8 เมษายน พ.ศ. 2327 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ พระครูสิทธิชัย (กระต่าย) สร้าง เสาชิงช้า บริเวณหน้าวัดสุทัศน์เทพวราราม เสาชิงช้าทำด้วยไม้สักทาสีแดงชาดสูงประมาณ 21 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางฐานกลมประมาณ 10.5 เมตร ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2492 เสาชิงช้าใช้ใน พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ พิธีตรียัมปวาย เป็นการต้อนรับพระอิศวร หนึ่งในเทพเจ้าของของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งจะเสด็จลงมาสู่โลกในวันขึ้น 7 ค่ำเดือนยี่ วันนั้นจะมีการแห่พระเป็นเจ้าไปถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัว พิธีโล้ชิงช้ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมจัดในเดือนอ้าย (ธันวาคม) ครั้นเมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์จึงได้เปลี่ยนมาทำในเดือนยี่ (มกราคม) ต่อมาได้ยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 7 ทั้งนี้ เสาชิงช้าได้ชำรุดและมีการซ่อมแซมอยู่หลายครั้ง ล่าสุดกรุงเทพมหานครได้ตรวจพบร่องรอยเสาชิงช้าที่ชำรุดเมื่อปี 2547 จึงทำการซ่อมแซมและเปลี่ยนเสาชิงช้าใหม่ โดยทำพิธีบวงสรวงเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2549 โดยนำไม้สักทองจำนวน 6 ต้นมาจากจังหวัดแพร่ จากนั้น กทม. จะนำเนื้อเยื่อจากไม้สักทองไปเพาะชำเป็นกล้าไม้ 1 ล้านต้นเพื่อปลูกทดแทนที่จังหวัดแพร่
รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้สร้าง เสาชิงช้า
รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้สร้าง เสาชิงช้า, รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้สร้าง เสาชิงช้า หมายถึง, รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้สร้าง เสาชิงช้า คือ, รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้สร้าง เสาชิงช้า ความหมาย, รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้สร้าง เสาชิงช้า คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!