พะยูน (Dugong) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและหายใจด้วยปอดที่อาศัยอยู่ในทะเลจากหลักฐานต่างๆ เช่น การพบซากโบราณ(Fossil)และจากโครงร่างบางส่วนเช่น กระดูกครีบหน้าหรือขาคู่หน้าของพะยูนมีลักษณะคล้ายกระดูกนิ้วในสัตว์บก และส่วนที่หลงเหลือของกระดูกเชิงกรานจึงเชื่อว่าพะยูนมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์กินพืช ที่อาศัยอยู่บนบก พะยูนถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ.1776โดยได้ตัวอย่างต้นแบบจากที่จับได้จากน่านน้ำแหลมกู้ดโฮบ ถึงฟิลลิปปินส์ เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายโลมาและปลาวาฬ รายได้เสริมหลังเลิกงาน/หลังเลิกเรียน รายได้ 5 หมื่น บ/ด ขั้นต่ำ อ่านด่วนที่ www.make.18.to
เดิมพะยูนจึงถูกจัดรวมอยู่ในอันดับ (Order) เดียวกันคือ Cetacea แต่จากการศึกษาลักษณะโครงสร้างโดยละเอียดพบว่า มีความแตกต่างกันมาก กล่าวคือ มีขนาดเล็กกว่า หัวกลม รู จมูกแยกจากกัน ปากเล็ก มีฟันหน้าและฟันกรามพัฒนาดี ไม่เป็นฟันยอดแหลมธรรมดาเหมือนๆกันอย่างวาฬ และมีเส้นขนที่ริมฝีปากตลอดชีวิต (สวัสดิ์ วงศ์ถิรวัฒน์, 2539
พะยูนมีบรรพบุรุษเดียวกับช้าง?
ในปี ค.ศ. 1816 De Blainville ได้เป็นบุคคลแรกที่ทำการแยกความแตกต่างระหว่างพะยูนกับโลมาและปลาวาฬ ออกจากกันและจัดพะยูนเข้าไว้ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีกีบ (ungulates) ในอันดับ Sirenia โดยนับว่าพะยูนมีบรรพบุรุษร่วมกันกับช้างมาก่อน รวมถึงการศึกษาซากโบราณของพะยูนชื่อ Eotheroides ในประเทศอียิปต์
พบว่ามีลักษณะบางอย่างเหมือนและใกล้เคียงกันกับ Moeritherium ซึ่งเป็นต้นตระกูลของช้างยุคอีโอซีนตอนต้น (Upper Eocene)หรือเมื่อประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว Eotheroides เป็นสัตว์มี 4 ขา มีฟันครบและอาศัยอยู่ในน้ำ ต่อมามีวิวัฒนาการเพื่อให้อาศัยอยู่ในน้ำได้ดีขึ้น โดยที่ขาหลังจะลดขนาดลงและหายไปในที่สุด ส่วนขาหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะคล้ายใบพายเพื่อให้เหมาะสมกับการว่ายน้ำ จากนั้นก็มีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆจนกลายมาเป็นพะยูนในปัจจุบัน (อนุวัฒน์ นทีวัฒนาและปิติวงศ์ ตันติโชดก, 2523)
พะยูนอาศัยอยู่ที่ไหนบ้าง?
พะยูนมีการกระจายอยู่ตามชายฝั่งทะเลในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนทั่วโลก พบบริเวณมหาสมุทรอินเดียตั้งแต่ชายฝั่งตะวันออกของทวีปอัฟริกาไปจนถึงทะเลแดง รอบๆเกาะมาดากัสการ์และอีกหลายเกาะในมหาสมุทรอินเดีย บริเวณชายฝั่งตะวันตกของประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ลงมาถึงมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้เช่น นิวกินี บริเวณชายฝั่งทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลียและหมู่เกาะต่างๆในมหาสมุทรแปซิฟิกเช่น หมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะมาร์แชลและบริเวณตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกเคยมีรายงานว่าพบพะยูนที่ หมู่เกาะริวกิว รวมถึงชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีนซึ่งปรากฏว่าพะยูนเคยเข้าไปอาศัยตามแม่น้ำสายต่างๆที่ติตต่อกับทะเลเปิด (Nowakand Paradiso, 1983; Jefferson et al., 1993)
เฉพาะประเทศไทยเคยมี พะยูนมาอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้านของประเทศ แต่ปัจจุบันมีพะยูนเหลือแต่ทางด้านทะเลอันดามันชายฝั่งด้านตะวันตกของประเทศ มีแหล่งที่อยู่ที่สำคัญคือบริเวณชายฝั่งทะเลอุทยานแห่งชาติเจ้าไหมและเกาะลิบง จังหวัดตรัง คาดว่ามีพะยูนเหลืออยู่ไม่เกิน 10 ตัว (ทวีศักดิ์ ปิยกาญจน์, 2535 อ้างถึงใน สวัสดิ์ วงศ์ถิรวัฒน์, 2539)
ความแตกต่างระหว่างพะยูนกับมานาที
ลักษณะที่แตกต่างระหว่างพะยูนและมานาทีอยู่ที่หาง พะยูนจะมีหางเป็น 2 แฉก คล้ายกับหางของพวก Cetaceans เช่น ปลาวาฬและโลมา คือตรงกลางมีลักษณะเป็นร่องหรือรอยบากและโคนหางจะแบนจากบนลงล่าง ส่วนหางของมานาทีมีลักษณะกลมไม่มีรอยบากตรงกลางและโคนหางจะไม่แบนจากบนลงล่าง ส่วนรูจมูกพะยูนจะมีรูจมูกอยู่บนส่วนยอดของริมฝีปากบนที่มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อใหญ่และหนาหรือ Snout และเพศผู้มีงายื่นออกมาสามารถเห็นได้ชัด แต่ในพวกมานาทีรูจมูกจะอยู่ตรงส่วนหน้าของ Snout และในตัวเต็มวัยก็จะไม่มีงา ซึ่งมีเฉพาะพะยูนเท่านั้น
Steller"s sea cow ซึ่งเป็นวัวทะเลที่สูญพันธ์ไปแล้วก็ไม่มีงา นอกจากนั้นพะยูนยังมีรูปร่างเพรียวมากกว่ามานาทีและจะไม่มีเล็บที่ขาคู่หน้าเหมือนกับมานาทีบางชนิด (Jefferson et al., 1993) และที่สำคัญมานาทีไม่สามารถพบในประเทศไทยได้จะพบได้ในทวีปอเมริกา และแอฟริกา
พฤติกรรมของพะยูน
พะยูนจะมีการรวมเป็นฝูงและอยู่เป็นโดดเดี่ยวทั้งเมื่อน้ำขึ้นและน้ำลง มีการรวมเป็นฝูง ฝูงละ 2-3 ตัว และอาจจะพบพะยูนเป็นฝูงใหญ่ และมีลูกพะยูนอยู่ด้วย ซึ่งในปัจจุบันจะพบพะยูนมากที่สุด คือ ประเทศออสเตรเลีย
เรื่องของอาหารจากการสำรวจแหล่งหญ้าทะเลและได้สังเกตพฤติกรรมของพะยูน ที่เกาะตะลิบง จ.ตรัง พบว่าพะยูนจะเริ่มเข้ามาหากินหญ้าทะเลในช่วงที่น้ำทะเลกำลังขึ้น และกินหญ้าทะเลอยู่นานราว 2-3 ชั่วโมง พะยูนจะกินหญ้าทะเลพร้อมทั้งขึ้นมาหายใจทุกๆ 1-2 นาที และจึงดำลงไปกินหญ้าทะเลต่อ บางตัวจะกินหญ้าทะเลต่อในบริเวณใกล้ๆ ที่เดิม ในขณะที่บางตัวจะว่ายน้ำเปลี่ยนที่ไปประมาณ 1-5 เมตร โดยที่ลักษณะทิศทางการกินหญ้าทะเลของพะยูนไม่แน่นอน มีทั้งการหันด้านหัวสู่ชายฝั่ง หันหัวออกทะเล ลำตัวขนานกับชายฝั่ง หรือลำตัวทำมุมเฉียงกับชายหาด ซึ่งพะยูนส่วนใหญ่ที่พบจะกินหญ้าทะเลอยู่ห่างจากชายฝั่งมากกว่า 1 กิโลเมตร ในขณะที่น้ำลงมากพะยูนจะไปอาศัยอยู่ในร่องน้ำห่างชายฝั่งประมาณ 4-5 กิโลเมตร(สังเกตพบเห็นพะยูนอยู่ในร่องน้ำหลังน้ำลงประมาณ 2 ชั่วโมง) ซึ่งสอดคล้องกับกับงานของสุวรรณและคณะ(2536)
โดยพะยูนอาจจะกินหญ้าทะเลในช่วงน้ำขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืน โดยที่พะยูนที่เกาะปาเลาส่วนใหญ่จะเข้ามากินหญ้าทะเลในตอนกลางคืน เพื่อหลีกเลี่ยงจากอันตรายจากคนและสิ่งแวดล้อมอย่างอื่น สำหรับตอนเหนือของรัฐควีนแลนด์ประเทศออสเตรเลียพบว่าพะยูนจะเข้ามากินหญ้าทะเลในตอนกลางวัน ซึ่งจะกินหญ้าทะเลวันละประมาณ 30 กิโลกรัม แต่บางตำราระบุว่า กินอาหารประมาณวันละ 8 กิโลกรัม โดยใช้ปากเล็มหรืองับทั้งต้นพืชแล้วส่ายล้างสิ่งเกาะติดอื่นๆ แล้วกลืนทันทีโดยไม่เคี้ยว พะยูนอาจจะอาศัยประจำถิ่น หรือเคลื่อนย้ายถิ่นตามฤดูกาล (กาญจนา อดุลยานุโกศล และคณะ, 2540)
พะยูนระหว่างแม่กับลูกนั้นมีความสัมพันธ์กันมาก จะพบว่าแม่และลูกพะยูนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันเป็นอย่างมาก ทั้งในขณะหากินและในขณะที่ว่ายน้ำ ลูกพะยูนและแม่จะว่ายน้ำหากินอยู่ใกล้ๆ กัน บางครั้งอาจจะห่างกันแต่จะอยู่ในรัศมีประมาณ 1 เมตร ขณะที่ขึ้นมาหายใจพร้อมกันลูกพะยูนจะอยู่ชิดช้างลำตัวแม่ หรืออยู่บนหลังของแม่ และขณะที่กำลังว่ายน้ำออกจากแหล่งหญ้าทะเลก็จะว่ายอยู่เคียงกันตลอด จากการติดตามสังเกตพฤติกรรมการกินหญ้าทะเลของแม่และลูกพะยูน พบว่าลูกพะยูนจะโผล่ขึ้นมาหายใจบ่อยกว่าแม่พะยูน โดยในขณะที่แม่พะยูนกำลังกินหญ้าทะเลอยู่ ลูกพะยูนโผล่ขึ้นมาหายใจ 2-3 ครั้ง แล้วแม่พะยูนจึงโผล่ขึ้นมาหายใจครั้งหนึ่ง
การสืบพันธุ์ของพะยูน
พะยูนไม่ได้ผสมพันธุ์ตามฤดูกาล จะมีการตั้งท้องนาน 13-15เดือน(บางตำราระบุว่าใช้เวลาประมาณ 385-400 วัน) จะมีการออกลูกครั้งละ 1 ตัว (บางตำราระบุว่ามีการออกลูกได้ถึงครั้งละ 2 ตัวได้ แต่มีน้อยมาก) มีลูกหนักเฉลี่ยประมาณ 20 กิโลกรัม(วารสารการประมง น้ำหนักแรกประมาณ 20-35 กิโลกรัม)โดยที่พะยูนเกิดใหม่จะมีน้ำหนักไม่เกิน 100 กิโลกรัม โดยตัวแม่จะมีการดันลูกให้ขึ้นสู่ผิวน้ำทันที แล้วชะลอลูกไว้บนหลังในช่วงแรกๆ หลังคลอดเพื่อหัดให้ลูกหายใจและวายน้ำ โดยจะค่อยๆจมตัวเองและลอยขึ้นเป็นจังหวะ
โดยลูกจะดูดนมแม่ใต้น้ำตัวผู้จะไม่ช่วยในการเลี้ยงลูก โดยลูกจะหย่านมแม่หลังจากอายุ 1 ปีไปแล้ว มีความยาวแรกเกิดประมาณ 1.0-1.2 เมตร และพะยูนอายุ 1 ปี จะมีความยาวประมาณ 1.8เมตร(จากการศึกษาพะยูนที่ประเทศออสเตรเลีย) เมื่อมีศัตรูลูกอ่อนจะว่ายน้ำหลบอยู่บนหลังของแม่ ช่วงอายุในการสืบพันธุ์ยังไม่แน่ชัด(บางตำราระบุว่ากว่าจะแพร่ขยายพันธุ์ได้จะต้องอายุประมาณ 9 ปีขึ้นไป) และจากการสำรวจคาดว่าฤดูกาลการคลอดลูกของพะยูนอยู่ระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม สำหรับการศึกษาถึงฤดูกาลคลอดลูกของพะยูน ในประเทศออสเตรเลียพบว่าจะอยู่ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคมและกว่าแม่พะยูนจะมีลูกได้อีกจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี จะมีอายุอยู่ในช่วงประมาณ 45-70 ปี(กรณีที่อายุยืนยาวตามธรรมชาติ)
แหล่งที่อยู่อาศัยและลักษณะนิสัยของพะยูน
พะยูนจะอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้ชายฝั่งทะเลนอกเขตน้ำกร่อย และชอบอาศัยอยู่ตามชายฝั่งน้ำตื้นมากกว่าน้ำลึก หรือไม่เกิน 10 เมตร(โดยเฉลี่ยแล้วจะพบในความลึกประมาณ 3-5 เมตร) บริเวณที่ไม่ห่างไกลจากแหล่งหญ้าทะเลและเป็นที่ที่คลื่นลมไม่จัด บางครั้งอาจพบว่าเข้าไปในคลองน้ำกร่อยในป่าชายเลน
โดยปกติจะมีการอาศัยอยู่ใต้น้ำ จะโผล่ขึ้นมาหายใจเอาอากาศบนผิวน้ำทุกๆ 3-5 นาที(หนังสือบางเล่มบอกว่าจะโผล่ทุกๆ 6-16 นาที) จะมีการจมตัวอยู่ในน้ำตลอดเวลา ปกติจะมีการทรงตัวอยู่ในแนวราบขนานกับพื้นท้องน้ำ เคลื่อนไหวอย่างช้า มีนิสัยรักสงบไม่ว่าจะอยู่เป็นฝูงหรืออยู่เพียงลำพัง แต่ส่วนมากแล้วจะอยู่เป็นฝูง สามารถอยู่ร่วมกับปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ ได้ แต่ถ้ามีคนหรือสิ่งที่รบกวนอย่างอื่นเข้าใกล้จะมีการพุ่งตัวหลบหนีไปอย่างรวดเร็ว พยูนจะโผล่ขึ้นมาหายใจเอาอากาศบนผิวน้ำทุกๆ 3-5 นาที
สถานภาพของพะยูนทั่วโลก
ถึงแม้ว่าพะยูนจะเป็นสัตว์คุ้มครองในประเทศออสเตรเลีย แต่ก็ยังคงมีการอนุญาตให้ล่าได้ตามประเพณีความเชื่อเก่าของชาวอะบอริจิน และชาวเกาะบริเวณช่องแคบTorres พะยูนมักจะอาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งหญ้าทะเล ซึ่งนับวันจะถูกทำลายลงไปเรื่อยๆ จากการขุดลอกร่องน้ำ การชะล้างหน้าดินจากบริเวณพื้นที่ทำเกษตรกรรมลงสู่ทะเล และมักจะได้รับอันตรายจากจากอวนขนาดใหญ่ เช่น อวนกระเบน หรืออวนฉลาม ซึ่งสภาพปัญหาของพะยูนจะคล้ายกับโลมา ยกตัวอย่างเช่น บริเวณ Great Barrior Reef (GBR) มีประชากรของพะยูนประมาณ 3,500 ตัว (ในปี1987) และอีก 4 ปีต่อมา (ในปี1991) ประชากรพะยูนลดลงเหลือ 1,700 ตัว การลดจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว ทำให้มันอยู่ในสภาวะที่ใกล้จะสูญพันธุ์ จะเห็นว่ามีการปัญหาของพะยูนจะคล้ายกับโลมาคือมีจำนวนลดลงอย่างมากทั่วโลก
บริเวณที่พบประชากรพะยูนที่มากที่สุดในโลก คือประเทศออสเตรเลีย ซึ่งคาดว่ามีอยู่ประมาณ 70,000 ตัว โดยพบที่ ช่องแคบ Torres strait ประมาณ 12,500 ตัว และที่ GBR มีประชากรของพะยูนประมาณ 1,700 ตัว (บริเวณที่พบมากที่สุกในออสเตรเลียคือ ฝั่ง West Australia) อันดับรองลงมาเป็นบริเวณ อ่าวเปอร์เซีย ประมาณการว่าเหลืออยู่ประมาณ 5,000 - 6,000 ตัว อันดับ 3 คือบริเวณทะเลแดงพบประมาณ 4,000 ตัว นอกจากนั้นยังพบที่อื่นๆเล็กน้อย เช่นบริเวณชายฝั่งทวีปแอฟริกาตะวันออกตั้งแต่ประเทศ Somalia ลงมาจนถึง Mozambique พบประมาณ 100 ตัว ในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกาะ Vanuatu มีประชากรประมาณ 400 ตัว ที่เกาะ Palau ประมาณว่าเหลืออยู่น้อยกว่า 200 ตัว นอกจากนี้ยังพบที่หมู่เกาะ Solomons และที่อื่นๆ ในแถบอาเซียนพบน้อยมากใน Indonesia Malaysia Thailand , Myanmar Papua-New Guinea และPhilippines ****สาเหตุอาจเนื่องมาจากคนในบริเวณแถบนี้มีความเชื่อเกี่ยวกับพะยูนมาก และนิยมบริโภคเนื้อพะยูน
ที่มา www.wildlifefund.or.th