ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

พระสมเด็จ, พระสมเด็จ หมายถึง, พระสมเด็จ คือ, พระสมเด็จ ความหมาย, พระสมเด็จ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 3
พระสมเด็จ

          ผู้สร้างคือ สมเด็จพระพุฒาจารย ์(โต) พรหมรังสี เป็นพระเครื่องทีมีอายุการสร้างน้อยที่สุดในบรรดาเบญจภาคีด้วยกัน พระสมเด็จวัดระฆัง สร้างในสมัยรัชกาลที่4 ที่วัดระฆังโฆษิตาราม กรุงเทพฯ "สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่" จัดได้ว่าเป็นสุดยอดพระเครื่องตลอดกาล หรือ "จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง" อีกทั้งเป็นสุดยอดความปรารถนา ที่จะได้ไว้ในครอบครองของบรรดาเหล่าผู้นิยมพระเครื่อง หรือนักสะสมของเก่าทั้งหลาย จัดได้ว่า เป็นของล้ำค่าชิ้นหนึ่งทีเดียว เหตุที่สร้างขึ้นมาก็เพื่อเป็นการสืบทอดพระศาสนาตามเยี่ยงโบราณกาล นอกจากนี้ยังมี พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม ,พระสมเด็จวัดเกศไชโยวรวิหาร ก็เป็นที่นิยมไม่แพ้กัน

          " พุทธคุณ เมตตามหานิยม แคล้วคลาดภัยภิบัติ คงกระพัน โชคลาภ"



สมเด็จวัดระฆัง

          สมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ จัดได้ว่าเป็นสุดยอดพระเครื่องตลอดกาล อีกทั้งเป็นสุดยอดความปรารถนาที่จะได้ไว้ในครอบครองของบรรดาเหล่าผู้นิยมพระเครื่อง หรือนักสะสมของเก่าทั้งหลาย ปรารภได้ว่าเป็น "จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง"เลยทีเดียว แถมเป็นองค์ประธานสำหรับ "ชุดเบญจภาคี" อีกด้วย

          ผู้สร้าง : สมเด็จพระพุฒจารย์ ( โต พรหมรังสี ) 
          สร้าง : ปี พ.ศ.2409 ในสมัย รัชกาลที่4 ณ.วัดระฆังโฆษิตาราม 
          พุทธศิลปะ : สมัยรัตนโกสินทร์
          ขนาด :  ประมาณ - ฐาน ๒.๕ ซ.ม. , สูง ๓.๖ ซ.ม. , หนา ๐.๕ ซ.ม.
          พุทธลักษณะ : องค์พระนั่งปางสมาธิ ประทับบนฐาน ๓ ชั้น สถิตภายในซุ้มเรือนแก้ว 
          พระพุทธคุณ : เมตตามหานิยม แคล้วคลาดภัยพิบัติ คงกระพัน โชคลาภ ฯลฯ

พระสมเด็จวัดระฆังฯ ตามความนิยมในวงการพระเครื่อง มี ๕ พิมพ์ด้วยกันคือ 
          ๑. พิมพ์ใหญ่ 
          ๒. พิมพ์ทรงเจดีย์ 
          ๓. พิมพ์ฐานแซม 
          ๔. พิมพ์เกศบัวตูม 
          ๕. พิมพ์ปรกโพธิ์ ( พิมพ์นี้มีน้อย จนหนังสือ บางเล่มไม่ได้กล่าวถึง ) 

หลักการดูพระสมเด็จวัดระฆัง
          • จำพิมพ์ให้แม่น พระสมเด็จวัดระฆัง จะมี ๕ พิมพ์ คือ พิมพ์พระประธาน ทรงเจดีย์ เกศบัวตูม ฐานแซม และปรกโพธิ์ 
          • ดูจากของจริง และเปรียบเทียบกับ พระพิมพ์สมเด็จอื่นๆ เพื่อดูจุดต่าง 
          • ดูเนื้อ และมวลสาร ส่วนผสมของ พระสมเด็จวัดระฆัง เกิดจาก การนำหินปูน มาเผาไฟ ทุบป่นให้แตกละเอียด เหมือนแป้ง ผสมกับ น้ำมันตังอิ๊วของจีน และมวลสารมงคลต่างๆ อาทิ เม็ดชาด เม็ดพระธาตุ เกสรดอกไม้แห้ง ข้าวสุก เนื้อพระสมเด็จ จึงมักมี มวลสาร ปรากฏให้เห็น และมักจะมีรอยปูไต่
 
ข้อมูลจาก : เบญจภาคีดอทคอม
ข้อมูลและภาพจาก : ชมรมพระเครื่องมณเฑียรพลาซ่า



สมเด็จบางขุนพรหม

ผู้สร้าง : "เสมียนตราช้าง" ผู้เป็นต้นตระกูล "ธนโกเศศ" โดยได้นิมนต์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) จากวัดระฆัง เป็น ประธานฝ่ายสงฆ์  ร่วมปลุกเสกโดยได้บรรจุลงกรุไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ ณ วัดใหม่อมตรส เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๓ จำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์
ศิลปสกุลช่าง : สกุลช่างสิบหมู่ ช่างหลวง ยุครัตนโกสินทร์ ควบคุมการสร้างโดย หลวงวิจารเจียรนัย
อายุการสร้าง : สร้างประมาณปี พ.ศ. ๒๔๑๓ ก่อนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มรณภาพ ๒ ปี
องค์ประกอบพระ : มีการรวบรวมผงพุทธคุณต่าง ๆ และผงอันเป็นมงคล ผสมรวมกัน เช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง โดยมีปูนเปลือกหอยเป็นวัสดุหลัก ที่มีเนื้อหามวลสารต่างจากสมเด็จวัดระฆัง เพราะว่าเป็นการสร้างต่างวาระ อายุการสร้างต่างกัน และจำนวนสูตรผสมที่แตกต่างกันด้วย
ลักษณะวรรณะพระ : เป็นพระเนื้อผงสีขาว มีทั้งเนื้อหยาบและละเอียด ถ้าขึ้นจากกรุก่อนจะมีคราบกรุน้อย ถ้าขึ้นภายหลังจะมีคราบมาก จับตามองค์พระ คราบกรุจะมีลักษณะคล้ายฟองเต้าหู้แข็งหลุดล่อนได้ยาก
พุทธลักษณะ : เป็นพระปางสมาธินั่งประทับบนฐานสามชั้นภายในเส้นซุ้มครอบแก้ว  ลักษณะโดยรวมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดประมาณ  ๒.๒ ซม X ๓.๕ ซม
จำแนกพิมพ์ : พระสมเด็จบางขุนพรหม มีพิมพ์ที่รู้จักกันทั่วไป ๙ พิมพ์คือ
          ๑. พิมพ์ใหญ่ หรือพิมพ์พระประธาน
          ๒. พิมพ์ทรงเจดีย์ 
          ๓. พิมพ์ฐานแซม 
          ๔. พิมพ์เกศบัวตูม 
          ๕. พิมพ์เส้นด้าย 
          ๖. พิมพ์สังฆาฏิ พระพิมพ์นี้ยังแบ่งออกเป็น
               ๖.๑  พระพิมพ์สังฆาฏิ มีหู
               ๖.๒  พระพิมพ์สังฆาฏิ ไม่มีหู
          ๗. พิมพ์อกครุฑ 
          ๘. พิมพ์ฐานคู่ 
          ๙. พิมพ์ปรกโพธิ์ พระพิมพ์นี้มีจำนวนน้อยที่สุด ทำให้ค่อนข้างขาดความนิยมไป  มีผลทำให้มีราคาค่านิยมน้อยที่สุดด้วย
ด้านหลังองค์พระ พระสมเด็จบางขุนพรหม มีด้านหลังเรียบเหมือนพระวัดระฆัง ในองค์ที่ได้ตอนเปิดกรุ ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ และยังสมบูรณ์อยู่ จะมีตรายางของวัดประทับให้เห็น 

ข้อมูลจาก : บ้านพระดอทคอม



สมเด็จวัดเกศไชโย

          ผู้สร้างมีความเชื่อกันว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นผู้สร้างเพื่อบรรจุในพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ท่านสร้าง ณ   วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง เพื่อสืบทอดพระศาสนา ศิลปสกุลช่าง  เป็นช่างราษฎร์ ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยได้รับคำแนะนำ วิธีการสร้างให้พระออกมาสวยงามคงทน โดยขุนวิจารณ์เจียรนัย จากการสันนิษฐานทราบว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างพระพุทธพิมพ์สี่เหลี่ยมบนฐานต่างชั้นกัน ที่เรามาเรียกภายหลังว่า พระสมเด็จเกศไชโยนี้ ประมาณปี พ.ศ.๒๔๐๔ เพื่อบรรจุลงในพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ณ วัดไชโยวรวิหาร แต่พระพุทธรูปเกิดพังทลายขึ้นมาก่อนที่จะบรรจุพระเครื่อง   จึงได้มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาใหม่ แล้วบรรจุพระเครื่องลงไป เมื่อประมาณปีพ.ศ. ๒๔๐๖ - ๒๔๐๗ หากการบรรจุครั้งนั้น ไม่ครบจำนวนตามที่ตั้งความประสงค์ไว้ จึงมีการนำพระสมเด็จวัดระฆังมารวมบรรจุด้วย แต่มีจำนวนน้อยมาก 
          องค์ประกอบพระ ตามบันทึกคำกล่าวของพระธรรมถาวร (ลูกศิษย์สมเด็จโต) กล่าวว่า " เนื้อที่ใช้สร้างพระสมเด็จนั้น แต่เดิมใช้ผงวิเศษ ๕ ประการ ผงเกสรดอกไม้   ปูนขาวและข้าวสุกเท่านั้น ซึ่งเมื่อถอดพิมพ์และตากแห้งแล้ว ปรากกฏว่าเนื้อพระจะร้าวและ แตกหักเป็นจำนวนมากเพราะความเปราะ ต่อมาเจ้าประคุณสมเด็จโต ได้ทดลองใช้ กล้วยหอมจันทน์ และกล้วยน้ำว้าทั้งเนื้อและเปลือกผสมโขลกลงไปด้วย เมื่อเนื้อพระแห้งแล้วก็มีสีเหลืองนวลขึ้น การแตกร้าวลดลงแต่ก็ยังไม่ได้ผลทีเดียว ต่อมา เจ้าประคุณสมเด็จโต ได้ทดลองใช้น้ำมันตังอิ้ว ตามคำแนะนำของหลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างทองในราชสำนัก   สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ผลดีขึ้นจริง 
          ลักษณะวรรณะพระสมเด็จวัดเกศ เป็นพระที่มีวรรณะหลายสี เช่น ขาวแป้ง ขาวนวล สีเทา และมีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด พุทธลักษณะเป็นพระพุทธประทับนั่งสมาธิขัดราบ บนฐานต่าง ๆ กัน คือฐาน ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๖ ชั้น ๗ ชั้น และเป็นพระพุทธนั่งสมาธิภายใต้ใบโพธิ์ หรือที่เราเรียกว่า ปรกโพธิ์ จำแนกพิมพ์ออกได้เป็น ๒๐ พิมพ์ โดยประมาณดังนี้

          ๑. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์นิยม ๗ ชั้น 
          ๒. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์เล็ก 
          ๓. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์หูประบ่า 
          ๔. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์แขนกลม 
          ๕. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์เข่าโค้ง
          ๖. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์แข้งหนอน 
          ๗. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์ไหล่ตรง 
          ๘. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์แขนดิ่ง 
          ๙. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์เศียรกลม 
          ๑๐. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์อกตัน 
          ๑๑. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์ต้อ 
          ๑๒. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์ปรกโพธิ์ 
          ๑๓. พิมพ์ ๖ ชั้น พิมพ์ใหญ่ เอ 
          ๑๔. พิมพ์ ๖ ชั้น พิมพ์ใหญ่ บี 
          ๑๕. พิมพ์ ๖ ชั้น พิมพ์ล่ำ 
          ๑๖. พิมพ์ ๖ ชั้น พิมพ์ไหล่ตรง 
          ๑๗. พิมพ์ ๖ ชั้น พิมพ์อกตัน 
          ๑๘. พิมพ์ ๖ ชั้น พิมพ์อกตอด 
          ๑๙. พิมพ์ ๕ ชั้น
          ๒๐. พิมพ์ตลก 
          ด้านหลังองค์พระเป็นพระหลังเรียบ

ข้อมูลจาก เบญจภาคีดอทคอม


พระสมเด็จ, พระสมเด็จ หมายถึง, พระสมเด็จ คือ, พระสมเด็จ ความหมาย, พระสมเด็จ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu