ประชาธิปไตยครึ่งใบ (Semi Democracy) คือ ระบบการปกครองที่เป็นการผสมระหว่างระบบประชาธิปไตยและระบบเผด็จการ กล่าวคือ ในการปกครองแบบนี้มีลักษณะพิเศษโดย รัฐสภาประกอบไปด้วยกลุ่มข้าราชการและเทคโนแครตกลุ่มหนึ่ง และกลุ่มนักธุรกิจนักการเมืองอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่กลุ่มเดียวครองอํานาจแบบในยุครัฐข้าราชการ
ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบในประเทศไทย
สังคมไทยเคยถูกปิดกั้นอยู่ในเผด็จการมานานกว่า 40 ปี จนวันที่ 14 ตุลาคม 2516 สังคมไทยกลายเป็นประชาธิปไตยอย่างรวดเร็ว จึงเกิดความวุ่นวายขึ้นเพราะมีการเรียกร้องมาจากหลาย ๆ ส่วนของสังคมในคราวเดียวกันโดยเฉพาะจากพวกเสรีนิยมสุดขั้ว ผลจากยุค “ประชาธิปไตยเบ่งบาน” และการคืบคลานของลัทธิคอมมิวนิสต์ทําให้ความชอบธรรมของประชาธิปไตยค่อย ๆ อ่อนแรงลงไปทุกที จึงส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ขึ้น หลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เป็นต้นมา ความชอบธรรมของระบอบประชาธิปไตยหลังจากการนองเลือดของนักเรียนนักศึกษาก็ถูกตั้งคําถาม ประชาชนเริ่มเรียกร้องรัฐบาลเผด็จการแบบจอมพลสฤษดิ์อีกครั้งหนึ่งประกอบกับประเทศไทยในขณะนั้นกําลังหวาดกลัวต่อชัยชนะของคอมมิวนิสต์ในประเทศเพื่อนบ้านในปี 2517 ซึ่งได้ตอกยํ้าคําพูดของกองทัพว่าคอมมิวนิสต์จะเข้ามาแทรกแซงประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประชาชนจึงมองว่ารัฐบาลที่ได้มาโดยระบอบประชาธิปไตยไม่สามารถจัดการกับปัญหาภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์ได้ ในเดือนตุลาคม2520 ทหารจึงเข้าไปรัฐประหารรัฐบาลรัฐบาลของนายธานินทร์ออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้ซึ่งได้รับการเชื่อมั่นในความเก่งกล้าสามารถในการต่อสู้กับขบวนการคอมมิวนิสต์และได้รับความสนับสนุนจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีและเข้าสู่ยุคของประชาธิปไตยครึ่งใบ
จุดสิ้นสุดยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ
ในช่วงแรกของระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบอํานาจของข้าราชการมีมากกว่านักธุรกิจ แต่ผลประโยชน์นี้สามารถจัดสรรได้อย่างปรองดอง แต่ในที่สุดแล้วผลประโยชนของทั้งสองกลุ่มได้เกิดความแตกแยกกัน เพราะนักการเมืองและนักธุรกิจเริ่มมีอํานาจมากขึ้นทุกที และเริ่มท้าทายอํานาจของข้าราชการ ทั้งสองฝ่ายทะเลาะกันด้วยเรื่องที่สําคัญคือเรื่องเงินงบประมาณ โดยนักการเมืองต้องการงบประมาณไปพัฒนาท้องถิ่นของตัวเองในขณะที่กองทัพต้องการเก็บงบประมาณทางความมั่นคงเอาไว้ จนในที่สุดพลเอกเปรมต้องก้าวลงจากตําแหน่ง เนื่องจากไม่สามารถควบคุมความขัดแย้งของสองฝ่ายการเมืองได้ รัฐบาลใหม่ซึ่งนํ าโดยพลเอกชาติชาย ชุณหะวันจึงมารับช่วงต่อ จุดจบของรัฐบาลชาติชายคือความไม่ลงรอยกันของเผด็จการทหารและนักธุรกิจการเมือง เนื่องจากนักการเมืองและกองทัพก็ยังตกลงกันไม่ได้ในหลาย ๆ ประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องงบประมาณด้านการทหาร การเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ และในเรื่องนโยบายต่างประเทศ ความตึงเครียดในประเด็นต่าง ๆ ที่กล่าวมาได้นํามาสู่การทนไม่ได้อีกต่อไปของฝ่ายผู้นําทหาร ซึ่งเป็นสาเหตุที่สําคัญในการนําไปสู่การรัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2534 โดยคณะทหาร ซึ่งเรียกตัวเองว่าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)