สงกรานต์ แปลว่า การย้ายที่ คือ เป็นวันที่พระอาทิตย์โครจรย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ตามการคำนวณของผู้รู้ทางโหราศาสตร์ ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 1 คำ เดือน 5 แต่การนับวันทางจันทรคตินี้ เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติ ในแต่ละปีจะไม่ตรงกัน จึงถือเอาวันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็นวันสงกรานต์ แต่เดิมเราถือเอาวันสงกรานต์ เป็นวันปีใหม่ของไทย และแม้ว่าในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามสากลเพื่อให้สอดคล้องกับนานาอารยปนะเทศ แต่ก็ยังยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่มาจนถึงทุกวันนี้ และยังถือว่าวันที่ 15 เมษายน เป็นวันครอบครัวอีกด้วย
ประเพณีสงกรานต์ ปกติมีทั้งหมด ๓ วัน คือเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๓ เมษายน ถึง ๑๕ เมษายน โดยถือเอาวันที่ ๑๓ เป็นวันต้น หรือวันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนาหรือวันกลาง และวันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก หรือวันสุดท้าย แต่วันต้นวันเนาวันเถลิงศกนี้ หากนับทางจันทรคติ หรือคำนวณทางโหราศาสตร์อาจจะคลาดเคลื่อนกันบ้างในแต่ละปี
การแห่นางสงกรานต์ เป็นการประกวดรถต่างๆ มี นางสงกรานต์ ประจำรถต่อมากลายเป็นการประกวดนางสงกรานต์บนเวที เช่นเดียวกับการประกวดนางงาม การละเล่นต่างๆ จึงได้แยกออกไปต่างหาก
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
วันสงกรานต์
ประเพณีวันสงกรานต์
วันสงกรานต์ 2555
นางสงกรานต์ปี 2555
เที่ยวงานประเพณีสงกรานต์ 2555
การทำบุญในวันสงกรานต์
ไหว้พระ 9 วัด วันสงกรานต์
ทำบุญวันสงกรานต์
กลิตเตอร์ วันสงกรานต์
เพลงวันสงกรานต์
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์
ประวัตินางสงกรานต์
นางสงกรานต์ ของแต่ละวัน
ตำนานสงกรานต์
รวมเพลงวันสงกรานต์
คำทำนายในวันสงกรานต์
คุณค่าและสาระของวันสงกรานต์
จากภาพรวมของกิจกรรมต่าง ๆ ในวันสงกรานต์จะเห็นได้ว่า สงกรานต์เป็นประเพณีที่งดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร และเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความเคารพซึ่งกันและกัน เป็นประเพณีที่ให้ความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ในสังคม โดยใช้น้ำเป็นสื่อในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งต่างจากเทศกาลแห่งน้ำที่หน่วยงานบางแห่งดำเนินการเพื่อสร้างจุดขาย สร้างรายได้เข้าประเทศ ซึ่งอาจสร้างความเข้าใจผิดให้เกิดขึ้นแก่คนทั่วโลก ไม่เว้นแต่คนไทยด้วยกันเอง ให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และหลุดลอยไปจากสาระและคุณค่าเดิมของประเพณีสงกรานต์ไปทุกที
ประเพณีที่ถือปฏิบัติและสืบทอมกันมาอย่างยาวนาน เช่น ประเพณีสงกรานต์นี้ จึงย่อมมีความหมายและมีคุณค่าต่อผู้ปฎิบัติ ชุมชน และสังคมเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ :
สงกรานต์-คุณค่าต่อครอบครัว
- วันสงกรานต์เป็นวันแห่งความรัก ความผูกผันในครอบครัว อย่างแท้จริง พ่อแม่จะเตรียมเสื้อผ้าใหม่พร้อมเครื่องประดับให้ลูกหลานไปทำบุญ ลูกหลานก็จะเตรียมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ให้ผู้ใหญ่ได้สวมใส่หลักการรดน้ำขอพร
เมื่อถึงวันสงกรานต์ ทุกคนจะหาโอกาสกลับบ้านไปหาพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ รดน้ำขอพรเพื่อเป็นสิริมงคลในการเริ่มต้นปีใหม่ และเป็นกำลังใจกันและกันในการดำรงชีวติอยู่ต่อไป
- วันสงกรานต์เป็นวันแห่งการแสดงความกตัญญู โดยการปรนนิบัติต่อพ่อแม่และผู้มีพระคุณที่มีชีวิตอยู่ และทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
สงกรานต์-คุณค่าต่อชุมชน
วันสงกรานต์เป็นวันที่ก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน เช่น ได้พบปะสังสรรค์ ได้ทำบุญร่วมกัน และได้เล่นสนุกสนานรื่นเริงกันในยามบ่ายหลังจากการทำบุญ โดยการเล่นรดน้ำในหมู่เพื่อนฝูงและคนรู้จัก และการละเล่นตามประเพณีท้องถิ่น เป็นต้น
สงกรานต์-คุณค่าต่อสังคม
สงกรานต์เป็นประเพณีที่ก่อให้เกิดความเอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะในวันนี้ทุกคนจะช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน สิ่งของเครื่องใช้ทุกอย่างให้สะอาดหมดจด เพื่อจะได้ต้อนรับปีใหม่ด้วยความแจ่มใส เบิกบาน นอกจากนี้ยังควรช่วยกันทำความสะอาดวัดวาอาราม ที่สาธารณะ และอาคารสถานที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย
สงกรานต์-คุณค่าต่อศาสนา
วันสงกรานต์เป็นวันทำบุญครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของพุทธศาสนิกชน โดยการทำบุญ ตักบาตร เลี้ยงพระ ฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรม และสรงน้ำพระ การศรัทธาในการทำบุญให้ทาน ถือเป็นการเกื้อกูลสูงสุดของมนุษยชาติ และการถือศีลปฏิบัติธรรมเป็นเหตุแห่งความเจริญร่งเรืองของชีวิต และสามารถสืบทอดพระพุทธศาสนามาได้จนถึงปัจจุบัน
ความสำคัญของวันสงกรานต์
1. เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปี
2. เป็นวันทำบุญสร้างกุศล และประกอบพิะกรรมทางศาสนา
3. เป็นวันอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมไทย
4. เป็นวันแสดงวันกตัญญูกตเวที ระลึกถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
5. เป็นวันครอบครัว วันรวมญาติและวันผู้สูงอายุ
6. เป็นวันอนุรักษ์พันธุ์สัตว์
กิจกรรมในวันสงกรานต์
จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เราได้ถือปฏิบัติสืบต่อ ๆ กันมานั้น มีความมุ่งหมายให้เกิดความสงบสุขแก่จิตใจ ครอบครัว และสังคมเป็นสำคัญ กิจกรรมที่ทำก็มีอย่างหลากหลายและมีเหตุผลในการกระทำดังกล่าวทั้งสิ้น ซึ่งสามารถประมวลกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดได้ดังต่อไปนี้
ก่อนวันสงกรานต์
เป็นการเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล และต้อนรับชีวิตใหม่ที่จะเริ่มต้นในวันปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง กิจกรรมที่ทำ ได้แก่
- การทำความสะอาดบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ข้าวของต่าง ๆ รวมทั้งสถานที่สาธารณะต่าง ๆ เช่น วัด ศาลา บริเวณชุมชน เป็นต้น
- การเตรียมเสื้อผ้าที่จะสวมใส่ไปทำบุญ รวมทั้งเครื่องประดับตกแต่งต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีผ้าสำหรับไปไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรดน้ำขอพรด้วย
- การเตรียมอาหารในการไปทำบุญ ทั้งของคาวของหวานที่พิเศษ ได้แก่ การเตรียมขนมที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของวันตรุษและวันสงกรานต์ นั่นคือ ข้าวเหนียวแดงสำหรับวันตรุษ และขนมกวนหรือกาละแมสำหรับวันสงกรานต์
วันสงกรานต์
เมื่อถึงวันสงกรานต์ เป็นเวลาที่ทุกคนจะยิ้มแย้มแจ่มใส ทำใจให้เบิกบาน เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีดังต่อไปนี้
- การทำบุญ ตักบาตรตอนเช้า หรือนำอาหารไปถวายพระที่วัด
- การทำบุญอัฐิ อาจจะทำตอนไหนก็ได้ เช่น หลังจากพระภิกษุ-สามเณรฉันเพลแล้ว หรือจะนิมนต์พระมาสวดมนต์ ฉันเพลที่บ้าน แล้วบังสุกุลก็ได้ การทำบุญอัฐิ อาจจะนิมนต์พระไปยังสถานที่เก็บหรือบรรจุอัฐิ หากไม่มีให้เขียนชื่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้วลงในกระดาษ เมื่อบังสุกุลเสร็จจึงเผากระดาษแผ่นนั้นเสีย เช่นเดียวกับการเผาศพ
- การสรงน้ำพระ มี 2 แบบ คือ การสรงน้ำพระภิกษุสามเณร และการสรงน้ำพระพุทธรูป
o การสรงน้ำพระภิกษุสามเณร จะใช้แบบเดียวกับอาบน้ำ คือ การใช้ขันตักรดที่ตัวท่านหรือที่ฝ่ามือก็ได้ แล้วแต่ความนิยม หากเป็นการสรงน้ำแบบอาบน้ำพระ จะมีการถวายผ้าสบงหรือถวายผ้าไตรตามแต่ศรัทธาด้วย
o การสรงน้ำพระพุทธรูป อาจจะจัดเป็นขบวนแห่ หรือเชิญมาประดิษฐานในที่อันเหมาะสม การสรงน้ำจะใช้น้ำอบ น้ำหอม หรือน้ำที่ผสมด้วยน้ำอบ น้ำหอมประพรมที่องค์พระ
- การก่อพระเจดีย์ทราย จะทำในวันใดวันหนึ่งระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน โดยการขนทรายมาก่อเป็นเจดีย์ขนาดต่าง ๆ ในบริเวณวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้วัดได้ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง หรือถมพื้นต่อไป ถือเป็นการทำบุญอีกลักษณะหนึ่งที่ได้ทั้งบุญและความสนุกสนาน
- การปล่อยนก ปล่อยปลา เป็นการทำบุญทำทานอีกรูปแบบหนึ่ง โดยเฉพาะการปล่อยนกปล่อยปลาที่ติดกับดัก บ่วง ให้ไปสู่อิสระ หรือปลาที่อยู่ในน้ำตื้น ๆ ซึ่งอาจจะตายได้ หากปล่อยให้อยู่ในสภาพแบบเดิม
- การรดน้ำผู้ใหญ่ หรือการรดน้ำขอพร เป็นการแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่ของครอบครัว หรือผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ การรดน้ำผู้ใหญ่อาจจะรดน้ำทั้งตัวหรือรดเฉพาะที่ฝ่ามือก็ได้ ดังนั้น จึงควรมีผ้านุ่งห่มไปมอบให้ด้วย เพื่อจะได้ผลัดเปลี่ยนหลังจากเสร็จสิ้นพิธีแล้ว
- การเล่นรดน้ำ หลังจากเสร็จพิธีการต่าง ๆ แล้ว เป็นการเล่นรดน้ำเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างญาติมิตร โดยการใช้น้ำสะอาดผสมน้ำอบหรือน้ำหอม หรือจะใช้น้ำอบก็ได้ รดกันเบา ๆ ด้วยความสุภาพ
- การเล่นรื่นเริงต่าง ๆ เช่น เข้าทรงแม่ศรี สะบ้า ลูกช่วง สุดแล้วแต่ความนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ
ประเพณีปฎิบัติเหล่านี้ อาจจะมีความแตกต่างกันออกไปบ้างตามแต่ละท้องถิ่น การจะยึดถือปฏิบัติอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และความต้องการของชุมชนเป็นสำคัญ
เพลงวันสงกรานต์
การฉลอง เทศกาลสงกรานต์ สิ่งที่ขาดไม่ได้ ที่มักจะต้องมีประกอบเพื่อให้การฉลองเทศกาลสงกรานต์มีความสนุกสนานก็คือ การเปิดเพลงสงกรานต์ บรรเลงไปพร้อมกับการเลี้ยงฉลองเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเพลงที่เกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์ ก็มีหลายเพลง ดังนี้
ชื่อเพลง ศิลปิน นักร้อง อัลบั้ม เนื้อเพลง ฟังเพลง รำวงวันสงกรานต์ สุนทราภรณ์ เพลงวันสงกรานต์ เนื่อเพลง รำวงวันสงกรานต์ ฟังเพลง รำวงเริงสงกรานต์ สุนทราภรณ์ เพลงวันสงกรานต์ เนื้อเพลง รำวงเริงสงกรานต์ ฟังเพลง รำวงสงกรานต์หวานใจ สุนทราภรณ์ เพลงวันสงกรานต์ เนื้อเพลง รำวงสงกรานต์หวานใจ ฟังเพลง ตลุงสุขสงกรานต์ สุนทราภรณ์ เพลงวันสงกรานต์ เนื้อเพลง ตลุงสุขสงกรานต์ ฟังเพลง วิมานสงกรานต์ สุนทราภรณ์ เพลงวันสงกรานต์ เนื้อเพลง วิมานสงกรานต์ ฟังเพลง รำวงปิดทองพระ สุนทราภรณ์ เพลงวันสงกรานต์ เนื้อเพลง รำวงปิดทองพระ ฟังเพลง รำวงตบแผละ สุนทราภรณ์ เพลงวันสงกรานต์ เนื้อเพลง รำวงตบแผละ ฟังเพลง สื่อสงกรานต์ สุนทราภรณ์ เพลงวันสงกรานต์ เนื้อเพลง สื่อสงกรานต์
ประวัติวันสงกรานต์
ความเป็นมาของวันสงกรานต์ ประวัติวันสงกรานต์ หรือเรื่องเล่า ตำนานของสงกรานต์นี้มีปรากฎในศิลาจารึกที่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร โดยย่อว่า มีบุตรของเศรษฐีคนหนึ่งชื่อ ธรรมบาลกุมาร เป็นผู้ที่รู้ภาษานกแล้ว เรียนไตรเพทจบ เมื่ออายุได้เจ็ดขวบ ได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่างๆ แก่มนุษย์ทั้งปวง ซึ่งในขณะนั้น โลกทั้งหลายนับถือท้าวมหาพรหมและกบิลพรหมองค์หนึ่งว่า เป็นผู้แสดงมงคลแก่มนุษย์ทั้งปวง เมื่อกบิลพรหมทราบ จึงลงมาถาม ปัญหาธรรมบาลกุมาร ๓ ข้อ สัญญาไว้ว่า ถ้าแก้ปัญหาได้จะตัดศีรษะบูชา ถ้าแก้ไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมาร
ธรรมบาลขอผลัด ๗ วัน ครั้นล่วงไปได้ ๖ วัน ธรรมบาลกุมารก็ยังคิดไม่ได้ จึงลงจากปราสาทไปนอนอยู่ใต้ต้นตาลสองต้น มีนกอินทรี ๒ ตัวผัวเมียทำรังอาศัยอยู่บนต้นตาลนั้น ครั้งเวลาค่ำนางนกอินทรีจึงถามสามีว่า พรุ่งนี้จะได้อาหารแห่งใด สามีบอกว่า จะได้กินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย เพราะทายปัญหาไม่ออก นางนกถามว่า ปัญหานั้นอย่างไรสามีจึงบอกว่า ปัญหาว่าเช้าราศีอยู่แห่งใด เที่ยงราศีอยู่แห่งใด ค่ำราศีอยู่แห่งใด นางนกถามว่า จะแก้อย่างไร สามีบอกว่า เช้าราศีอยู่หน้า มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างหน้า เวลาเที่ยงราศีอยู่อก มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก เวลาค่ำราศีอยู่เท้า มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างเท้า ครั้งรุ่งขึ้นท้าวกบิลพรหมมาถาม ปัญหาธรรมบาลกุมารก็แก้ตามที่ได้ยินมา ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกเทพธิดาทั้ง ๗ อันเป็นบริจาริกาพระอินทร์มาพร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดศีรษะบูชาธรรมบาลกุมาล ศีรษะของเราถ้าจะตั้งไว้บนแผ่นดินไฟก็จะไหม้ทั่วโลก ถ้าจะทิ้งขึ้นบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งไว้ในมหาสมุทรน้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนั้นเอาพานมารับศีรษะ แล้วก็ตัดศีรษะส่งให้ธิดาผู้ใหญ่ นางจึงเอาพานมารับพระเศียรบิดาไว้แล้ว แห่ทำประทักษิณ รอบเขาพระสุเมรุ ๖๐ นาที แล้วก็เชิญประดิษฐานไว้ในมณฆปถ้ำคันธุลีเขาไกรลาศ บูชาด้วยเครื่องทิพย์ต่างๆ พระเวสสุกรรมก็นฤมิตรแล้วด้วย แก้วเจ็ดประการชื่อ ภควดีให้เป็นที่ประชุมเทวดา เทวดาทั้งปวงก็นำเอาเถาฉมุลาด ลงมาล้างในสระอโนดาตเจ็ดครั้งแล้วแจกกันสังเวยทุกๆ พระองค์ครั้งถึงครบกำหนด ๓๖๕ วัน โลกสมมติว่า ปีหนึ่งเป็นสงกรานต์นางเทพธิดาเจ็ดองค์ จึงผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม ออกแห่ประทักษิณเขาพระสุเมรุทุกปี แล้วกลับไปเทวโลก ซึ่งลูกสาวทั้งเจ็ดของท้าวกบิลพรหมนั้น เราสมมติเรียกว่า นางสงกรานต์ มีชื่อต่างๆ ดังนี้ ทุงษ , โคราค , รากษส , มัณฑา , กิริณี , กิมิทา และ มโหทร
คำว่า " สงกรานต์ " มาจากภาษาสันสฤกตว่า สํ - กรานต แปลว่า ก้าวขี้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือพระอาทิตย์ย่างขึ้น สู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ ๑๓ , ๑๔ , ๑๕ เมษายนทุกปี แต่วันสงกรานต์นั้นคือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก
ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับสงกรานต์ มีดังนี้
สงกรานต์ ที่แปลว่า " ก้าวขึ้น " " ย่างขึ้น " นั้นหมายถึง การที่ดวงอาทิตย์ ขึ้นสู่ราศีใหม่ อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกเดือน ที่เรียกว่าสงกรานต์เดือน แต่เมื่อครบ ๑๒ เดือนแล้วย่างขึ้นราศีเมษอีก จัดเป็นสงกรานต์ปี ถือว่าเป็น วันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ ในทางโหราศาสตร์
มหาสงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้นหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ หมายถึงสงกรานต์ปี คือปีใหม่อย่างเดียว กล่าวคือสงกรานต์หมายถึง ได้ทั้งสงกรานต์เดือนและสงกรานต์ปี แต่มหาสงกรานต์ หมายถึง สงกรานต์ปีอย่างเดียว
วันเนา แปลว่า " วันอยู่ " คำว่า " เนา " แปลว่า " อยู่ " หมายความว่าเป็นวันถัดจากวันมหาสงกรานต์มา ๑ วัน วันมหาสงกรานต์เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ย่างสู่ราศีตั้งต้นปีใหม่ วันเนาเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าที่เข้าทาง ในวันราศีตั้งต้นใหม่เรียบร้อยแล้ว คืออยู่ประจำที่แล้ว
วันเถลิงศก แปลว่า " วันขึ้นศก " เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เปลี่ยนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ ๓ ถัดจากวันมหาสงกรานต์ ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่า การย่างขึ้นสู่จุดเดิม สำหรับต้นปีนั้นเรียบร้อยดี ไม่มีปัญหาเพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที วินาที ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่จะเปลี่ยนศกถ้าเลื่อนวันเถลิงศกหรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่มาเป็น วันที่ ๓ ก็หมายความว่า อย่างน้อยดวงอาทิตย์ได้ก้าวเข้าสู่ราศีใหม่ ไม่น้อยกว่า ๑ องศาแล้วอาจจะย่างเข้าองศาที่ ๒ หรือที่ ๓ ก็ได้
วันสงกรานต์เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ซึ่งกษัตริย์สิงหศแห่งพม่า ทรงตั้งขึ้นเมื่อปีกุนวันอาทิตย์ พ . ศ . ๑๑๘๑ โดยกำหนดเอาดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษได้ ๑ องศา ประกอบกับไทยเราเคยนิยมใช้จุลศักราช สงกรานต์จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยอีกด้วย ในปีแรกที่กำหนดเผอิญเป็นวันที่ ๑๓ เมษายน ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่วันที่ ๑๓ เมษายนทุกปี แต่เมื่อเป็นประเพณี ก็จำเป็นต้องเอาวันนั้นทุกปี เพื่อมิให้การประกอบพิธี ซึ่งมิได้รู้โดยละเอียดต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา วันที่ ๑๓ จึงเป็นวันสงกรานต์ของทุกปี
ปกติวันสงกรานต์จะมี ๓ วัน คือ เริ่มวันที่ ๑๓ เมษายน ถึงวันที่ ๑๕ เมษายน วันแรกคือวันที่ ๑๓ เป็นวันมหาสงกราต์ วันที่พระอาทิตย์ต้องขึ้นสู่ราศีเมษ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา ( พระอาทิตย์คงอยู่ที่ ๐ องศา ) วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศกใหม่ และเริ่มจุลศักราชในวันนี้ เมื่อก่อนจริงๆ มีถึง ๔ วัน คือวันที่ ๑๓ - ๑๖ เป็นวันเนาเสีย ๒ วัน ( วันเนาเป็นวันอยู่เฉยๆ ) เป็นวันว่าง พักการงานนอกบ้านชั่วคราว
จะเห็นได้ว่า วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึง พ . ศ . ๒๔๘๓ ทางราชการจึงได้เปลี่ยนไหม่ โดยกำหนดเอาวันที่ ๑ มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม ่ เพื่อให้เข้ากับ หลักสากลที่นานาประเทศนิยมปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ ประชาชนก็ยังยึดถือว่า วันสงกรานต์มีความสำคัญ
ท่องเที่ยววันสงกรานต์
สถานที่เที่ยวที่เป็นจุดเด่น เป็นสถานที่นักท่องเที่ยวต่างสนใจ มีหลากหลายสถานที่ ซึ่งแต่ละที่ก็มีการจัดกิจกรรมการเล่นสงกรานต์ และมีวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละพื้นที่สอดแทรกไว้ด้วย
สถานที่ท่อง เที่ยวสงกรานต์ ที่มีการจัดกิจกรรมที่ยิ่งใหญ่ และน่าไปเที่ยว มีดังนี้
- มหาสงกรานต์อีสานหนองคาย (สงกรานต์ไทย-ลาว)
- ประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
- ประเพณีสงกรานต์พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
- ประเพณีสุดยอดสงกรานต์อีสาน เทศกาลดอกคูน เสียงแคนและถนนข้าวเหนียว
- งานหาดใหญ่มิดไนท์สงกรานต์ จังหวัดสงขลา
- Songkran The Water Festival on the Beach ภูเก็ต
- ประเพณีย้อนอดีตมหาสงกรานต์กรุงสุโขทัย
- เที่ยวสงกรานต์ จังหวัดชลบุรี
ข้อมูลเที่ยวสงกรานต์จาก https://www.songkran.net/