
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pandanus pygmaeus Thouars
ชื่อวงศ์: PADANACEAE
ชื่อสามัญ: Karaket nu
ชื่อท้องถิ่น: เตยหนู
ถิ่นกำเนิด: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะวิสัย: พืชคลุมดิน
ลักษณะ: ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 30 - 60 ซ.ม.แตกเป็นกอ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับกันแน่น รูปขอบขนานแคบค่อย ๆ เรียวแหลมไปทางปลายใบ โคนแผ่ออกเป็นก้าน ตามขอบใบและเส้นกลางใบทางต้านล่างมีหนามเล็ก ๆ หนาแน่น ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกตามปลายยอด ดอกเล็กมีจำนวนมาก ติดกันบนแกนของช่อ ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ช่อดอกเพศเมียตั้งตรง มีดอก 4 - 6 ดอก กาบรูปท้องเรือ ขอบจักฟันเลื่อยละเอียด ผลรูปรี ขนาดประมาณ 1.5 ซ.ม. เมล็ดเล็ก
ประโยชน์: ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป
การขยายพันธุ์: แยกหน่อ