สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ มีฐานันดรเมื่อแรกพระราชสมภพคือ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์กิติยากร เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของพลเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๗๕ ที่บ้านเลขที่ ๑๘๐๘ ถนนพระรามหก ตำบล วังใหม่ อำเภอ ปทุมวัน จังหวัดพระนคร ซึ่งเป็นบ้านของ พลเอก เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) พระบิดาของหม่อมหลวงบัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานนามว่า “สิริกิติ์” มีความหมายว่า “ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร”
เมื่อแรกทรงพระราชสมภพนั้น บ้านเมื่องอยู่ในระยะแรกของการปกครองจากระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย พระบิดาซึ่งขณะนั้นมียศเป็น พันเอก หม่อมเจ้านักขัตรมงคลกิติยากร ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ต้องทรงออกราชการทหาร โดยรัฐบาลแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่ง เลขานุการเอกประจำสถานทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี. ชี. สหรัฐอเมริกา ดังนั้นในวัยเยาว์เมื่อแรกเกิดหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ จึงต้องอยู่ในความดูแลของ เจ้าพระยาวงศานุประพันธ์ และ ท้าววนิดาพิจาริณี บิดามารดาของหม่อมหลวงบัว บางครั้งพระองค์ต้องทรงติดตามพระราชวงศ์ไปในต่างจังหวัด เช่น หม่อมเจ้าอัปสรสมาน กิติยากร พระมารดาของ หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ทรงรับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ นัดดา ตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปจังหวัดสงขลา
ปลายปี พ.ศ. ๒๔๗๘ เมื่อ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์มีอายุ ๓ ขวบ จึงมีโอกาสอยู่ร่วมพร้อมกันทั้งครอบครัว เนื่องจากพระบิดา ทรงลาออกจากราชการเสด็จกลับประเทศไทย จึงทรงรับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ หม่อมราชวงศ์อดุลยกิติ์ พระเชษฐา และ หม่อมราชวงศ์บุษบา พระขนิษฐา ที่ตำหนักริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปลายถนนผดุงกรุงเกษม เทเวศร
การศึกษา
หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ทรงเริ่มรับการศึกษาชั้นอนุบาล ที่โรงเรียนราชินี ปากคลองตลาด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ ต่อมาเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาจังหวัดพระนครเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ถูกโจมตีทิ้งระเบิดทางอากาศ จึงทรงย้ายมาเรียนที่ โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์ คอนแวนต์ ถนนสามเสน ซึ่งอยู่ใกล้บ้านในระยะที่เดินไปโรงเรียนได้ การที่ต้องทรงเผชิญสภาวการณ์บ้านเมื่องในยามสงครามโลก ซึ่งเป็นสภาวะผันผวนไม่สะดวกสบายตั่งแต่ยังทรงพระเยาว์ และพระบิดาทรงเป็นทหาร จึงทรงได้รับการอบรมในเรื่องวินัย ความอดทน ความเสียสละ ทำให้ทรงสั่งสมประสบการณ์เป็นพื้นฐานชีวิตที่แข็งแกร่งมาตั่งแต่ทรงพระเยาว์
เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพาสงบแล้ว หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐทูตวิสามัญ และอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำสำนักเซ็นต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้ติดตามครอบครัวไปพำนัก ณ ประเทศ อังกฤษ ตั้งพระทัยจะเรียนเปียโนภาษาอังกฤษ และภาษา ฝรั่งเศส แต่ต่อมา ต้องทรงย้ายติดตามพระบิดาไปพำนัก ณ ประเทศเดนมาร์ก ประเทศฝรั่งเศสทรงมุ่งมั่นจะเป็นนักเปียโนและทรงประสงค์จะเข้าศึกษาที่วิทยาลัยดนตรีที่มีชื่อเสียงของกรุงปารีส
ใน พ.ศ. ๒๔๙๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งทรงศึกษาอยู่ที่เมื่องโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และโปรดเสด็จไปทอดพระเนตรโรงงานทำรถยนต์ที่กรุงปารีส จึงทรงพบ ทรงคุ้นเคย และทรงต้องพระราชอัธยาศัยกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ จึงทรงโปรดเกล้าฯให้ หม่อมหลวงบัว นำธิดาทั้งสองไปเยี่ยมพระอาการที่กรุงโลซานน์ และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระราชชนนี ได้รับสั่งขอให้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ มาอยู่ศึกษาต่อที่เมื่องโลซานน์ โดยเข้าศึกษาที่โรงเรียนประจำ Riante Rive มีชื่อเสียงในการสอนวิชา ภาษา ศิลปะดนตรี ประวัติวรรณคดี และประวัติศาสตร์
วันที่ ๑๙ กรกฏาคม ๒๔๙๒ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงหมั้นกับ หม่อมราชวงศ์สิริกิต์ โดยทรงใช้พระธำมรงค์วงที่สมเด็จพระราชบิดา(สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชนก) ทรงหมั่น สมเด็จพระราชชนนี (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี)
พระราชกรณียกิจ
ตลอดระยะเวลาแห่งการดำรงพระอิสริยยศ ”พระราชินี”จนถึง “สมเด็จพระบรมราชินีนาถ”ได้ทรงปฏิบัติภารกิจน้อยใหญ่นานัปการ ทั้งในฐานะ “พระผู้เป็นที่พึ่งของปวงชนชาวไทย” และในฐานะ “คู่บุญคู่พระราชหฤทัย” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงช่วยแบ่งเบาพระราชภารกิจในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อานาประชาราษฏร์ ทั้งโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์เอง ไปทรงเยี่ยมราษฎรในชนบท ทั่วทุกภูมิภาค แม้ตรากตรำพระวรกาย เนื่องจากการคมนาคมในสมัยนั้น ยังไม่สะดวกสบายเหมือนในปัจจุบัน ก็มิได้ย่อท้อ
ในด้านความมั่งคงของประเทศ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมทหารที่ปฎิบัติการสู้รบต่อสู้ผู้ก่อการร้ายตามชายแดนถึงฐานปฏิบัติการต่าง ๆ แม้เป็นที่เสี่ยงภยันตราย ก็ทรงพระอุตสาหะเสด็จไปทรงดูแลทุกข์สุก ปลอบขวัญถึงฐานปฎิบัติการต่าง ๆเป็นขวัญกำลังใจให้ทหารต่อสู้ปกป้องผืนแผ่นดิน นำความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่อาณาประชาชน ให้สามารถทำมาหากินได้อย่างสงบสุข ตราบจนต่อมา ภัยจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ก็สลายลง ด้วยเดชะพระบารมีแห่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
พระราชกรณียกิจในสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินนาถ มีกว้างขวางครอบคุมสาขาต่าง ๆ ทั้งด้านการศึกษา การศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การแพทย์และสาธารณสุข การต่างประเทศ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ อีกมากมาย
ในด้านการศึกษา ทรงมีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนหลายหลายรูปแบบ เช่น ทรง พระอุตสาหะสอนหนังสือราษฏรด้วยพระองค์เอง พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนการศึกษาแก่เยาวชนจากครอบครัวที่ยากจน ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียนทรงรับไว้เป็นนักเรียนในพระบรมราชานุเคราะห์ ส่วนบิดามารดาพี่น้องของเด็ก ก็โปรดเกล้าฯให้เข้ารับการฝึกอบรมพระราชทานความช่ายเหลือให้ปรับปรุงการประกอบอาชีพให้เป็นผล หรือให้มีความรู้เป็นอาชีพเสริมเพิ่มพูนรายได้สามารถช่วยตนเองและครองครัวให้ดำรงชีวิตเป็นสุขตามอัตภาพ โดยใช้วัตถุดิบพื้นบ้านมาทำประโยชน์ เช่น หัตถกรรมจักสานของโครงการหุบกะพง โครงการจักสานย่านลิเพา และทำเครื่องปั่นดินเผาในภาคใต้ ทั้งยังโปรดเกล้าฯให้สอดแทรกเรื่อง ความรักชาติ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การรักษาศิลปวัฒธรรมท้องถิ่น และ ประเทศ การรู้จักรักษาสุขภาพอนามัย การรู้จักพัฒนาตนเอง การเห็นความสำคัญของการศึกษาและการช่วยเหลือร่วมมือกับส่วนรวม พร้อมทั้งให้ทุกคนตระหนักว่า ตนเป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวม ต้องบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์เพื่อความเจริญพัฒนาของภูมิภาค นอกจากนั้น ยังทรงอุปถัมภ์บำรุงงานด้านการศึกษาอื่น ๆ เช่น ทรงรับมูลนิธิด้านการศึกษาไว้ในพระราชินูปถัมภ์ พระราชทานพระราชทรัพย์แก่โรงเรียนที่สอนเด็กปัญญาอ่อน เรียนช้าและพิการช่ำช้อน ทรงสนับสนุนก่อตั่งและขยายโรงเรียนในท้องถิ่นทุรกันดาร ทรงส่งเสริมให้ราษฎรศึกษาด้วยตนเองโดยก่อตั่ง “ศาลารวมใจ” มีลักษณะเป็นห้องสมุด และ ศูนย์ศึกษาหาความรู้ต่าง ๆ รวมทั้งศูนย์รักษาพยาบาลเบื้องต้น
พระมหากรุณาธิคุณมิได้แผ่ปกป้องเฉพาะปวงชนชาวไทย หากแต่ยังทรงแผ่ปกไปถึงประชาชนของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ชาวกัมพูชาอพยพลี้ถัยเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในแดนไทย แถบจังหวัดตราด จันทบุรี และปราจีนบุรี มีพระราชศรัทธาและพระราชปณิธานแน่วแน่ที่จะทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขผู้คนที่ตกทุกข์ได้ยาก โดยมิได้ทรงเลือกเชื้อชาติ ศาสนา หรือ เผ่าพันธุ์พระปรีชาสามารถและพระวิริยะอุตสาหะที่ทรงทุ่มเทอุทิศกำลังพระวรกาย พระสติปัญญา พระราชทรัพย์ในพระราชกรณียกิจต่าง ๆเพื่อเกื่อกูลประโยชน์สุขของพสกนิกรนั้น ได้ดื่มด่ำอยู่ในหัวใจคนไทยทั้งชาติ และหยั่งลึกลงเป็นรากฐานแห่งความจงรักภักดีต่อพระบรมราชจักรีวงศ์เป็นผลให้เกิดความมั่งคง และนำศานติสุขมาสู่ปวงชนชาวไทย
สถาบัน องค์กร มหาวิทยาลัย หน่วยงานต่างๆ จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ โล่เฉลิมพระเกียรติ รางวัล และประกาศเกียรติคุณต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น องค์กรค์การเอฟเอโอ ทูลเกล้าฯถวายเหรียญ ซีเรส เทิดพระเกียรติในฐานะที่ทรงยกฐานะของสตรีให้มีระดับสูงขึ้นและทรงเป็นผู้ “ให้โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง” มหาวิทยาลัยทัฟฟ แห่งรัฐแมสซาซูเซ็ทท์ สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยธรรม ในฐานะที่ทรงยกระดับฐานะการครองชีพของประชาชน และช่วยบรรเทาทุกข์ของเด็กๆในหมู่ผู้ลี้ภัย สหพันธ์เด็กแห่งนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯถวายรางวัลบุคคลดีเด่นด้านพิทักษ์เด็ก สถาบันเอเชียโซไซตี้ แห่งกรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯถวายรางวัลด้านมนุษยธรรม มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าของโลก สดุดีทิดพระเกียรติในฐานะบุคคลดีเด่นด้านอนุรักษ์สัตว์ป่า ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ แห่งอังกฤษ ได้ทูลเกล้าฯถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์ ซึ่งสถาบันแห่งนี้เคยมอบให้แต่เฉพาะผู้ที่เป็นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นเป็นที่รู้จักระดับโลกเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีมหาวิทยาลัยและสถาบันอื่นๆ อีกมากมายที่ทูลเกล้าฯถวายปริญญา และรางวัลประกาศกิตติคุณแด่พระองค์ท่าน
นับได้ว่า เป็นบุญของชาติและประชาชนชาวไทย ที่มีสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ เพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะแห่งรัตนนารีโดยแท้ พระองค์มิได้ทรงเป็นพระบรมราชินีที่มีพระสิริโฉมเป็นเลิศเท่านั้น หากแต่ยังทรงพระปรีชาเชี่ยวชาญในกิจการต่างๆ ซึ่งปรากฏผลเป็นที่ประจักษ์แก่ปวงชนโดยตลอด ทรงยึดมั่นในพระบวรพระพุทธศาสนา พระคุณธรรม พระปัญญาคุณ และพระเมตตากรุณาคุณ ซึ่งทรงดำรงไว้มั่นคงตลอดมา เป็นปัจจัยส่งเสริมให้พระเกียรติคุณขจายขจรไปทั่วในประเทศและนานาประเทศทั่วโลก อาจกล่าวได้ว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ของชาติไทย เป็นพระบรมราชินีที่ทรงได้รับการสรรเสริญพระเกียรติคุณจากนานาประเทศอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าพระบรมราชินีพระองค์อื่นใดในโลก
ข้อมูลจาก www.sakulthai.com
พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้ตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นิวัติประเทศไทยเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล แล้วได้เข้าสู่พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๓ ณ วังสระปทุม สมเด็จพระสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (พระราชมารดาของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก)
ทรงเป็นประธาน พระราชทานน้ำพระพุทธมนต์ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้ทรงจดทะเบียนสมรส ตามกฏหมายด้วย และในวันนั้น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชินี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ตามฐานะและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลี้ยงฉลองมงคลราชาภิเษกสมรสเป็นการภายใน ระหว่างพระญาติสนิทและข้าราชบริพารที่ใกล้ชิดประมาณ ๒๐ คน กล่าวได้ว่า เป็นมงคลสมรมที่ประหยัดโดยทรงรักษาส่วนที่เป็นราชประเพณีสำคัญไว้ครบถ้วนและรุ่งขึ้นหลังจากวันพระราชพิธีแล้ว ในวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๔๙๓ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล หัวหิน ๓ วัน ซึ่งกล่าวได้ว่า เป็นการไปดื่มน้ำผึ่งพระจันทร์ ที่ไม่เป็นการฟุ่มเฟือยเช่นกัน
“ จักรีบรมราชอิสริยาภรณ์ ประกาศเกียรติมหิสรมเหสี
สมเด็จพระราชินี โดยความยินดีแห่งปวงชน
นับแต่กาลพิธีนี้แล้ว พระคือดวงแก้วพิพิธผล
สว่างโรจน์โชติคู่ พระภูมิพล ร้อยรวมจิตชนชาวไทย”
ครั้งเมื่อถึงวันที่ ๕ พฤษถาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามโบราณขัตติยราชประเพณี เฉลิมพระบรมนามาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ และได้ทรงสถาปนาเฉลิมพระยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น “ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินี”
ต่อมา เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๓ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ได้ตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กลับประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากแพทย์ผู้รักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กราบบังคมทูลแนะนำให้ทรงพักรักษาพระองค์อีกระยะหนึ่ง ใน พ.ศ. ๒๔๙๔ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา ฯ ณ เมื่องโลซานน์เมื่อพระชนมายุได้ ๗ เดือน ทั้งสามพระองค์ได้เสด็จนิวัติประเทศไทย ระหว่างที่กำลังซ่อมบูรณะพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อใช้เป็นที่ประทับถาวร ได้ประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิต ซึ่งต่อมา สมเด็จพระบรมราชินีพระประสูติกาล พระราชโอรส พระราชธิดา อีก ๓ พระองค์ คือ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
รวมพระราชโอรสและพระราชธิดารวม ๔ พระองค์
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชศรัทธาเสด็จออกทรงพระผนวชในพระบวรพระพุทธศาสนา ตามโบราณราชประเพณี ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจทั้งปวงลุล่วงเรียบร้อย เมื่อทรงลาผนวชแล้ว จึงทรงพระกรุณาสถาปนาพระอิสริยยศสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี เป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” มีความหมายว่า “พระบรมราชินี ผู้เป็นที่พึ่งของประชาชน” จึงนับเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระองค์ที่สองของประวัติศาสตร์ชาติไทย