ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ภาวะปัญญาอ่อน, ภาวะปัญญาอ่อน หมายถึง, ภาวะปัญญาอ่อน คือ, ภาวะปัญญาอ่อน ความหมาย, ภาวะปัญญาอ่อน คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ภาวะปัญญาอ่อน

          การมีลูกปัญญาอ่อนไม่ใช่สิ่งที่ปรารถนาของพ่อแม่ เพราะเป็นความทุกข์อันใหญ่หลวงและเป็นภาระที่ค่อนข้างหนัก สำหรับคนใน ครอบครัวที่ต้องดูแลผู้ป่วยภาวะปัญญาอ่อนที่เป็นเด็กเจริญเติบโตช้า ร่างกายอ่อนแอ การช่วยเหลือตนเองทำได้ไม่ดีเท่า ที่ควรถ้าไม่ได้รับการฝึกหัด ทั้งนี้เพราะสมองถูกทำลายหรือเจริญผิดปกติ ซึ่งมีสาเหตุหลายประการด้วยกัน เช่น มารดาเป็นโรคหัดเยอรมั นขณะตั้งครรภ์ทำให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์ของสมอง เชื้อซิฟิลิสจากมารดาเข้าไปทำลายเซลล์สมองของทารกในครรภ์ การบาดเจ็บ ทำให้สมองได้รับความกระทบกระเทือนขณะคลอด การอักเสบของสมองหรือเยื่อหุ้มสมองในเด็ก การปล่อยให้เซลล์สมองขาดออกซิเจนเนื่องจากอุบัติเหตุในขณะรักษาพยาบาลทารกที่เจ็บป่วย การที่เด็กเป็นโรคดีซ่านและมีน้ำดีเข้าไปทำลายสมอง การบริโภคอาหารที่ มีธาตุไอโอดีนน้อยจนเกิดภาวะพร่องเอนไซม์ของต่อมไทรอยด์ และความผิดปกติทางพันธุกรรม เป็นต้น

ปัญญาอ่อนที่เนื่องมาจากเชื้อโรคและอุบัติเหตุ

          ปัญญาอ่อนที่เนื่องมาจากการติดเชื้อ สตรีที่เริ่มตั้งครรภ์พึงตระหนักและระมัดระวังตนเอง หลีกเลี่ยงการร่วมเพศกับสามีที่ กำลังป่วยเป็นโรคซิฟิลิส ถ้าบังเอิญติดเชื้อต้องรีบรักษาให้หาย อย่าเข้าใกล้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัดเยอรมันเพราะอาจติดโรคนี้ได้ซึ่ งจะมีผลต่อพัฒนาการของสมองของทารกในครรภ์ ส่วนการดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นทารกนั้นแพทย์และพยาบาลควรระมัดระวังการ ช็อคซึ่งอาจทำให้สมองขาดออกซิเจน และอุบัติเหตุที่มีผลต่อเซลล์สมองที่เนื่องมาจากการกระทบกระเทือนจากเครื่องมือทางการแพทย์

ปัญญาอ่อนที่เนื่องมาจากการขาดธาตุอาหาร

          ธาตุไอโอดีน เป็นธาตุอาหารสำคัญที่มีผลต่อพัฒนาการของสมอง แหล่งที่มีธาตุนี้ได้แก่ อาหารทะเล เกลือสมุทร และอาหารเสริมไอโอดีน ไอโอดีนเป็นองค์ประกอบของฮอร์โมนไทรอกซิน (thyroxin) ผลิตจากต่อมไทรอยด์ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อที่มีตำแหน่งอยู่ที่บริเวณคอหอย ฮอร์โมนไทร อกซินมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมอัตราเมแทบอลิซึม (metabolism) ของร่างกายควบคุมการเจริญและพัฒนาการของร่างกายรวมทั้งพัฒนาการของสมอง ถ้าขาดฮอร์โมนนี้ในวัยเด็กจะมีผลทำให้ร่างกายเตี้ยแคระ แขนขาสั้นไม่สมส่วน ผมบางผิวหนัง หยาบ การเจริญเติบโตช้ากว่าเด็กปกติ และมีภาวะปัญญาอ่อน กลุ่มอาการแบบนี้ เรียกว่า ครีทินิซึม (cretinism) ในผู้ใหญ่การขาดฮอร์โมน ไทรอกซิน จะทำให้มีความจำเสื่อม เหนื่อยง่าย หัวใจโต กล้ามเนื้ออ่อนแรง ติดเชื้อได้ง่าย กลุ่มอาการนี้เรียกว่า มิกซีดีมา (myxed ema) นอกจากนี้ผู้ที่ขาดธาตุไอโอดีนเป็นประจำจะมีผลทำให้เป็น โรคคอ-พอก (simple goiter) ซึ่งมีอาการคล้ายกลุ่มมิกซีดี มาแต่มีอาการคอหอยโตร่วมด้วย

          การป้องกัน ควรบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการและบริโภคอาหารทะเล เกลือสมุทร หรืออาหารเสริมไอโอดีน เช่น น้ำปลาเสริมไอโอดีน ไข่ไอโอดีน เป็นต้น สำหรับ ผู้ป่วยคอพอกระยะแรก ถ้าได้รับอาหารที่มีปริมาณธาตุไอโอดีนเพียงพอจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้อาการผิดปกติต่างๆ หายไปได้



ปัญญาอ่อนเนื่องจากพันธุกรรม

          ปัญญาอ่อนแบบนี้ บางคนคิดว่าเป็นเวรกรรมแต่ชาติก่อนหรืออิทธิพลของผีเจ้าที่หรือถูกเทวดาลงโทษ แท้จริงแล้วมีสาเหตุมาจากมารดาตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมากเกินไป เช่น ตั้งครรภ์เมื่ออายุ 40 ปี ขึ้นไป การแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในเพศหญิงที่มีอายุมากมักทำให้เกิดมิวเทชัน (mutation) จึงทำให้เซลล์ไข่มีโครโมโซม (chromosome) มากหรือน้อยกว่าปกติ เมื่อไข่ได้รับการปฏิสนธิจึงทำให้เซลล์ร่างกายมีจำนวนโครโมโซมมากหรือน้อยกว่าปกติ โครโมโซมเป็นแหล่งที่อยู่ของสารพันธุกรรมหรือยีน (gene) ดังนั้นการมีโครโมโซมที่ผิดปกติจึงทำให้เกิดลักษณะทางพันธุกรรมที่ผิดปกติ เช่น เกิดภาวะปัญญาอ่อนและลักษณะอื่นๆ ร่วมด้วย ดังเช่น

          กลุ่มอาการดาวน์ (Down"s syndrome) มีสาเหตุจากการที่โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 โครโมโซม ทำให้มีสภาพของนิวเคลียสหรือคารีโอไทป์ (karyotype) เป็นแบบ 47, XX สำหรับเพศหญิง หรือ 47 , XY สำหรับเพศชาย ซึ่งสังเกตได้จากการนำภาพถ่ายของโครโมโซมมาจัดเรียงเป็นกลุ่มตามลำดับความยาวและตำแหน่งของเซนโทรเมียร์ (Centromere) 

          ผู้ป่วยกลุ่มนี้ มี I.Q. ประมาณ 20-50 นอกจากมีภาวะปัญญาอ่อนแล้วผู้ป่วยยังมีลักษณะลำตัวนิ่ม มีหน้าตาแปลกจากลูกคนอื่นๆ กล่าวคือ มีศีรษะเล็กกลม ท้ายทอยแบน ลิ้นใหญ่จุกปาก ริมฝีปากบนโค้งขึ้น ใบหูต่ำกว่าปกติ หางตาชี้ขึ้น เป็นเด็กที่นอนหลับเก่ง ไม่ค่อยร้องกวน เจริญเติบโตช้า เช่น ผู้ป่วยหญิงคนหนึ่งคว่ำได้เมื่ออายุ 8 เดือน คลานได้เมื่ออายุ 11 เดือน เดินได้เมื่ออายุ 23 เดือน พูดได้คำแรกได้เมื่ออายุ 27 เดือน มีประจำเดือนเมื่ออายุ 16 ปี

          กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edward"s syndrome) มีสาเหตุจากการที่โครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 โครโมโซม นอกจากมีภาวะปัญญาอ่อนแล้ว เด็กยังมีควา มพิการรุนแรง เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ หัวใจพิการแต่กำเนิด

          กลุ่มอาการพาทาว (Patau syndrome) มีสาเหตุจากการที่โครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 โครโมโซม เด็กจะมีภาวะปัญญาอ่อนและความพิการที่รุนแรง ขึ้น เช่น อวัยวะภายในพิการ มักเสียชีวิตตั้งแต่แรกเกิดและมักมีอายุสั้นมาก

          สถิติการเกิดเด็กปัญญาอ่อนทุกประเภททั่วประเทศประมาณ 450,000 คน มารดาที่มีอายุ 30 ปี มักให้กำเนิดเด็กปัญญาอ่อน ประมาณ 1 คน ในการคลอด 1,000 ครั้ง และมารดาที่อายุ 44-45 ปี ให้กำเนิดเด็กปัญญาอ่อนประมาณ 25 คน ในการคลอด 1,000 ครั้ง

          ภาวะปัญญาอ่อนที่เนื่องจากพันธุกรรม นอกจากจะมีความผิดปกติของโครโมโซมร่างกายหรือออโทโซม (autosome) แล้วยังมีสาเหตุมาจาก< wbr>ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ (sex chromosome) อีกด้วย ดังเช่น

          กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter"s syndrome) มีสาเหตุจากการที่โครโมโซม X เกินมา 1 หรือ 2 โครโมโซม ผู้ป่วยเป็นเพศชาย จึงมีคารีโอไทป์เป็น 47 , XXY หรือ 48 , XXXY ลักษณะอาการนอกจากอาจจะมีภาวะปัญญาอ่อนแล้วยังมีรูปร่างอ้อนแอ่นตัวสูงชะลูด มีหน้าอกโต เป็นหมัน ถ้ามีจำนวนโครโมโซม X มาก ก็จะมีความรุนแรงของปัญญาอ่อนเพิ่มขึ้น

          กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner"s syndcrome) มีสาเหตุจากการที่โครโมโซม X ขาดหายไป 1 โครโมโซมในเพศหญิง จึงมีคารีโอไทป์เป็น 45, XO นอกจากอาจจะ< wbr>มีภาวะปัญญาอ่อนแล้วยังมีลักษณะตัวเตี้ย ที่บริเวณคอมีพังผืดกางเป็นปีก และไม่มีประจำเดือนจึงเป็นหมัน



ข้อแนะนำ

          1. มารดาไม่ควรมีบุตรเมื่ออายุเกิน 35 ปี 

          2. สตรีที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป เมื่อตั้งครรภ์ควรตรวจดูคารีโอไทป์โดย การเจาะถุงน้ำคร่ำเพื่อนำโครโมโซมจากเซลล์ของทารกมาศึกษา ถ้าพบว่าผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ 

          3. ถ้าสังเกตว่าลูกเติบโตช้า ควรรีบพาไปปรึกษาแพทย์ ในการเลี้ยงดูบุตร หลานที่มีภาวะปัญญาอ่อน ควรให้เด็กเข้าเรียนในโรงเรียนที่จัดการศึกษาพิเศษสำหรับเด็ก ปัญญาอ่อน เช่น โรงเรียนราชานุกูล เป็นต้น ผู้ปกครองและสมาชิกในครอบครัวควรสอนให้เด็กช่วยเหลือตนเองสำหรับเด็กกลุ่มอาการดาวน ์สามารถช่วยตนเองได้ตามสมควรและเด็ก กลุ่มนี้มีจำนวนค่อนข้างมากกว่าปัญญาอ่อนเพราะสาเหตุอื่นๆ พ่อแม่ควรสอนให้ลูกอาบน้ำ แต่งตัวและรับประทานอาหารด้วยตนเอง ค่ อยๆ ฝึกหัดให้ช่วยทำงานบ้านอย่างง่ายๆ เช่น ซัก-ผ้า รดน้ำต้นไม้ ฝึกให้ทำงานอดิเรกเล็กๆ น้อยๆ เช่น เย็บปักถักร้อย เป็นต้น เมื่อได้รับก ารฝึกทักษะบ่อยๆ จะสามารถทำงานเหล่านี้ได้ดี 

         4. ถ้ามีลูกผู้หญิงเป็นภาวะปัญญาอ่อน ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับตัดมดลูก ทิ้งในกรณีที่ไม่สามารถดูแลตนเองให้เรียบร้อยเมื่อมีรอบประจำเดือน และควรทำหมันเพื่อป้องกันตั้งครรภ์ซึ่งอาจก่อให ้เกิดปัญหาอื่นตามมา


ภาวะปัญญาอ่อน, ภาวะปัญญาอ่อน หมายถึง, ภาวะปัญญาอ่อน คือ, ภาวะปัญญาอ่อน ความหมาย, ภาวะปัญญาอ่อน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu