รัฐอิสราเอล (State of Israel)
รัฐอิสราเอล (State of Israel) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และเป็น "รัฐยิว" ตามนโยบายแห่งชาติ ประชากรของอิสราเอลส่วนใหญ่เป็นชาวยิว โดยมีชนกลุ่มน้อยขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่ชาวยิว ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามหรือศาสนาคริสต์ อิสราเอลมีพรมแดน (ตามเข็มนาฬิกา) ติดกับประเทศเลบานอน ซีเรีย จอร์แดน และอียิปต์ อิสราเอลมีชายฝั่งบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อ่าวไอลัต/อะกาบา (อะกอบะหฺ) (Gulf of Eilat / Aqaba) และทะเลเดดซี
ประวัติศาสตร์
ก่อนสมัยพระเยซูประสูติ ชนชาติยิวซึ่งในสมัยโบราณเรียกกันว่า "ฮิบรู" (Hebrew) เป็นชนผิว ขาวเผ่า เสมิติคสาขาหนึ่ง มีอาชีพร่อนเร่เลี้ยงสัตว์อยู่ในทะเลทรายอาระเบีย เคยอพยพ เข้าไปตั้งถิ่นฐาน อยู่ทางตอนล่างของลุ่มแม่น้ำยูเฟรติสอยู่ระยะหนึ่ง จนถิ่นที่อพยพเข้าไปอยู่เกิด ความแห้งแล้ง จึงพากันอพยพต่อไป พวกหนึ่งได้เข้าไปอาศัยอยู่ในดินแดนที่เรียกว่า "ปาเลสไตน์ " อีกพวกหนึ่งเข้าไป อาศัยอยู่ในประเทศอียิปต์ (เมื่อประมาณ 1,400 ปีก่อนคริสต์กาล)
ดินแดนที่เรียกว่า "ปาเลสไตน์" (Palestine) ซึ่งฮิบรูพวกหนึ่งอพยพ เข้าไปอาศัยอยู่ครั้งนั้น มีเนื้อที่ประมาณ 25,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บนฝั่ง ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจรดประเทศซีเรีย ทิศใต้จรดประเทศอียิปต์ ทิศตะวันออกจรดแม่น้ำจอร์แดน ทิศตะวันตกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อพวกฮิบรูอพยพมาสู่ดินแดนนี้ใหม่ ๆ บริเวณดังกล่าวเป็นอาณาจักร ของพวกเจริญที่ตั้งถิ่นฐานอยู่มาก่อนช้านานแล้ว (ประมาณ 1,500 ปี) เรียกว่า "คานาอัน" (Canaan) ของชนเผ่า "เคนันไนท์" (Cananite ) พวกเคนันไนท์ เป็นชนเผ่าเสมิติคอีกสาขาหนึ่งซึ่งเจริญขึ้น เพราะได้รับอารยธรรมจากอียิปต์และ บาบิโลเนีย สามารถสร้างบ้านเมืองใหญ่โต มีป้อมปราการล้อมรอบ เรียกว่า "นครเยรูซาเลม" (Herusalem) พวกฮิบรูที่อพยพเข้ามาภายหลังตอนแรก ๆ ต้องอาศัยพวกเคนันไนท์อยู่นอกำแพงเมือง พวกเคนันไนท์ซึ่งเป็นเจ้าของถิ่นเดิม เรียกผู้อพยพมาอยู่ใหม่เหล่านี้ว่า "ฮิบรู" (Hebrew) แปลว่า "พวกข้างโน้น"ต่อมาพวกฮิบรูเริ่มเจริญขึ้นเพราะได้รับ ขนบธรรมเนียม ประเพณีและอารยธรรมจากพวกเคนันไนท์ได้เข้าปะปนกับเจ้าของถิ่นเดิม จนกลายเป็นพวกเดียวกัน ระยะนี้พวกฮิบรู มีความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันแบ่งออกได้เป็น 2 พวก คือ พวกที่อยู่ทางเหนือ ใกล้ชิดกับพวกเคนันไนท์มาก มีขนบประเพณีและ วิธีการดำเนินชีวิตเช่นเดียวกันกับพวกเคนันไนท์ ส่วนพวกที่อยู่ทางใต้ยังคนร่อนเร่เลี้ยงสัตว์ ใช้ชีวิตแบบเดิมและรักษา ขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมอยู่สังคมของพวกฮิบรู ด้านการปกครอง สมัยที่ยังร่อนเร่พเนจรอยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ มีหัวหน้าใหญ่เป็นผู้นำ เรียกว่า "พาทริอาร์ค" (Patriarch) แปลว่า "พ่อหมู่" เป็นผู้ควบคุม พ่อหมู่หรือหัวหน้าหมู่มีอำนาจเหนือผู้คนและทรัพย์สินของลูกหมู่ทุกคน ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้นำการเดินทาง แม่ทัพ ตุลาการ ผู้สอนศีลธรรมจรรยา และเป็นตัวแทนพระผู้เป็นเจ้าเบื้องบนด้วย ด้านศาสนา พ่อหมู่อธิบายว่าตนทำทุกอย่างตามบัญชาพระผู้เป็นเจ้า การที่ลูกหมู่ผู้ใดจะได้รับทุกข์สุขขึ้นอยู่กับการกระทำของพวกเขาเอง ถ้าเขาเหล่านั้นเชื่อมั่นในพระเจ้าและกระทำความดี พระเจ้าจะบันดาลให้พบดินแดนที่อุดมสมบูรณ์และอยู่อย่างเป็นสุข ถ้าไม่เชื่อในพระเจ้าและประพฤติชั่วกันมาก ๆ พระเจ้าจะทรงลงโทษให้ได้รับทุกข์ พวกฮิบรูมีความเป็นอยู่เช่นนี้เรื่อยมา จนกระทั่งถึงสมัยพ่อหมู่มีนามว่า "ยาคอบ" ยาคอบเป็นคนแรกที่ประกาศและปฏิบัติตนเป็นผู้ยึดมั่นในพระเจ้าอย่างเคร่งครัด ท่านผู้นี้เรียกชื่อตนเองในขณะประกอบพิธีกรรมทางศาสนาว่า "อิสราเอล" (Israel) แปลว่า "มั่นคงต่อพระเจ้า" นอกจากนี้ยังได้แบ่งพวกฮิบรูออกเป็น 12 กลุ่ม แล้วแต่งตั้งบุตร 12 คนของเขาเป็นหัวหน้า ปกครองกลุ่ม ๆ ละ 1 คน พวกฮิบรูจึงเรียกชื่อพวกตนเองว่า "อิสราเอลไลท์" (Israelite) แปลว่า "ลูกของอิสราเอล" นับแต่นั้น ต่อมาโจเซฟบุตรชายคนหนึ่งของยาคอบ มีโอกาสเข้าไปรับราชการในราชสำนักของกษัตริย์อียิปต์ทำความดีความชอบ ที่โปรดปรานของฟาโรห์จนได้รับแต่งตั้งเป็นอัครมหาเสนาบดี ระยะนั้นพวกฮิบรูได้พากันอพยพเข้าไปอาศัยอยู่ในประเทศอียิปต์เป็นจำนวนมาก พวกฮีบรูมีร่างกายแข็งแรง ขยันขันแข็งในการทำงานและมีความทรหดอดทนต่อความยากลำบาก เมื่อสิ้นบุญใจเซฟแล้ว ฟาโรห์องค์ต่อมาได้เกิดไม่ไว้ใจเกร่งว่าพวกฮิบรูจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ จึงแยกฮิบรูให้ไปอยู่รวมกลุ่มกันต่างหาก จากพวกตนลดฐานะลงเป็นทาสและเกณฑ์แรงงานไปใช้ในการก่อสร้างพีระมิด พวกฮบรูยิ่งได้รับความทุกข์ยากลำบาก ปริมาณประชากรกลับยิ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนฟาโรห์ต้องมีคำสั่งให้ประหารชีวิตเด็กเกิดใหม่เป็นจำนวนมากอย่างไรก็ตาม ครั้งนั้นปรากฏว่าทารกชาวฮิบรูผู้หนึ่งรอดตายจากคำสั่งประหาร เพราะมารดานำเด็กใส่แพลอยน้ำ ทารกนั้นเป็นเด็กชาย เจ้าหญิงอียิปต์องค์หนึ่งพบเข้าและนำไปอุปการะ ตั้งชื่อว่า "โมเสส" (Moses) แปลว่า "ผู้รอดตายจากน้ำ" เมื่อโมเสสเติบโตขึ้นเป็นผู้มีสติปัญญาดีและได้รับการศึกษาสูงเยี่ยงเจ้าชายองค์หนึ่ง โมเสสมีจิตเมตตา สงสารพวกฮิบรูที่เป็นทาสถูกเกณฑ์แรงงานสร้างพีระมิดให้ฟาโรห์ และถูกผู้คุมทำทารุณกรรมต่าง ๆ ถึงกับสังหาร ผู้คุมชาวอียิปต์ที่ทารุณนั้น และลาออกจากตำแหน่ง หน้าที่ราชการ มาเป็นหัวหน้าวางแผนพาพวกฮิบรูหลบหนี จากอียิปต์ไปสู่ประเทศปาเลสไตน์ เป็นผลสำเร็จดินแดนแห่งนี้พวกฮิบรูถือว่าเป็นดินแดนแห่งพันธสัญญา แห่งพระเจ้า ที่ทรงประทาน ให้แก่พวกเขา ที่ปาเลสไตน์
โมเสสได้รับการยกย่องนับถือจากประชาชน ที่ตนพา หลบหนีจาก ประเทศ อียิปต์ตลอดจนพวกอิสราเอลไลท์ ที่อาศัยอยู่ในปาเลสไตน์ จึงได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้า ณ ดินแดนแห่งนี้ โมเสส ได้วางรากฐานที่สำคัญให้แก่สังคมฮิบรู คือ
1) จัดทำกฎหมายและกำหนดระเบียบการปกครองพวกอิสราเอลไลท์ขึ้น กฎหมายและระเบียบการปกครองดังกล่าว มีสารที่สำคัญ คือให้ถือว่าพระเจ้าทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุดของชาวอิสราเอลไลท์ พระเจ้าทรงมอบหน้าที่ให้ผู้แทนของพระองค์ (ซึ่งได้มาโดยการเลือกตั้ง) เรียกว่า "ยัดซ์" (Judge) แปลว่า "ผู้วินิจฉัย" ทำหน้าที่เป็นตุลาการพิพากษาคดี แผ่นดินทั้งหมด เป็นสมบัติของพระเจ้า ห้ามซื้อขาย ผู้ใดฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับข้อห้ามทางศาสนาจะต้องได้รับโทษอย่างหนัก ผู้กระทำผิด ทางอาญาเช่นไร จะต้องได้รับโทษตอบแทนในทำนองเดียวกัน (ตาต่อตาฟันต่อฟัน)
2) ด้านศาสนา กำหนดให้มีพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว คือ "ยาเวห์" หรือ "ยะโฮวา" (Yaveh,Yahoveh) พระเจ้าทรง ประทานกฎแห่งความประพฤติ (ศีล) แก่ประชาชน 10 ประการ เรียกว่า "บัญญัติ 10 ประการ" (Ten Commanments)
เมื่อ โมเสสถึงแก่กรรม ปรากฏว่าพวกฮิบรูมีความสามัคคีและมีกำลังเข้มเข็งขึ้น โจชัว คนสนิทของโมเสสสามารถยกกำลังแย่งชิงดินแดน ของพวกเคนันไนท์ได้ นับแต่เริ่มอพยพเข้ามาอยู่ในปาเลสไตน์จนยึดอาณาจักรคานาอันของพวกเคนันไนท์ได้ พวกอาราเอลไลท์ ไม่เคยมีกษัตริย์ปกครอง จึงไม่สามารถรวมพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ทั้งหมด เมื่อตั้งบ้านเมืองใต้ก็ถูกรุกราน จากศัตรูใกล้เคียงพวก ฟิลิสติน (Philistine) ซึ่งอพยพจากเกาะครีต (Crete) เข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่แถบชายทะเล ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปาเลสไตน์ พวกอามอไรท์และฮิตไตท์จากทางเหนือ ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีกษัตริย์ปกครอง พวกอิสราเอลไลท์ได้พร้อมใจกันเลือกหัวหน้ากลุ่มที่เข้มแข็งในการสงครามผู้หนึ่ง ชื่อ "ซอล" (Saul) ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรก เมื่อประมาณ 1050 ปี ก่อนคริสต์กาล สมัยที่พระเจ้าซอล ปฐมกษัตริย์ปกครองพวกอิสราเอลไลท์ พระองค์มิได้สร้างบ้านเมืองและพระราชวังเป็นที่ประทับ ยังคงประทับในกระโจมซึ่งพร้อมที่จะเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก ตอนต้นสมัยแห่งรัชกาลของพระองค์ทรงทำสงครามชนะ พวกฟิลิสติน แต่ปลายรัชกาลทรงประสบความปราชัย ต่อมาทรงมีพระสติวิปลาสถึงกับพระชนม์พระองค์เองหลังจาก พระเจ้าซอลสิ้นพระชนม์แล้ว พวกอิสราเอลไลท์ได้เลือกอดีตข้าราชสำนักของพระเจ้าซอลผู้สามารถในการสงคราม และกล้าหาญที่ถูกพระเจ้าซอลเนรเทศ ขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าดาวิด (David) พระเจ้าดาวิดทรงครองราชย์ อยู่ระหว่าง 1705-993 ปี ก่อนคริสต์กาล สมัยของพระองค์นับได้ว่า เป็นสมัยแห่งความรุ่งโรจน์ ของพวกอิสราเอลไลท์ ทรงตีได้นครเยรูซาเลมของพวกเคนันไนท์และสถาปนาอาณาจักรยูดาห์ (Udah) ขึ้น ณ บริเวณเนินสูงยูเดีย และสมัยนี้เองที่พวกฮิบรูหรืออิสราเอลไลท์ เรียกตัวเองว่า "ยูดาย" หรือ "ยิว" (Jew) สิ้นรัชสมัยพระเจ้าดาวิด พระเจ้าโซโลมอน โอรสพระเจ้าดาวิดทรงทำให้อาณาจักรยูดาห์มั่งคั่ง และรุ่งโรจน์ถึงขีดสุด ทรงสร้างวัดและโบสถ์วิหารงดงามขึ้นในอาณาจักรยูดาห์ ทรงทำนุบำรุงศาสนาประจำชาติของยิวให้เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็น อย่างมาก . อย่างไรก็ตาม ปลายรัชกาลพระเจ้าโซโลมอนทรงปล่อยให้ลัทธิศาสนาฟินิเชียนและอียิปต์ ซึ่งบูชารูปเคารพและนับถือเทพเจ้า หลายองค์ เข้ามาเผยแผ่ทางภาคเหนือ ทำให้ประชาชนทางเหนือพากันรับนับถือเทพเจ้าของลัทธิศาสนาอื่นมากขึ้น ประชาชนทาง ใต้ซึ่งเคร่งครัดในลัทธิศาสนาเดิมของตน ต่างพากันชิงชังพวกฝ่ายเหนือ ขณะเดียวกันพวกฝ่ายเหนือซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจ ดีกว่าพวกทางใต้ ก็ไม่พอใจที่กษัตริย์ของตนทำนุบำรุงศาสนาแต่เฉพาะทางใต้ ดังนั้น เมื่อพระเจ้าโซโลมอนสิ้นพระชนม์ เมื่อ ปี 953
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%A5