ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

โรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis ), โรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis ) หมายถึง, โรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis ) คือ, โรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis ) ความหมาย, โรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis ) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
โรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis )

          เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus suis ในสกุล Streptococcus ในตระกูล Streptococcaeae ย้อมติดสี แกรมม่า รูปกลม ถูกจัดอยู่ใน Lancefield กลุ่ม D, R หรือ S สามารถสร้างแคปซูลและสลายเม็ดเลือดแดง มีการจัดแบ่งเชื้อตามลักษณะของ Capsular Antigen เป็นซีโรไทป์ (Serotype) ต่าง ๆ ถึง 29 Serotypes ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงในการก่อโรคของเชื้อแต่ละซีโรไทป์จะแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับสาร Muramidase-released protein (MRP) และ Extracellular protein (EP) ซึ่งพบว่า ซีโรไทป์ที่มีความรุนแรงสูงในการก่อโรคในคนคือ Serotype 2 และ 1 ตามลำดับ

          เชื้อแบคทีเรีย Streptococus suis เป็นเชื้อที่อยู่ในโพรงจมูกและต่อมน้ำลายของหมู เชื้อดังกล่าวพบได้ในหมูทั่วไปจนกลายเป็นเชื้อประจำถิ่น เมื่อหมูอยู่ในภาวะเครียด เช่น อยู่ในที่แออัด อากาศชื้นหรือหนาวจากฝนตกหนัก ภูมิคุ้มกันของหมูจะลดลง เชื้อดังกล่าวจึงฉวยโอกาสเข้าสู่กระแสเลือดทำให้หมูป่วยหรือตาย ส่วนเชื้อดังกล่าวเข้าสู่คนได้ 2 วิธี คือ เมื่อร่างกายคนมีแผลไปจับต้องหมูและกินเนื้อหมูหรือเลือดสด



การป้องกันและควบคุมโรค

           เนื่องจากเชื้อนี้มีสุกรเป็นสัตว์พาหะนำโรคซึ่งมักไม่แสดงอาการป่วย ดังนั้นการเลี้ยงดูสุกรให้อยู่ในสภาวะสุขาภิบาลที่ดี เช่น ไม่เลี้ยงให้อยู่กันอย่างแออัด อากาศในโรงเรือนถ่ายเทได้ดี สามารถป้องกันความหนาวเย็นขณะที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหันได้ สุกรจะมีร่างกายแข็งแรง เชื้อ Streptococcus suis ที่มีอยู่ในช่องปากและโพรงจมูกก็ไม่สามารถเพิ่มจำนวนและฉวยโอกาสก่อให้เกิดโรคในสุกรได้ นอกจากนั้นแล้วควรหลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อสุกรดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ

 



อาการโรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส

ระยะฟักตัวและอาการในสัตว์
               โดยปกติสุกรที่มีการติดเชื้อมักไม่แสดงอาการ ส่วนใหญ่เชื้อจะอยู่บริเวณต่อมทอนซิลบริเวณเพดานปาก (palatine tonsil) และเยื่อเมือกบุในโพรงจมูก โดยปกติสุกรที่มีเชื้อไม่แสดงอาการ

                เมื่อสุกรอยู่ในภาวะเครียด เช่น เลี้ยงอย่างแออัดอยู่ สภาพอากาศเย็น และมีระบบการถ่ายเทอากาศไม่ดี ทำให้ร่างกายสัตว์อ่อนแอเชื้อจะฉวยโอกาสจนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการสมองอักเสบ ข้ออักเสบแบบรุนแรง กล้ามเนื้อและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ มีการติดเชื้อในกระแสโลหิตจนถึงขั้นเสียชีวิต กลุ่มสุกรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นสุกรหย่านม สุกรขุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุกรที่อยู่ในช่วงอายุ 8 - 15 สัปดาห์

วิธีการติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน
               คนสามารถติดเชื้อจากการสัมผัสกับสุกรที่ติดโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร คนทำงานในโรงฆ่าสัตว์ คนชำแหละเนื้อสุกร สัตวบาล และสัตวแพทย์ เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล รอยถลอก หรือเยื่อบุตา รวมทั้งการบริโภคเนื้อสุกรที่ไม่ผ่านการปรุงสุกก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อนี้ได้

ระยะฟักตัวและอาการในคน
               ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 1 - 3 วัน อาการที่พบได้แก่ มีไข้ คลื่นเหียน ปวดศีรษะ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบ ม่านตาอักเสบ ผู้ป่วยอาจสูญเสียการได้ยิน จนถึงขั้นหูหนวก ภายหลังที่หายจากอาการป่วยแล้วอาจจะมีความผิดปกติในการทรงตัว ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตเนื่องมาจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต


โรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis ), โรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis ) หมายถึง, โรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis ) คือ, โรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis ) ความหมาย, โรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis ) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu