ปัจจุบันคนไทยเริ่มหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพกันมากขึ้น กระแสความด้านต้องการบริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์ เป็นหัวใจที่สำคัญอย่างหนึ่ง การเข้าถึงธรรมชาติเป็นอีกกระแสหนึ่งของความนิยม สังเกตได้จากกระแสความต้องการผลผลิตทางการเกษตรในระบบเกษตรอินทรีย์ กำลังมีความต้องการและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ ของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ
เกษตรกรเองก็อยากปลอดภัยจากสารเคมี ไม่มีใครอยากใช้สารเคมีเพราะอันตรายทั้งตนเองและผู้บริโภค แต่ถ้าไม่ใช้แล้วจะใช้อะไรทดแทน ปัญหาในการเพราะปลูกที่เกษตรกรพบมี 2 ประการใหญ่คือ เรื่อง ดินตาย หรือความไม่อุดมสมบูรณ์ของดินถ้าไม่ใช้ปุ๋ยเคมีแล้วจะใช้อะไรทดแทน และปัญหาของการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ถ้าไม่ใช้สารเคมีแล้วจะใช้อะไรทดแทน
แนวทางที่จะปรับปรุงแก้ไขให้ดินตายกลับกลายเป็น ดินที่มีชีวิตสามารถเพาะปลูกพืชให้ได้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดีไม่ว่าจะเป็นพืชอะไรก็ตามและต้องเป็นแนวทางที่จะสามารถผลิตผลผลิต ที่ปลอดภัยจากสารพิษทางการเกษตร ทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม สามารถทำเป็นอาชีพได้อย่างยั่งยืน ซึ่งก็คือ แนวทางการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี แต่จะใช้ความสำคัญของดินเป็นอันดับแรก ด้วยการปรับปรุงดินให้มีพลังในการเพาะปลูก เหมือนกับดินในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ และใช้หลักการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมี โดยการนำทรัพยากรธรรมขาติที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นวิธีการที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อมไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค สามารถให้ผลผลิตที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพ เป็นระบบเกษตรที่มีความยั่งยืนเป็นอาชีพที่มั่นคง
หลักการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์
• การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด ส่วนปุ๋ยจุลินทรีย์ชีวภาพ
ได้แก่ ไรโซเบียม,เชื้อรา ฯลฯไมโคไรซ่า ปุ๋ยและจุลินทรีย์เหล่านี้จะให้ทั้งธาตุหลักลาตุอาหารรองแก่พืชอย่างครบถ้วน จึงใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี
• การคลุมดิน ทำได้โดยใช้เศษพืชต่างๆ จากไร-นา เช่น ฟางหญ้าแห้ง ต้นถัว ใบไม้ ขุยมะพร้าว เศษเหลือทิ้งจากไร่นา หรือ กระดาษหนังสือพิมพ์
พลาสติกคลุมดิน หรือการปลูกพืชคลุมดิน การคลุมดินมีประโยชน์หลายประการ คือ ช่วยป้องกันการชะล้างของน้าดิน
และรักษาความชุ่มชื้นของดินเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำ ช่วยทำให้หน้าดินอ่อนนุ่มสะดวกต่อการไชชอนของรากพืช ซึ่งประโยชน์ต่างๆ ของการคลุมดินดังกล่าวมาจะช่วยส่งเสริมให้พืชเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดี
• การปลูกพืชหมุนเวียน เนื่องจากพืชแต่ละชนิดต้องการธาตุอาหารแตกต่างกันทั้งชนิดและปริมาณ อีกทั้งระบบรากยังมีคามแตกต่างกันทั้งในด้านการแผ่กว้างและหยั่งลึกถ้ามีการจัดระบบการปลูกพืชอย่างเหมาะสมแล้วจะทำให้การ
ใช้ธาตุอาหารมีทั้งที่ถูกใช้และสะสมสลับกันไปทำให้ดินไม่ขาดธาตุอาหารธาตุใดธาตุหนึ่ง
หลักการป้องกันและกำจัดโรคและแมลงศัตรูผักโดยไม่ใช้สารเคมี
• การป้องกันและกำจัดโดยวิธีกล โดยไม่ใช้สารเคมี เช่น การใช้มือจับแมลงมาทำลาย การใช้มุ้งตาข่าย การใช้กับดักแสงไฟ การใช้กับดักกาวเหนียวเป็นต้น
• การใช้ตาข่ายไนล่อนสีขาว หรือสีฟ้าคลุมแปลงผัก
เพื่อป้องกันผีเสื้อกลางคืนมาวางไข่ที่ใบพืชผักสามารถป้องกันแมลงประเภทหนอนใยผัก หนอนกระทู้ และหนอนผีเสื้ออื่นๆ ได้ แต่ด้วงหมัดผักกาดและเพลี้ยอ่อนยังเข้าไปทำลายพืชผักได้ ให้ใช้สารควบคุมแมลงจากดอกไพรีทรินฉีดพ่น การปลูกผักในมุ้งมีข้อเสียตรงที่ไม่มีต้นไม้บังลม เมื่อมีลมพายุขนาดย่อมพัดมาอย่างรุนแรงในฤดูแล้ง มุ้งไนล่อนซึ่งใหญ่มากจะถูกลมตีแตกเสียหายทั้งหลัง การใช้มุ้งตาขายครอบแปลงขนาดเล็ก หรือขนาดผ้าคลุมแปลงเพาะกล้าจะไม่เกิดปัญหามุ้งแตกเพราะลมแต่อย่างใด
• การใช้กับดักแมลงสีเหลืองเคลือบวัสดุเหนียว
แมลงศัตรูพืชจะชอบบินเข้าหาวัตถุสีเหลืองมากที่สุด หากใช้วัสดุที่มีลักษณะข้นเหนียวไปทาเคลือบวัสดุสีเหลือง เช่น แกลลอนน้ำมันเครื่องสีเหลือง ถังพลาสติกสีเหลือง แผ่นพลาสติกสีเหลือง แผ่นไม้ทาสีเหลืองหรือแผ่นสังกะสีทาสีเหลือง วางติดตั้งบนหลักไม้ให้อยู่เหนือต้นพืชเล็กน้อย หรือติดตั้งในแปลงปลูกผักห่างกันทุก 3 ตารางเมตร ให้แผ่นสีเหลืองสูงประมาณ 1 เมตร ขนาดแผ่นสีเหลืองควรมีขนาด 1 ตารางฟุต ก็จะลดอันตรายการทำลายของแมลงกับพืชผักของเราได้อย่างมากแมลงศัตรูพืชที่เข้ามาติดกับดักสีเหลองได้แก่แมลงงันหนอนชอนใบ ผีเสื้อกลางคืนของหนอนกระทู้หลอดหอม ผีเสื้อกลางคืน ของหนอนใบผัก ผีเสื้อกลางคืนของหนอนกระทู้ผัก ผีเสื้อกาลางคืนของหนอนคืบกะหล่ำ แมลงวันทอง แลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น และเพลี้ยอ่อน กาวเหนียวที่มีขายในท้องตลาด มีชื่อว่า “ อพอลโล่ ” หรือ “ คันริว ” ป้ายกาวเหนียวครั้งหนึ่งจะอยู่ทนได้นาน 10-15 วัน ส่วนผสมของกาวเหนียวที่กรมวิชาการเกษตรทำร่วมกับผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นและใช้ได้ผลดีในประเทศไทยคือ น้ำมันละหุ่ง 150 ซีซี ผงยางสน 100 กรัม ไขคาร์นาบัว 10-12 กรัม อุ่นให้ร้อน กวนให้เช้ากันตั้งทิ้งให้เย็น แล้วนำไปใช้ได้เลย
หลักการควบคุมแมลงศัตรูพืชผักโดยใช้สารสกัดจากพืชในธรรมชาติ
• นิโคติน (Nicotine) เป็นสารเคมีธรรมชาติที่พบในใบยาสูบใช้ป้องกันกำจัดแมลงพวกปากดูด เช่น เพลี้ย มวน ฯลฯ และใช้เป็นยารมกำจำแมลงในเรือนเพาะชำ
• ทีโนน (Rotenone) เป็นสารเคมีในธรรมชาติสกัดมาจากต้นใต้ดินและรากของต้นหางไหล หรือโล่ติ้น หรือดวดน้ำ นอกจากนั้นยังสามารถสกัดได้จากรากและต้นของต้อนหนอนตายยาก (Stemona) และจากใบและเมล็ดของมันแกว มนุษย์ใช้สารโรทีโนนจากโล่ติ้น เป็นยาเบื่อปลามาตั้งแต่สมัยโบราณมีพิษน้อยต่อสัตว์เลือดอุ่น รากป่นแห้งของต้นหนอนตายอยาก สามารถกำจัดแมลงในล้าน ได้แก่ เรือด หมัด ลูกน้ำยุง และหนอนแมลงวัน และกำจัดแมลงศัตรูพืชได้แก่ ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนใยผัก แมลงวันแตง เพลี้ยอ่อนฝ้าย หนอนกะหล่ำ หนอนแตง เป็นต้น สารทีโนนนี้เป็นสารที่มีพิษต่อระบบหายใจของสิ่งมีชีวิต แมลงที่ถูกสารนี้จะมีอาการขาดออกซิเจน เป็นอัมพาต และตายในที่สุด
• ไพรีทริน (Pyrethrin) เป็นสารเคมีธรรมชาติที่มนุษย์สกัดได้จากดอกแงของไพรีทรัม ซึ่งมีสีขาวอยู่ในวงศ์ Compositae (ตระกูลเก๊กฮวยม,เบญจมาศ) ชอบขึ้นและเจริญเติบโตได้ดีในที่มีอากาศเย็น สารไพรีทรินเป็นสารฆ่าแมลงประเภทถูกตัวตาย ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาทของแมลง โดยเข้าไปสกัดประจุโซเดียมบนผิวของเส้นประสาท ทำให้ระบบไฟฟ้าของเส้นประสาทหยุดชะงัก ทำให้แมลงสลบโดยทันทีและตานในที่สุด ไพรีทรินมีอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นน้อยมากเนื่องจากสลายตัวได้รวดเร็วในร่างกายของคนและสัตว์เลี้ยง คนที่แพ้อาจมีอาการคล้ายคนเป็นโรคหอบหืด ไม่มีพิษตาค้างสลายตัวได้ดีในสิ่งแวดล้อม สารเคมีสังเคราะห์คล้ายพวกไพรีทรินทมีหลายชนิดที่มีคุณสมบัติในการกำจัดแมลงศัตรูพืชคือ เพลี้ยอ่อน หมัดกระโดด ตั๊กแตน หนอนผีเสื้อกะหล่ำ หนอนกะหล่ำใหญ่ เพลี้ยจักจั่นฝ้าย หนอนเจาะมะเขือ และ หนอนแมลงงันเจาะต้นถั่ว
• สะเดา (Azadiracgta indica) สารฆ่าแมลงมีในทุกส่วนของต้นสะเดาแต่จะมีมากที่สุดในเมล็ด แมลงที่สารสะเดาสามารถควบคุมและกำจัดได้คือ ด้วงงวงข้าวโพด หนอนเจาะสมอฝ้าย เพลี้ยอ่อนทั่วไป เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หนอนใยผัก หนอนกระทู้ ด้วงหมัด เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว หนอนแมลงวันชอนใบ ไรทั่วไป เพลี้ยกระโดดหลังขาว แมลงหวี่ขาว เต่ามะเขือ หนอนเจาะยอดกะหล่ำ เป็นต้น สารออกฤทธิ์ของสะเดาได้ แก่ azadirachtin,Salannin,Meliantriol และ Nimbin ซึ่งจะหมดฤทธิ์ในสภาพที่มีแดด ซึ่งมีรังสีอัลตราไวโอเล็ต จึงควรใช้สารสะเดากับพืชเวลาเย็น หรือตอนกลางคืน สารสะไม่เป็นอันตรายต่อแมลงพวกต่อ แตน ผึ้ง สัตว์เลือดอุ่น และมนุษย์
การใช้ บดเมล็ดสะเดาให้ละเอียด ห่อด้วยผ้าขาวบาง แช่น้ำ 1 คืน ด้วย อัตราการใช้ผงสะเดา 25-30 กรัม/ลิตร หรือเมล็ดสะเดาบด 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร แช่น้ำเป็นเวลา 1-2 คืน แล้วกรองเอากากออก ใช้ฉีดพ่นป้องกันกำจัดแมลงได้ โดยนำไปฉีดพ่นเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืชได้เลย ควรผสมยาจับใบทุกครั้งที่มีการฉีดพ่น
ที่มาของเกษตรอินทรีย์
โดยธรรมชาติของป่าไม้จะมีต้นไม้นานาชนิดขึ้นปะปนกันอยู่เต็มไปหมดมีใบไม้หล่นทับถมกันสัตว์ป่าถ่ายมูลไว้ที่ผิวหน้าดินคลุกเคล้ากันกับใบไม้และซากพืชมูลสัตว์รวมทั้งซากสัตว์ โดยมีสัตว์เล็กๆ เช่น ไส้เดือน กิ้งกือ จิ้งหรีด ฯลฯ กัดแทะเป็นชิ้นเล็กๆ และมีจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินช่วยย่อยสลายจนกลายเป็นฮิวมัสซึ่งเป็นแหล่งธาตุอาหารพืชและใช้ในการเจริญเติบโตของต้นไม้ในป่านั่นเอง
ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเอาปุ๋ยเคมีไปใส่ในป่า ซึ่งเกษตรการสามารถเลียนแบบป่าได้โดยการใช้ปุ๋ยเคมี นอกจากนี้ใบไม้และเศษพืชที่ปกคลุมผิวดินเป็นการคลุมผิวหน้าดินไว้ป้องกันการสูญเสียความชื้นภายในดินทำให้หน้าดินอ่อนนุ่มสะดวกต่อการไชชอนของรากพืชไม่มีใครนำเอายาฆ่าแมลงไปฉีดพ่นให้ต้นไม้ในป่าแต่ต้นไม้ในป่าก็เจริญเติบโตแข็งแรงต้านทานโรคและแมลงได้ตามธรรมชาติ ถึงแม้จะมีโรคและแมลงรบกวนบ้างก็ไม่ถึงขั้นเสียหายและยังสามารถให้ผลผลิตได้ตามปกติ นั่นก็คือ ต้นมี่ขึ้นอยู่บนดินที่มีความอุดมสมบูรณ์จะสามารถต้านทานโรคและแมลงได้ นอกจากนี้พืชในป่าก็มิได้เป็นพืชชนิดเดียวกันทั้งหมด แต่เป็นพืชหลากหลายชนิดทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพมีแหล่งอาหารที่หลากหลายของแมลง และแมลงบางชนิดก็เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช ดังนั้นจึงเกิดสมดุลตามธรรมชาติโอกาสที่แมลงศัตรูพืชจะระบาดจนเกิดความเสียหายจึงมีน้อย ดังนั้นเกษตรการจึงสามารถจำลองสภาพป่าไว้ในไร่-นา โดยการปลูกพืชให้หลากหลายชนิด ซึ่งเป็นที่มาของการเกษตรในระบบอินทรีย์หลักการผลิตผักอินทรีย์ เป็นหลักการที่เลียนแบบมาจากป่าที่สมบูรณ์นั่นเอง ซึ่งจะประกอบด้วยหลักทางการเกษตรที่คำนึงถึง ดิน พืช แมลงและสภาพแวดล้อมควบคู่กันไปทุกด้าน
ขั้นตอนการปลูกผักระบบเกษตรอินทรีย์
• การไถพรวนและเตรียมแปลง ต้องทำการไถพรวนให้พื้นที่ในแปลงโล่งแจ้งพร้อมที่จะทำการวางรูปแบบแปลง ในการวางรูปแบบแปลงจะต้องวางไปตามตะวัน เนื่องจากพืชใช้แสงแดดปรุงอาหารและแสงแดดฆ่าเชื้อโรค แปลงที่จะปลูกพืชผักนั้นความกว้างไม่ควรเกิน 1 เมตร ส่วนความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ ส่วนพื้นที่ที่ยังทำแปลงปลูกพืชไม่ทันให้เอาพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียวหรือถั่วมะแฮะมาหว่านคลุมดินเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสด เป็นการปรับปรุงบำรุงดินไปพร้อมกับเป็นการป้องกันแมลงที่จะมาวางไข่ในพงหญ้าด้วย
• ปลูกพืชสมุนไพรไล่แมลง ให้ปลูกก่อนที่จะปลูกพืชหลักคือพืชผักต่างๆ (เสริมกับการป้องกัน) พืชสมุนไพรที่กันแมลงรอบนอกเช่น สะเดา ชะอม ตะไคร้ หอม ข่า ปลูกห่างกัน 2 เมตร โดยรอบพื้นที่ ส่วนต้นด้านในกันแมลงในระดับต่ำโดยปลูกพืชสมุนไพรเตี้ยลงมาเช่น ดาวเรือง กระเพรา โหระพา ตะไคร้หอม พริกต่างๆ ปลูกห่างกัน 1 เมตร และที่จะลืมไม่ได้เลยก็คือจะต้องปลูกตะไคร้หอมทุกๆ 3 เมตร แซมโดยรอบพื้นที่ด้านในด้วย
• การแยกแปลงปลูกยกแปลงเพื่อปลูกพืชผัก แต่ก่อนที่จะปลูกจะต้องมีการปรับสภาพดินในแปลงปลูก โดยการใส่ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ที่ตากแห้งแล้วจะใส่มากน้อยขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินที่จะทำแปลงปลูกพืชอินทรีย์ (ห้ามใช้มูลสัตว์สด) ทำการพรวนคลุกดินให้ทั่วทิ้งไว้ 7 วัน ก่อนปลูก
ปลูกพืชสมุนไพรกันแมลง ให้ปลูกที่ขอบแปลงก่อน เช่น กุ๋ยฉ่าย คื่นฉ่าย และระหว่างแปลงก็ทำการปลูกกระเพรา โหระพา พริกต่างๆ เพื่อป้องกันแมลงก่อนที่จะทำการปลูกพืชผัก พอครบกำหนด 7 วัน พรวนดินอีกครั้งแล้วนำเมล็ดพันธุ์พืชมาหว่านแต่เมล็ดพันธุ์พืชส่วนใหญ่เป็นเมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีจึงต้องนำเอาเมล็ดพันธุ์ผักมาล้าง โดยการนำน้ำที่มีความร้อน (50-55 C ) วัดได้ด้วยความรู้สึกของตัวเราเองคือเอานิ้วมือจุ่มลงไปถ้าทนความร้อนได้ก็ให้นำเมล็ดพันธุ์พืชแช่ลงไป นาน 30 นาที แล้วจึงนำขึ้นมาคลุกกับกากสะเดา หรือ สะเดาผงแล้วนำไปหว่านลงแปลงที่เตรียมไว้คลุมฟางและรดน้ำ
การเตรียมน้ำสมุนไพรไล่แมลง ก่อนรดน้ำทุกวันควรขยำขยี้ใบ ตะไคร้หอมแล้วใช้ไม้เล็กๆ ตีใบกระเพรา โหระพา ข่า ฯลฯ เพื่อให้เกิดกลิ่นจากพืชสมุนไพรออกไล่แมลง ควรพ่นสารสะเดาอย่างต่อเนื่องทุกๆ 3-7 กันก่อนแก้ถ้าปล่อยให้โรคแมลงมาแล้ว จะแก้ไขไม่ทัน เพราะว่าไม่ใช้สารเคมี ควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด
การเก็บเกี่ยว เมื่อถึงอายุควรเก็บเกี่ยวทันทีถ้าทิ้งไว้จะสิ้นเปลืองสารสมุนไพรในการปลูกพืชอินทรีย์ในระยะแรกผลผลิตจะได้น้อยกว่าพืชเคมี ประมาณ 34.40 % ผลดีคือทำให้สุขภาพของผู้ผลิตดีขึ้นไม่ต้องเสียค่ายา (รักษาคน) สิ่งแวดล้อมก็ดีด้วย รายได้ก็เพิ่มกว่าพืชเคมีหากทำอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่องผลผลิตจะไม่ต่างกับการปลูกพืชโดยใช้สารเคมีเลย
ปลูกพืชหมุนเวียน หลังจากที่ทำการเก็บเกี่ยวพืชแรกไปแล้ว ไม่ควรปลูกพืชชนิดเดียวกับพืชแรเช่น ในแปลงที่ 1 ปลูกผักกาดเขียวปลีได้ผลผลิตดีหลักเก็บผลผลิตไปแล้วปลูกซ้ำอีก จะไม่ได้ผลเลย ควรปลูกสลับชนิดกัน เช่น ปลูกผักกาดเชียวปลี แล้วตามด้วยผักบุ้งจีน เก็บผักบุ้งจีนแล้วตามด้วยผักกาดหัว เก็บผักกาดหัวแล้วตามด้วยผักปวยเล้ง เก็บปวยเล้งตามด้วยตั้งโอ๋ ทำเช่นนี้ทุกๆ แปลงที่ปลูกแล้วจะได้ผลผลิตดี
การปลูกพืชอินทรีย์ ปลูกได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอนแต่จะต้องปลูกพืชสมุนไพรก่อนและต่อเนื่อง แล้วต้องปลูกพืชสมุนไพรสลับลงไปในแปลงพืชผักเสมอ แล้วต้องทำให้พืชสมุนไพรต่างๆ เกิดการช้ำ จะได้มีกลิ่น ไม่ใช่ปลูกเอาไว้เฉยๆ การปลูกพืชแนวตั้งคือ พืชที่ขึ้นค้าง เช่น ถั่วผักยาวมะระจีน ฯลฯ และแนวนอน คือ พืชผักต่างๆ คะน้า กระหล่ำปลี ปวยเล้ง ตั้งโอ๋ ฯลฯ ทุกพืชที่ปลูกในแปลงเกษตรอินทรีย์
การปลูกพืชสมุนไพรในแปลงเพื่อไล่แมลง ยังสามารถนำเอาพืชสมุนไพรเหล่านี้ไปขายเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย หลังจากทำการเก็บเกี่ยวพืชผักแล้วควรรีบทำความสะอาดแปลงไม่ควรทิ้งเศษพืชที่มีโรคแมลงไว้ในแปลง ให้รีบนำไปทำลายนอกแปลง ส่วนเศษพืชที่ไม่มีโรคแมลงก็ให้สับลงแปลงเป็นปุ๋ยต่อไป
หลักการปลูกพืชหลายชนิด
เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในไร่-นา ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชได้ เนื่องจากการปลูกพืชหลายชนิดจะทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีแหล่งอาหารที่หลากหลายของแมลงจึงมีแมลงหลายชนิดมาอาศัยอยู่ร่วมกัน
ในจำนวนแมลงเหล่านี้จะมีทั้งแมลงที่เป็นศัตรูพืชและแมลงที่เป็นประโยชน์ที่จะช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชให้คล้ายคลึงกับธรรมชาติในป่าที่อุดมสมบูรณ์นั่นเองมีหลายวิธีได้แก่ ปลูกดาวเรืองเพื่อไล่ไส้เดือนในดิน ปลูกผักหลายชนิด
• การปลูกพืชหมุนเวียน เป็นการไม่ปลูกพืชชนิดเดียวกันหรือตระกูลเดียวกัน ติดต่อกันบนพื้นที่เดิม การปลูกพืชหมุนเวียนจะช่วยหลีกเลี่ยงการระบาดของโรคและแมลง และเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงดิน
• การปลูกพืชแซม การเลือกพืชมาปลูกร่วมกัน หรือแซมกันนั้นพืชที่เลือกมานั้นต้องเกื้อกูลกัน เช่น ช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้อีกชนิดหนึ่ง ช่วยคลุมดิน ช่วยเพิ่มรายได้ก่อนเก็บเกี่ยวพืชหลัก เป็นต้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากระแสความด้านต้องการบริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์ ความต้องการผลผลิตทางการเกษตรในระบบเกษตรอินทรีย์ กำลังมีความต้องการและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ เกษตรกรเองก็อยากปลอดภัยจากสารเคมี ไม่มีใครอยากใช้สารเคมีเพราะอันตรายทั้งตนเองและผู้บริโภค แต่ถ้าไม่ใช้แล้วจะใช้อะไรทดแทน ปัญหาในการเพราะปลูกที่เกษตรกรพบมี 2 ประการใหญ่คือ เรื่อง ดินตาย หรือความไม่อุดมสมบูรณ์ของดินถ้าไม่ใช้ปุ๋ยเคมีแล้วจะใช้อะไรทดแทน และปัญหาของการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ถ้าไม่ใช้สารเคมีแล้วจะใช้อะไรทดแทน แนวทางที่จะปรับปรุงแก้ไขให้ดินตายกลับกลายเป็น ดินที่มีชีวิตสามารถเพาะปลูกพืชให้ได้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดีไม่ว่าจะเป็นพืชอะไรก็ตามและต้องเป็นแนวทางที่จะสามารถผลิตผลผลิต ที่ปลอดภัยจากสารพิษทางการเกษตร ทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม สามารถทำเป็นอาชีพได้อย่างยั่งยืน ซึ่งก็คือ แนวทางการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี แต่จะใช้ความสำคัญของดินเป็นอันดับแรก ด้วยการปรับปรุงดินให้มีพลังในการเพาะปลูก เหมือนกับดินในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ และใช้หลักการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมี โดยการนำทรัพยากรธรรมขาติที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นวิธีการที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อมไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค สามารถให้ผลผลิตที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพ เป็นระบบเกษตรที่มีความยั่งยืนเป็นอาชีพที่มั่นคงในระดับประเทศต่อไป
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร