ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

แนวทางในการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน, แนวทางในการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน หมายถึง, แนวทางในการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน คือ, แนวทางในการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน ความหมาย, แนวทางในการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
แนวทางในการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน

เสียงไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินอันเกิดจากการทำงานเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป  การสัมผัสกับสารเคมีอย่างเช่น สารละลายที่มีกลิ่นหอม และโลหะ เช่น ตะกั่ว สารหนู และปรอท สามารถทำให้สูญเสียการได้ยินได้ การสัมผัสกับสารเคมีและเสียงพร้อมๆกัน สามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อการได้ยินได้มากกว่าการสัมผัสกับอย่างใดอย่างหนึ่ง ความสั่นสะเทือนและความร้อนสูงเมื่อรวมเข้ากับเสียง สามารถทำให้เกิดอันตรายที่รุนแรงขึ้น  การสูญเสียการได้ยินเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการทำงานที่แพร่หลาย หลักการพื้นฐานเจ็ดข้อในการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน ได้แก่

1.การติดตามการสัมผัสกับเสียง
2.การควบคุมทางวิศวกรรมและการจัดการ
3.การประเมินการตรวจวัดการได้ยิน
4.การใช้อุปกรณ์ป้องกัน
5.การให้ความรู้และการสร้างแรงจูงใจ
6.การจัดเก็บข้อมูล
7.ประเมินแผนงานในปัจจุบันมีการเพิ่มข้อแปดเข้าไป คือ
8.การตรวจสอบแผนป้องกันการสูญเสียการได้ยิน

การตรวจสอบแผนป้องกันการสูญเสียการได้ยิน
ตาม หลักการแล้ว การตรวจสอบแผนการป้องกันการสูญเสียการได้ยินควรจะต้องดำเนินการอย่างระมัด ระวังก่อนนำมาบังคับใช้ หรือ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงแผนที่ใช้งานอยู่ วิธีที่ดีที่สุดคือการตรวจสอบจากฝ่ายบริหารลงมาโดยจะต้องคำนึงถึงผลที่จะเกี่ยวข้องกับระเบียบข้อบังคับ การจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่ดี ความจำเป็นในการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนนโยบาย เพื่อให้เกิดเชื่อมั่นได้ว่าจะจัดหาทรัพยากรได้อย่างเพียงพอ และการมอบอำนาจให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติตามแผนงานประจำวัน โดยจะต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ในการประเมินการได้ยิน การนำเอาการควบคุมทางด้านวิศวกรรมและการจัดการมาใช้ รวมถึงการมีส่วนร่วมของหัวหน้างานที่เกี่ยวข้องในแผนงาน ระบบการตรวจวัดการได้ยินและการจัดเก็บข้อมูลจำเป็นจะต้องให้ความสนใจตั้งแต่วิธี การบันทึกความสามารถในการได้ยิน และองค์ประกอบอื่นๆที่จะมีผลต่อแผนงาน ซึ่งจะทำให้แผนงานเกิดขึ้นหรือต้องหยุดไป ควรมีการวางแผนในการให้ความรู้พนักงานและผู้บริหาร และมีการชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จและความล้มเหลวที่เคยเกิดขึ้น กรณีที่ไม่สามารถลดระดับเสียงลงจนไม่ทำให้เกิดอันตรายได้ในแผนงานควรจะต้องจัดหาและ ฝึกอบรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันด้วย

การตรวจวัดอันตรายที่เกิดต่อการได้ยิน
ฝ่าย บริหารควรตั้งเป้าหมายในการสำรวจระดับเสียง และต้องแน่ใจว่าการทำงานเป็นไปตามขั้นตอนและมีการจัดหาอุปกรณ์และทรัพยากร พร้อมในการจัดเก็บและประเมินวัดผลในการเก็บและวิเคราะห์การตรวจอาการหูหนวก เนื่องจากเสียงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหูหนวกได้มากที่สุด ในส่วนนี้จึงให้ความสนใจกับการตรวจสอบระดับเสียง ในกรณีหูหนวกที่เกิดจากสารเคมี จะพบขั้นตอนการวิเคราะห์ที่ระบุไว้ในคู่มือวิธีการวิเคราะห์ ที่ระบุถึง การเก็บตัวอย่างสารเคมี จำนวนตัวอย่างที่เก็บ และการวิเคราะห์สารเคมีที่พบ สำหรับสารเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย  ต้องมีการ รายงานผลการตรวจสอบเสียงและการตรวจสอบอื่นๆกับผู้ดูแลแผนการป้องกันการสูญ เสียการได้ยิน และพนักงาน ผู้ดูแลแผนการป้องกันการสูญเสียการได้ยินต้องประสานงานกับพนักงานฝ่ายผลิต เพื่อที่จะตรวจสอบตัวอย่างการผลิตหรือกระบวนการผลิต และ ระดับเสียงที่เป็นอันตราย

การควบคุมทางด้านวิศวกรรมและการจัดการ
ตาม หลักการแล้ว การควบคุมทางวิศวกรรมควรจะลดหรือกำจัดกับการสัมผัสกับเสียงจนถึงจุดที่ทำให้ เกิดอันตราย สิ่งสำคัญสำหรับบริษัทคือ การกำหนดให้การซื้อหรือการปรับแต่งอุปกรณ์ใหม่ที่มีระดับการเกิดเสียงดัง น้อย  ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องระบุถึงแหล่งของเสียงที่ควบคุมได้   ตั้งเป้าหมายในการควบคุม และจัดทรัพยากรที่จะทำให้สำเร็จตามเป้าหมายเป็นอับดับแรก  แหล่งที่มาของเสียงเพื่อที่จะทำให้ได้ตามเป้าหมาย  ฝ่าย จัดการควรจะจัดให้มีการควบคุมดูแลโดยการจัดตารางที่จะลดการสัมผัสกับเสียง และสารที่เป็นอันตรายต่อการได้ยิน และจัดให้มีบริเวณพักกลางวันที่เงียบและสะอาด ผู้ดูแลแผนงานต้องแน่ใจว่ามีการสื่อสารกันระหว่าง ฝ่ายบริหาร ผู้ควบคุมเสียง และพนักงานฝ่ายผลิต พนักงานต้องแจ้งให้ฝ่ายบริหาร และผู้มีหน้าที่ควบคุมทางวิศวกรรมทราบเมื่อเกิดความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบ จากเสียง และ ต้องเรียนรู้ที่จะทำงานอย่างปลอดภัย

การตรวจวัดการได้ยิน
การประเมินการตรวจวัดการได้ยิน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากต่อความสำเร็จของแผนการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน  เนื่อง จากเป็นวิธีการเดียวที่จะประเมินว่าการป้องกันได้ผลหรือไม่ ฝ่ายจัดการต้องจัดสรรเวลาและทรัพยากรอย่างเพียงพอในการดำเนินแผนการตรวจวัด การได้ยินเพื่อให้ผลการตรวจวัดการได้ยินมีความถูกต้องแม่นยำ   มิฉะนั้นแล้ว  ผลการตรวจที่ได้รับก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย  การ สื่อสารและความร่วมมือระหว่างบุคลากรในบริษัท การบริการด้านสุขภาพ และตัว0พนักงานก็มีความสำคัญ พนักงานต้องแจ้งให้ทราบเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับหู หรือการสัมผัสกับสารพิษ หรือปัญหาที่พบจากการตรวจวัดการได้ยิน  และพนักงานจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการรักษา หรือรับการรักษาทางการแพทย์หรือการประเมินผลการตรวจการได้ยินเพิ่มเติม

อุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน
เมื่อ ไม่สามารถใช้การควบคุมทางวิศวกรรมหรือการจัดการได้ อุปกรณ์ป้องกันการได้ยินเป็นวิธีการเดียวที่จะใช้ป้องกันอันตรายจากเสียง พนักงานแต่ละคนจะมีการตอบสนองต่อการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวแตกต่างกันออกไป และแผนงานที่ประสบความสำเร็จควรจะตอบสนองต่อความต้องการของแต่ละคน

การให้ความรู้และสร้างแรงจูงใจ
ฝ่ายบริหารควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกๆในการจัดให้มีการฝึกอบรมและการเลือกช่องทางในการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ   ความ รู้และความกระตือรือล้นของวิทยากรที่จะต้องทำการฝึกอบรมโดยทำให้การนำเสนอ นั้นสั้น กระชับ ง่ายและเกี่ยวข้องกับพนักงานและฝ่ายบริหารมากที่สุด

การบันทึก
ใน แต่ละส่วนของแผนงานป้องกันการสูญเสียการได้ยินจะทำให้เกิดรูปแบบในการจัด เก็บข้อมูลของตนเอง เช่น แบบฟอร์มการสำรวจเสียง การตรวจวัดการได้ยิน และประวัติทางการแพทย์  ข้อมูลต่างๆเหล่านี้ต้องนำไป รวมกับข้อมูลสุขภาพของพนักงาน การจัดเก็บประวัติเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการบาดเจ็บจนทำให้สูญเสียการได้ยินเนื่องจากอยู่ในที่ซึ่งมีเสียง ดังมักจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และไม่มีหลักฐานที่แสดงได้เหมือนเรื่องของความปลอดภัยอื่น   พนักงานจึงควรใช้ประโยชน์ระบบการจัดเก็บข้อมูลโดยการไต่ถามถึงสภาพการได้ยินโดยเฉพาะจากการตรวจวัดการได้ยินประจำปี

การวิเคราะห์แผนงาน
การวิเคราะห์แผนการป้องกันการสูญเสียการได้ยินเป็นสิ่งจำเป็นในการตรวจสอบว่า แผนงานใช้ได้จริงหรือมีปัญหาอะไรหรือไม่ ส่วนไหนที่ต้องมีการปรับเปลี่ยน

 

ที่มาข้อมูลและภาพ jorpor.com


แนวทางในการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน, แนวทางในการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน หมายถึง, แนวทางในการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน คือ, แนวทางในการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน ความหมาย, แนวทางในการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu