่วยงานหนึ่งในกระบวนการยุติธรรม ที่มีภารกิจหลักเกี่ยวกับงานด้านการบังคับคดีแพ่ง การบังคับคดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ การวางทรัพย์ ตลอดจนการชำระบัญชี ทั้งนี้เพื่อช่วยขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ และช่วยปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมของประเทศได้มีความเหมาะสมทันเหตุการณ์กับสภาพสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว


กรมบังคับคดี, กรมบังคับคดี หมายถึง, กรมบังคับคดี คือ, กรมบังคับคดี ความหมาย, กรมบังคับคดี คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu