นักกีฬาผู้ชนะเลิศการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศยุโรป ประเภทกระโดดสูง (สถิติโลก) ในปี 1938 ภายหลังจากปี 1955 นักกีฬาคนเดียวกันนี้ได้ใช้ชีวิตแบบผู้ชาย เป็นตัวอย่างของนักกีฬาชายที่ปลอมแปลงตัวเพื่อเข้าแข่งกีฬาประเภทของผู้หญิง
ในกีฬาหลายประเภท จำเป็นต้องมีการแยกประเภทหญิงและชาย เนื่องจากความแตกต่างทางสรีระของผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งมีผลต่อความสามารถทางกีฬา ดังนั้นเพื่อป้องกันมิให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีก ในปี 1966 ในการแข่งขันกรีฑานานาชาติ ที่กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี เป็น ครั้งแรกที่ให้มีการตรวจสอบเพศของนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน โปรแกรมการแข่งขันของผู้หญิง เพื่อป้องกันไม่ให้มีการปลอมแปลงของผู้ชายเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันในกีฬาประเภทหญิง โดยใช้การตรวจดูอวัยวะเพศโดยแพทย์ ปรากฎว่าวิธีการดังกล่าวได้รับการต่อต้านอย่างมากจากนักกีฬาหญิงที่เข้าร่วมการแข่งขัน นักกีฬาหญิงจำนวน 6 คน ได้ถอนตัวออกจากการแข่งขันดังกล่าว หนึ่งในจำนวนนั้น เป็นนักกีฬาที่มีสถิติโลกรวมอยู่ด้วย
ต่อมาในปี 1966 ในการแข่งขันกีฬา Commonwealth Games ที่ประเทศ จาไมก้า ก็ยังคงมีการใช้การตรวจเพศในลักษณะเดิมอีก แต่สมาคมกีฬาของนานาประเทศต่างก็ไม่เห็นด้วยกับวิธีดังกล่าว ในปีถัดมาทาง IOC (International Olympic Comitte) ได้พยายามหาวิธีการใหม่ เพื่อใช้ในการตรวจเพศ
ในปี 1968 ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่ประเทศเมกซิโก ทาง IOC ได้เสนอวิธีการใหม่ในการตรวจเพศนักกีฬาหญิง โดยการตรวจ sex chromatin จากเซลล์บริเวณกระพุ้งแก้ม ในการตรวจจะนำไม้พันสำลีขูดเอาเซลล์บริเวณกระพุ้งแก้มออกมา ทาบนสไลด์ แก้วแล้วนำไปย้อมสี ในกรณีของผู้หญิงปกติพบว่ามีจุดสีน้ำเงินเข้มบนนิวเคลียส 1 จุด (sex chromatin) ในขณะที่ผู้ชาย จะไม่พบจุดสีดังกล่าว
จุดสีที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากในผู้หญิงที่มี X โครโมโซม 2 แท่ง แท่งหนึ่งจะทำงานได้ตามปกติ (active X) ขณะที่อีกแท่ง หนึ่ง จะทำงานเพียงบางส่วนของแท่งโครโมโซม (inactive X) ดังนั้นในขณะที่เซลล์มีการแบ่งตัว X แท่งนี้ จะแบ่งตัวได้ช้ากว่า และมัก จะขด กันเป็นก้อนกลม ทำให้เห็นเป็นจุดสีดังกล่าว ในขณะที่ผู้ชายมี X เพียงแท่งเดียว จะเป็น X ที่ทำงานเต็มที่อย่างเดียวจึงไม่มี sex chromatin ให้ตรวจพบได้
วิธีการตรวจดังกล่าวถูกนำมาใช้ตรวจเพศในการแข่งขันโอลิมปิค ในครั้งต่อๆ มา หลังจากปี 1968 ไม่มีการตรวจอวัยวะเพศโดยตรงอีก อย่างไรก็ตาม วิธีการตรวจหา sex chromatin ก็ยังมีข้อจำกัดอีกหลายอย่าง
ประการแรก เซลล์ใน ผู้หญิง ปกติจะสามารถตรวจพบ sex chromatin ได้เพียง 20-30% ของเซลล์เท่านั้น ไม่ใช่ทุกเซลล์ที่จะตรวจพบได้ จากข้อจำกัดนี้เป็นไป ได้ว่า ผู้หญิงปกติก็อาจจะตรวจไม่พบ sex chromatin ได้เช่นกัน
ประการต่อมา ในโรคบางอย่างที่มีความผิดปกติของโครโมโซมเพศ ในผู้หญิงบางคนทำให้ ไม่สามารถตรวจพบ sex chromatin ได้ ทั้งๆ ที่ความผิดปกติอันนั้นไม่ได้ให้ ข้อได้เปรียบกว่าผู้หญิงทั่วๆไปเลย หรือในกรณีบางโรค ที่ให้ข้อได้เปรียบทางสรีระแต่ไม่สามารถตรวจพบได้โดยวิธีการนี้ เช่นในกรณีที่มีโครโมโซมเพศเป็น XXY ทาง IOC เองก็ตระหนักถึง ข้อจำกัดต่างๆเหล่านี้ ได้มีการประกาศว่าถ้าในกรณีที่ผลตรวจออกมา ไม่พบ sex chromatin ในหญิงคนนั้น จะให้มีการตรวจสอบ โดยวิธีอื่นๆ ที่แม่นยำยิ่งกว่าเพิ่มเติม ได้แก่ การตรวจโครโมโซมจากเม็ดเลือดขาว การตรวจปริมาณฮอร์โมนเพศ และ การตรวจ อวัยวะเพศโดยสูติแพทย์ แต่ในความเป็นจริง ถ้ามีการตรวจพบว่าไม่พบ sex chromatin ให้นักกีฬาหญิงคนใด ส่วนใหญ่แล้วทาง ผู้จัดการทีมมักจะให้ถอนตัวจากการแข่งขันเลย โดยไม่ต้องการการตรวจเพิ่มเติมอย่างไร ทำให้นักกีฬาหญิงเหล่านั้น หมดโอกาส ที่จะเข้า ร่วมการแข่งขันได้อีก และยังทำให้ มีปัญหาทางจิตใจและสังคม เป็นที่อับอายยิ่งนัก
ดังนั้นการใช้ sex chromatin จึงถูกปฏิเสธจากหลายแห่งด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขัน Commonwealth game ในปี 1969 หรือในปี 1988 ในการแข่งขันโอลิมปิค ฤดูหนาว ที่ประเทศคานาดา และการแข่งขันโอลิมปิคฤดูหนาว ในประเทศเดนมาร์ค ในปี 1991 ซึ่งไม่มีการตรวจเพศ ในนักกีฬาหญิงเลย เนื่องจากการทดสอบโดยใช้ sex chromatin ไม่เป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิทยาศาสตร์ เพราะว่าเกิดความผิดพลาดในการตรวจได้ง่าย การตรวจโครโมโซมจากเม็ดเลือดขาว เป็นเทคนิคที่ตรวจ โครโมโซมเพศได้แม่นยำที่สุด แต่เนื่องจากในการตรวจ แต่ละครั้งเทคนิค ค่อนข้างยุ่งยาก ราคาแพง และจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการอ่านผล จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการตรวจคนปริมาณมากๆ ในคราวเดียว
ด้วยข้อจำกัดต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ทาง IAAF (International Amateur Athletic Federation) ได้ยกเลิกการตรวจเพศ แต่ได้ให้นักกีฬาทั้งชายและหญิงที่เข้าร่วมการแข่งขัน ต้องมีการตรวจร่างกายก่อนการเข้าแข่งขัน ซึ่งเป็นการทดสอบความพร้อมของนักกีฬาด้วย โดยใช้แพทย์ที่ได้รับการรับรองจากประเทศของตนเอง วิธีการนี้ได้เริ่มใช้เป็นครั้งแรก ในปี 1991 ในการแข่งขันกรีฑา ชิงแชมป์โลก ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น วิธีการดังกล่าวเป็นที่ยอมรับเป็นอย่างดีของนานาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ ผู้จัดการทีม หรือในส่วน ของนักกีฬา ผลปรากฎว่าจากประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันประมาณ 20 ประเทศมีประเทศที่ได้ทำการตรวจร่างกายมาแล้วประมาณ 16 ประเทศ
ส่วนทาง IOC ยังไม่มีมาตรการในยกเลิกการตรวจเพศ เนื่องจากเกรงว่าจะมีผู้ชายปลอมแปลงเข้ามา ในการแข่งขันกีฬาประเภทผู้หญิง แต่ทาง IOC ได้ประกาศเลิกใช้การตรวจเพศโดยเทคนิค sex chromatin ในการแข่งขัน โอลิมปิคที่ Albertville และที่ Barcelona ในปี 1992 และได้หันมาใช้การตรวจหา Y chromosome (เป็นโครโมโซม เพศ ในเพศชาย) โดยวิธี PCR (Polymerase Chain Reaction) แทน
วิธีการ PCR ช่วยให้สามารถเพิ่มจำนวนยีนเป้าหมายภายในหลอดทดลอง จะช่วยเพิ่มจำนวนได้เป็นร้อยๆเท่า จนกระทั่งสามารถตรวจพบได้ เทคนิคในการตรวจในแต่ละรอบจะต้องอาศัยขั้นตอน 3 ขั้นตอนด้วยกันคือ
1. ขั้นตอน denatruration เป็นขั้นตอนที่ใช้แยกสายของ DNA ปกติจะอยู่กันเป็นคู่ ให้เป็นสายเดี่ยว โดยใช้อุณหภูมิประมาณ 90-95 ํ c
2. ขั้นตอน primer annealing ในขั้นนี้เป็นขั้นตอนที่ primer (เป็น DNA สายสั้นๆ ที่จำเพาะกับบริเวณที่ต้องการตรวจหา สามารถ เกาะ ติดกับ DNA แม่พิมพ์สายเดี่ยวตรงบริเวณลำดับเบสคู่สม ขั้นตอนนี้จะใช้อุณหภูมิที่ต่ำลง ประมาณ 50-58 ํ C
3. ขั้นตอน primer extension ในขั้นตอนนี้มีการสร้าง DNA สายใหม่ออกมาต่อจาก primer โดยมีเบสคู่สมกับ DNA แม่พิมพ์
หลังจากผ่านไปรอบแรก ถ้าเริ่มต้นมี DNA แม่พิมพ์ จำนวน 1 คู่ ก็จะทำให้มี DNA จำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 2 คู่ ซึ่งทั้งสองคู่ นี้จะกลายเป็น DNA แม่พิมพ์ เพิ่มขึ้นอีกเป็น 4 คู่ เป็นเช่นนี้เรื่อยไป หลังจากผ่านไป 20-30 รอบก็จะมีจำนวน DNA เพิ่มขึ้นอีกมากมาย เนื่องจากเวลาทำจริงๆ แล้ว DNA แม่พิมพ์ที่เริ่มต้นไม่ใช่มีเพียงคู่เดียว หลังจากนำ DNA ที่ได้จากการเพิ่มจำนวน ไปผ่านสนามไฟฟ้า บน gel (electrophoresis) และนำไปย้อมด้วยสารเรืองแสง ส่องดูภายใต้แสง UV ก็สามารถเห็นแถบของ DNA ที่ต้องการเพิ่มจำนวนได้
ในการตรวจเพศนักกีฬา ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ที่ Barcelona นั้น ได้ใช้เทคนิค PCR ในการตรวจหายีน SRY ซึ่งเป็นยีนที่ จำเพาะ อยู่บน Y chromosome ในเพศชาย ไม่พบในเพศหญิง ดังนั้นในการตรวจโดยอาศัยเทคนิคดังกล่าว 1ถ้าเป็นในเพศหญิง ก็จะไม่พบแถบ DNA ของ SRY ยีน จะคงพบแต่ในเพศชายเท่านั้นแต่อย่างไรก็ตามเทคนิคนี้เป็นที่ต่อต้านของนักพันธุศาสตร์ เป็นจำนวน มาก ว่าไม่ได้ ให้ผลดีไปกว่าการตรวจโดยใช้ sex chromatin เนื่องจากความไวของเทคนิค PCR ทำให้กรณีที่มีเซลล์เพศชาย หลงเหลือ อยู่ในภาชนะ ที่ใช้หรือในกรณีที่ติดมาจากที่อื่น ก็จะทำให้สามารถตรวจพบได้ นอกจากนี้กรณี ของผู้หญิงที่เป็น androgen insensitive ในผู้หญิง พวกนี้จะมีโครโมโซม เพศเป็น XY แต่อวัยวะเพศต่างๆ เป็นผู้หญิง และไม่มีข้อได้เปรียบเหนือกว่าผู้หญิงปกติ ถ้าตรวจโดย เทคนิค PCR จะทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ ซึ่งเป็นความผิดพลาดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับการตรวจโดย วิธี sex chromatin แต่อย่างไรก็ตามเทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่ปัจจุบันนิยมใช้ ในการตรวจเพศในนักกีฬา ในการแข่งขันหลายต่อหลายครั้งด้วยกัน เนื่องจาก เป็นวิธีที่สะดวกให้ผลเร็ว และประหยัด แม้แต่ใน
การแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ในประเทศไทย ก็ตกลงที่จะใช้เทคนิค นี้เช่นเดียวกัน และหากว่ามีความผิดปกติในนักกีฬาหญิงท่านนั้น ก็จะทำการตรวจซ้ำโดยใช้เทคนิค Fluorescence in situ hybridization (FISH) เทคนิคดังกล่าวจะตรวจโดยใช้ DNA ติดตาม ที่จำเพาะ ต่อโครโมโซม X และ Y ซึ่งติดฉลากด้วยสารเรืองแสงที่แตกต่างกัน ตัวอย่าง เช่น โครโมโซม X ติดฉลากด้วยสารสีแดง ในขณะที่ โครโมโซม Y ติดฉลากด้วยสารสีเขียว เป็นต้น แล้ว hybridize ลงบนเซลล์ ที่เตรียม จากเม็ดเลือดขาว ที่อยู่บน สไลด์แก้ว ถ้ามีโครโมโซม X และ Y อยู่ภายในเซลล์ จะพบจุดสีบนเซลล์ทั้งสีเขียวและแดง หรือใน กรณีที่เป็น ผู้หญิงปกติที่มี X 2 แท่ง ก็จะพบแต่จุดสีแดงสองจุด
ดังนั้น ถ้ามีความผิดปกติชนิดที่มี โครโมโซมเพศเป็น XXY ถ้าตรวจโดยวิธี sex chromatin ก็จะพบว่ามีจุดสีน้ำเงินเข้ม หนึ่งจุด แบบผู้หญิงปกติ ทำให้ผ่านเข้าไปแข่งขันได้ ทั้งๆที่ความจริงแล้ว ประเภทนี้จะ มีความ ได้เปรียบทางสรีระและพละกำลังเหนือผู้หญิงปกติ แต่ถ้าตรวจโดย วิธี PCR ของ SRY ยีน ก็จะพบว่า มีโครโมโซม Y อยู่ อาจจะเข้าใจว่า เป็นการโกงกันได้ แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ แต่เกิดเนื่อง จาก ความผิดปกติของโครโมโซม เพศ ดังนั้นถ้าในรายนี้ ตรวจซ้ำ โดยการใช้ FISH ก็จะ พบว่ามีจุดแดง 2 จุด และจุดเขียว1จุด ซึ่งจะ สามารถบอกได้ว่า มีโครโมโซมเพศ เป็น XXY แต่อย่างไรก็ตาม FISH เองก็ยัง คงมีข้อ จำกัด คือ ถ้าในกรณีของความผิดปกติของ โครโมโซมนั้น เป็นลักษณะ mosaic (บางเซลล์ผิดปกติบางเซลล์ปกติ) FISH จะไม่สามารถตรวจพบ ได้ ถ้าจำนวนเซลล์ที่ผิด ปกตินั้นไม่ มากถึง 40 % ของจำนวนเซลล์ทั้งหมด
ที่มา
ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.จินตนา โตเจริญธนาผล
คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
https://www.swu.ac.th/HRHday/year41/chap05.html