ปุ๋ยน้ำชีวภาพ หรือที่เรียกว่าน้ำหมักจุลินทรีย์ ขยะหอม น้ำสกัดชีวภาพ หรือ EM (Effective Microorganisms) คือ สารละลายที่ได้จากการย่อยสลายเศษวัสดุเหลือใช้จากส่วนต่างๆของพืชหรือสัตว์ โดยการหมักในสภาพไร้อากาศ
ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่หมักจนได้ที่แล้วจะมีสีน้ำตาลเข้ม ซึ่งประกอบด้วยสารอาหาร ดังนี้
- ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
- ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน
- ธาตุอาหารเสริม ได้แก่ เหล็ก ทองแดง แมงกานีส
ปุ๋ยน้ำชีวภาพ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ผลิตจากพืชหรือขยะเปียก ได้แก่ เศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้รสเปรี้ยว เศษผลไม้สีแดงสีเหลือง พืชสมุนไพร
- ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ผลิตจากสัตว์ ได้แก่ ปลา หอยเชอรี่
ปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตจากพืชหรือขยะเปียก
ส่วนผสม
- เศษวัสดุเหลือใช้ 0.5 ถัง
- กากน้ำตาล 1 ลิตร
- น้ำหมักจุลินทรีย์ 1 ลิตร
- น้ำสะอาด 0.5 ถัง
อุปกรณ์
- ถังพลาสติกมีฝาปิดขนาด 20-40 ลิตร
- ถุงปุ๋ย
วิธีทำ
- เติมน้ำสะอาดลงในถังพลาสติก จากนั้นเติมกากน้ำตาลและหัวเชื้อจุลินทรีย์ ผสมให้เข้ากัน
- นำเศษวัสดุใส่ถุงปุ๋ย ผูกปากถุง แล้วนำไปแช่ให้จมเป็นเวลา 7 วัน โดยเก็บในที่ร่ม
ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ผลิตจากสัตว์
ส่วนผสม
- เศษวัสดุเหลือใช้ 0.5 ถัง
- กากน้ำตาล 1 ลิตร
- น้ำหมักจุลินทรีย์ 1 ลิตร
- น้ำสะอาด 0.5 ถัง
อุปกรณ์
- ถังพลาสติกมีฝาปิดขนาด 20-40 ลิตร
- ไม้สำหรับคน
วิธีทำ
- เติมส่วนผสมทั้งหมดลงในถังแล้วปิดฝา หมักไว้ในที่ร่ม เป็นเวลา 1-2 เดือน
- คนส่วนผสมอย่างสม่ำเสมอในระหว่างการหมัก เพื่อให้เกิดการย่อยสลายดีขึ้น
ประโยชน์ของปุ๋ยน้ำชีวภาพ
ประโยชน์ของปุ๋ยน้ำชีวภาพ
- ใช้เป็นหัวเชื้อในการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์
- ใช้ในการกำจัดน้ำเสียและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- ใช้ทำความสะอาดพื้นที่เลี้ยงสัตว์
- ใช้บำบัดกลิ่นเหม็นต่างๆ เช่น ห้องส้วม กองขยะ ท่อระบายน้ำ
- ใช้แทนปุ๋ยเคมี
ข้อควรระวังเกี่ยวกับปุ๋ยน้ำชีวภาพ
- การควบคุมปริมาณกากน้ำตาล เพื่อป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็นระหว่างการหมัก
- การควบคุมการใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ โดยไม่ใช้ติดต่อกันหลายวันและ.ใช้ปริมาณที่เข้มข้นสูง