ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

หลักเกณฑ์และรูปแบบการลงรายการบรรณานุกรม, หลักเกณฑ์และรูปแบบการลงรายการบรรณานุกรม หมายถึง, หลักเกณฑ์และรูปแบบการลงรายการบรรณานุกรม คือ, หลักเกณฑ์และรูปแบบการลงรายการบรรณานุกรม ความหมาย, หลักเกณฑ์และรูปแบบการลงรายการบรรณานุกรม คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 2
หลักเกณฑ์และรูปแบบการลงรายการบรรณานุกรม

          การเขียนบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน คือการเขียนในรูปแบบของ American Psychological Association ( APA ) ซึ่งมีหลักเกณฑ์การลงรายการตามประเภทของทรัพยากรสารนิเทศ โดยจะต้องลงรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

บรรณานุกรมหนังสือ

รูปแบบ

ชื่อผู้แต่ง.  ปีพิมพ์.  ชื่อเรื่อง.  ลำดับที่หรือเล่มที่ (ถ้ามี).  ครั้งที่พิมพ์.  สถานที่พิมพ์:  สำนักพิมพ์.
หลักเกณฑ์การลงรายการ มีดังนี้
          1. ผู้แต่ง
               1.1 ผู้แต่งที่เป็นบุคคล
                     1.1.1 ชาวไทย ลงรายการด้วยชื่อ ตามด้วยนามสกุล ไม่ต้องใส่คำนำหน้านามอื่น ๆ เช่น นาย นาง นางสาว ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดอกเตอร์ ฯลฯ ยกเว้น ราชทินนาม ฐานันดรศักดิ์ และสมณศักดิ์ ให้คงไว้ท้ายชื่อ โดยใส่เครื่องหมายจุลภาคคั่น
                     1.1.2 ชาวต่างประเทศ ลงรายการด้วย ชื่อสกุล ตามด้วยชื่อต้น ชื่อกลาง (ถ้ามี) โดยใส่เครื่องหมายจุลภาคคั่น
                     1.1.3 ผู้แต่ง 2 คน ให้ใช้คำว่า “และ” ระหว่างชื่อทั้งสอง สำหรับภาษาอังกฤษใช้คำว่า “and”
                     1.1.4 ผู้แต่ง 3 คน ให้ใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างคนแรกกับคนที่สอง ใช้คำว่า “และ” คั่นระหว่างคนที่สองกับคนที่สาม สำหรับภาษาอังกฤษใช้คำว่า “and” 
                     1.1.5 ผู้แต่งมากกว่า 3 คน ให้ลงรายการชื่อผู้แต่งคนแรกตามด้วยเครื่องหมายจุลภาคคั่นและมีคำว่า “และคนอื่นๆ” สำหรับภาษาอังกฤษใช้คำว่า “and others” หรือ “et al.” 
                     1.1.6 ผู้แต่งที่มีฐานะเป็นผู้รวบรวมหรือ บรรณาธิการ ให้มีคำว่า “ผู้รวบรวม” หรือ “บรรณาธิการ” ไว้ท้ายชื่อสกุล โดยใส่เครื่องหมายจุลภาคคั่น ระหว่างชื่อผู้แต่งและคำดังกล่าว สำหรับภาษาอังกฤษใช้คำว่า “comp.” หรือ “comps.” แทนผู้รวบรวม และ “ed.” หรือ “eds.” แทนบรรณาธิการ
               1.2 ผู้แต่งที่เป็นสถาบัน เช่น หน่วยราชการ สถาบันการศึกษา สมาคม สโมสร โรงพยาบาล ธนาคาร ฯลฯ ให้ลงชื่อสถาบันนั้น ๆ โดยให้ลงหน่วยงานใหญ่ไปหาหน่วยงานย่อย โดยใช้เครื่องหมายมหัพภาค ( . ) คั่นระหว่างชื่อหน่วยงาน ในกรณีที่หน่วยงานย่อยเป็นที่ รู้จักให้ลงรายการด้วยชื่อหน่วยงานนั้น เช่น
               กระทรวงมหาดไทย
               สำนักนายกรัฐมนตรี
               กรมวิทยาศาสตร์สุขภาพ
               กองหอสมุดแห่งชาติ
               ธนาคารกรุงเทพ
               โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
               สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
               มหาวิทยาลัยพายัพ. ภาควิชาการตลาด
          2. ชื่อเรื่อง ให้ลงรายการตามที่ปรากฏในหน้าปกใน ขีดเส้นใต้ที่ชื่อเรื่อง (อาจใช้ตัวหนาหรือตัวเอน) ถ้ามีลำดับที่หรือเล่มที่ให้ใส่ไว้ต่อจากชื่อเรื่อง
          3. ครั้งที่พิมพ์ ให้ลงเฉพาะหนังสือที่มีการพิมพ์ตั้งแต่ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป โดยลงรายการต่อจากชื่อเรื่อง หรือเล่มที่ (ถ้ามี)
          4. สถานที่พิมพ์, สำนักพิมพ์ และ ปีที่พิมพ์ ให้ระบุตามที่ปรากฏในหนังสือ สถานที่พิมพ์ ให้ลงรายการด้วยชื่อจังหวัด สำนักพิมพ์ให้ลงรายการด้วยชื่อสำนักพิมพ์ โดยตัดคำว่าสำนักพิมพ์ออก ในกรณีที่ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์ให้ใช้ชื่อโรงพิมพ์แทน โดยระบุคำว่า โรงพิมพ์ ด้วย สำหรับปีพิมพ์ให้ลงเฉพาะเลข คำว่า พ.ศ.หรือ ค.ศ. ให้ตัดออก 
          ถ้าหนังสือไม่ปรากฏชื่อสถานที่พิมพ์ให้ใส่ว่า ม.ป.ท. สำหรับหนังสือภาษาไทย และ N.p. (no place of publication) สำหรับหนังสือภาษาต่างประเทศ ถ้าไม่ปรากฏสำนักพิมพ์ให้ใส่ว่า ม.ป.พ. สำหรับหนังสือภาษาไทย และ n.p. (no publisher) สำหรับหนังสือภาษาต่างประเทศ และถ้าไม่ปรากฎปีที่พิมพ์ ให้ใส่ว่า ม.ป.ป. สำหรับหนังสือภาษาไทย และ n.d. (no date of publication) สำหรับหนังสือภาษาต่างประเทศ

ตัวอย่าง
เรณู โกศินานนท์. 2540. ดนตรีคือภาษา . กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. 2545. การคิดเชิงมโนทัศน์. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.
Dunleavy, Patrick. 1991. Democracy, Bureaucracy and Public Choice. New York:
                     Harvester Wheatsheaf.

หลักเกณฑ์และรูปแบบการลงรายการบรรณานุกรม, หลักเกณฑ์และรูปแบบการลงรายการบรรณานุกรม หมายถึง, หลักเกณฑ์และรูปแบบการลงรายการบรรณานุกรม คือ, หลักเกณฑ์และรูปแบบการลงรายการบรรณานุกรม ความหมาย, หลักเกณฑ์และรูปแบบการลงรายการบรรณานุกรม คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu