ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ชีวโมเลกุล, ชีวโมเลกุล หมายถึง, ชีวโมเลกุล คือ, ชีวโมเลกุล ความหมาย, ชีวโมเลกุล คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
ชีวโมเลกุล

ชีวโมเลกุล

ชีวโมเลกุล (biomolecule) เป็นสารประกอบเคมีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในสิ่งมีชีวิต ชีวโมเลกุลประกอบด้วยธาตุเคมีพื้นฐานที่สำคัญ คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน นอกจากนี้อาจมีธาตุอื่นร่วมด้วยแต่น้อยมาก

ชีวโมเลกุลมีความจำเป็นสำหรับการดำรงอยู่ของชีวิต ตัวอย่างเช่นมนุษย์ มีผิวหนังและขน ส่วนประกอบหลักของขนคือเคอราติน (keratin) ที่เกิดจากการจับกลุ่มกันเป็นก้อนของโปรตีน ซึ่งตัวมันเองก็เป็นพอลิเมอร์ที่ถูกสร้างจากกรดอะมิโน โดยกรดอะมิโนนั้นเปรียบเสมือนก้อนอิฐที่สำคัญในธรรมชาติที่จะประกอบกันเป็นโมเลกุลใหญ่ รูปแบบของก้อนอิฐอีกตัวหนึ่งคือ นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนคือ

  • พูรีน (purine) หรือ ไพริมิดีน (pyrimidine) ซึ่งเป็นด่าง
  • น้ำตาล เพนโตส
  • ฟอสเฟตกรุป

นิวคลีโอไทด์เหล่านี้มีหน้าที่สร้าง กรดนิวคลีอิก (nucleic acid)

นอกจากชีวโมเลกุลขนาดใหญ่แล้ว ในสิ่งมีชีวิตก็ยังมีการสร้างโมเลกุลอินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางยาและสำคัญต่อการดำรงชีวิต



นิวคลีโอไซด์ และ นิวคลีโอไทด์

นิวคลีโอไซด์ และ นิวคลีโอไทด์

นิวคลีโอไซด์ เป็นโมเลกุลที่เกิดจากการเชื่อมต่อกันระหว่าง นิวคลีโอเบส (nucleobase) กับวงแหวน ไรโบส (ribose) ตัวอย่างเช่น

นิวคลีโอไซด์สามารถจะถูก ฟอสฟอริเลต โดยเอนไซม์ ไคเนส ใน เซลล์ และได้เป็น นิวคลีโอไทด์ ซึ่งจะเป็นโมเลกุลบิลดิ่งบล็อกของ DNA (deoxyribonucleic acid) และ RNA (ribonucleic acid).



ฮอร์โมน (Hormones)

         ฮอร์โมน ถูกผลิตใน ต่อมไร้ท่อ และถูกปลดปล่อยออกมาสู่กระแสเลือด มันมีหน้าที่หลากหลายในหลายอวัยวะประกอบด้วยการควบคุม เส้นทางการเผาผลาญ (metabolic pathway) และควบคุมกระบวนการขนส่งผ่านเมมเบรน
         ฮอร์โมน อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มโครงสร้างดังนี้:

  • สเตอรอยด์ (steroid) เป็นประเภทหนึ่งของฮอร์โมนที่มีหลายหน้าที่ และสเตอรอยด์ทุกตัวจะถูกผลิตจาก คอเลสเตอรอล
  • อะมีนธรรมดา หรือ กรดอะมิโน
  • เปปไทด์ หรือ โปรตีน


ที่มา :  ชีวโมเลกุล biomolecule  สสวท.



บทบาทของชีวโมเลกุลของเชลล์

บทบาทของชีวโมเลกุลของเชลล์

การทำงานต่างๆ ของเซลล์เกิดขึ้นได้จากการที่สารอนินทรีย์และสารอินทรีย์ทั้งหลายในเซลล์เกิดการดึงดูดกัน ชนกัน หรือเข้าทำปฏิกิริยาเคมีกัน โดยอาศัยการช่วยเหลือจากชีวโมเลกุลบางตัว รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ในร่างกาย ได้แก่ อุณหภูมิ ความเข้มข้นของสารละลาย และ pH ในการทำหน้าที่เป็นกลไกควบคุมการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้นให้เกิดขึ้นได้ภายใต้สภาวะของร่างกาย ซึ่งปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นนั้นไม่จำเป็นต้องใช้กรดด่างหรืออุณหภูมิที่สูงเกินไปดังเช่นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในหลอดทดลอง

          ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์แต่ละเซลล์ของร่างกายมีจำนวนนับร้อยนับพัน กระบวนการควบคุมที่แม่นยำและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบระเบียบเท่านั้นที่จะทำให้ปฏิกิริยาเคมีทั้งหลายในเซลล์สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ เกิดประโยชน์สูงสุดและโดยที่ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าที่สุด

           ในการทำงานของเซลล์นอกจากจะขึ้นอยู่กับการเข้าทำปฏิกิริยาของหมู่ฟังก์ชันของชีวโมเลกุลแล้ว การเปลี่ยนแปลงรูปร่าง 3 มิติ (conformational change) ของชีวโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่ก็ยังเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้การทำงานในเซลล์เกิดขึ้นได้ โดยไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงหมู่ฟังก์ชันเลย

 ชีวโมเลกุลในร่างกายสิ่งมีชีวิตมักรวมตัวอยู่กับโมเลกุลอื่นๆ เช่น เยื่อเซลล์มีโปรตีนแทรกตัวอยู่ในผืนลิพิดเป็นระยะๆ โปรตีนบางชนิดที่เยื่อเซลล์ยังมีคาร์โบไฮเดรตสายสั้นๆ เชื่อมต่ออยู่ด้วย ในโครโมโซมมีดีเอ็นเอรวมตัวกับโปรตีนฮิสโตนในสัดส่วนพอๆ กันและยังมีอาร์เอ็นเออยู่ด้วยในปริมาณเล็กน้อย ในกระดูกอ่อน เอ็น ผิวหนัง มีโปรตีนคอลลาเจนและอีลาสตินฝังตัวอยู่ในของเหลวข้นหนืดที่มีองค์ประกอบหลักเป็นคาร์โบไฮเดรต

          ในการดูลักษณะชีวโมเลกุลที่มีการรวมตัวกันเป็นโมเลกุลเชิงซ้อนที่มีขนาดใหญ่นั้น เราอาจเรียนรู้ได้โดยการใช้กล้องจุลทรรศน์หรือกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนดูภาพหลังจากการย้อมสีหรือการแช่ให้แข็ง

          แต่ในการศึกษาหน้าที่การทำงานของชีวโมเลกุลหรือการศึกษาปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ในสิ่งมีชีวิต เราจำเป็นต้องเรียนรู้จากโมเลกุลที่แยกออกมาเป็นอิสระและโดยที่ต้องอยู่สภาวะธรรมชาติด้วย

          แต่เนื่องจากโครงสร้างของชีวโมเลกุลย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม ในการศึกษาโครงสร้างของโมเลกุล นักวิทยาศาสตร์จึงต้องกำหนดสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจนเลียนแบบสภาพความมีชีวิต เช่น กำหนด pH ความเข้มข้นของสารละลาย หรืออุณหภูมิที่แน่นอน ชีวโมเลกุลที่แยกออกมาเป็นอิสระจึงจะมีความสามารถในการทำงานใกล้เคียงกับชีวโมเลกุลที่อยู่ในสิ่งมีชีวิต



ประเภทของชีวโมเลกุล

ชีวโมเลกุลขนาดต่างๆ ที่พบในธรรมชาติมีดังนี้:

  • โมเลกุลขนาดเล็ก:
    • ไลปิด, ฟอสโฟไลปิด, ไกลโคไลปิด, สเตอรอล
    • ไวตามิน
    • ฮอร์โมน, นิวโรทรานสมิตเตอร์
    • คาร์โบไฮเดรต, น้ำตาล
    • ไดแซคคาไรด์
  • โมโนเมอร์:
    • กรดอะมิโน
    • นิวคลีโอไทด์
    • ฟอสเฟต
    • โมโนแซคคาไรด์
  • พอลิเมอร์:
    • เปปไทด์, โอลิโกเปปไทด์, พอลิเปปไทด์, โปรตีน
    • กรดนิวคลีอิก, ได้แก่ DNA, RNA
    • โอลิโกแซคคาไรด์, พอลิแซคคาไรด์
  • แมคโครโมเลกุล:
    • พรีออน (Prion)
    • เอนไซม์


แซคคาไรด์ (Saccharides)

โมโนแซคคาไรด์ เป็นคาร์โบไฮเดรตในรูปน้ำตาลธรรมดาที่สุด (simple sugars) ไดแซคคาไรด์ เกิดจากการรวมตัวกันของ โมโนแซคคาไรด์ 2 โมเลกุล โมโนแซคคาไรด์ และ ไดแซคคาไรด์ เป็นผลึกที่มีรสหวานและละลายน้ำได้ดี

  • ตัวอย่างของ โมโนแซคคาไรด์ คือ
  1. เฮกโซส (hexose) ได้แก่
    1. กลูโคส (glucose)
    2. ฟรุกโตส (fructose)
    3. แกแลคโตส (galactose)
  2. เพนโตส (pentose) ได้แก่
    1. ไรโบส (ribose)
    2. ดีออกซิไรโบส (deoxyribose)
  • ตัวอย่างของ ไดแซคคาไรด์ คือ
  1. ซูโครส (sucrose)
  2. มอลโตส (maltose)
  3. แลคโตส (lactose)

พอลิแซคคาไรด์ เป็นการเชื่อมต่อกันของโมเลกุล โมโนแซคคาไรด์ เป็นสารประกอบซับซ้อนคาร์โบไฮเดรตที่ไม่มีรสหวาน เป็นโมเลกุล ขนาดใหญ่ที่มีกิ่งก้านสาขาเชื่อมต่อ ไม่ละลายน้ำ ไม่เป็นผลึก

  • ตัวอย่างของ พอลิแซคคาไรด์ คือ
  1. แป้ง (starch)
  2. เซลลูโลส (cellulose)
  3. ไกลโคเจน (glycogen)

พอลิแซคคาไรด์ สั้นที่มี 2-15 โมเลกุลเชื่อมต่อกันเรียกว่า โอลิโกแซคคาไรด์ (oligosaccharide)



ไลปิด (Lipids)

          ไลปิด โดยหลักๆ แล้วคือ กรดไขมัน เอสเตอร์ และเป็นบิลดิ่งบล็อกพื้นฐานของ เซลล์เมมเบรนหน้าที่ทางชีววิทยาอื่นๆคือ เป็นที่เก็บพลังงาน (เช่น, ไตรกลีเซอไรด์) ไลปิดส่วนใหญ่ประกอบด้วย หัวโพลาร์ หรือ ไฮโดรฟิลิก และ 1-3 หางของกรดไขมันที่เป็น นอน-โพลาร์ หรือ ไฮโดรโฟบิกและดังนั้นมันจึงเป็น แอมฟิฟิลิก (amphiphilic) กรดไขมัน ประกอบด้วยโซ่ของคาร์บอนอะตอมที่ไม่มีสาขาที่เชื่อมต่อกันโดนพันธะเดี่ยว (single bonds) เท่านั้น (กรดไขมันชนิด อิ่มตัว(saturated)) หรือ ทั้งพันธะเดี่ยวและ พันธะคู่ (double bond) (กรดไขมันชนิด ไม่อิ่มตัว (unsaturated)) โซ่นี้จะมีคาร์บอนกรุปประมาณ 14-24

สำหรับไลปิดที่มีอยู่ในเมมเบรนทางชีวภาพ หัวไฮโดรฟิลิกจะเป็น หนึ่งในสามกลุ่มข้างล่างนี้:

  • ไกลโคไลปิด (Glycolipid), หัวของมันจะประกอบไปด้วย โอลิโกแซคคาไรด์ (oligosaccharide)

ซึ่งมีส่วนที่เป็นแซคคาไรด์อยู่ประมาณ 1-15 หน่วย

  • ฟอสโฟไลปิด (Phospholipid), หัวของมันจะมีกลุ่มประจุบวกที่เชื่อมต่อกับหางที่เป็นประจลบของฟอสเฟตกรุป
  • สเตอรอล (Sterol) ซึ่งส่วนหัวของมันจะมีวงแหวนพลานาร์สเตอรอยด์ (planar steroid ring) ตัวอย่างเช่นคอเลสเตอรอล

ชีวโมเลกุล, ชีวโมเลกุล หมายถึง, ชีวโมเลกุล คือ, ชีวโมเลกุล ความหมาย, ชีวโมเลกุล คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu