ชนิดสารเคมี (วัตถุเจือปน) ที่ห้ามใช้ ในอาหาร
1.สารฟอกขาว
อันตรายต่อร่างกาย
- จะเกิดอาการปวดท้อง เวียนศรีษะ อาเจียน อุจจาระร่วง ความดันโลหิตต่ำ
- ผู้ที่แพ้อย่างรุนแรง หรือผู้ป่วยโรคหอบหืด จะเกิดอาการช็อค หมดสติ และเสียชีวิต
ชนิดอาหารที่พบ
- น้ำแช่ผักผลไม้ เช่น ถั่วงอก ขิงฝอย ยอดมะพร้าว หยวกกล้วย กล้วยดิบ ฯลฯ
- ผัก ผลไม้แปรรูป เช่น ทุเรียนกวน หน่อไม้ดอง ขิงดอง สับปะรดกวน กะปิ ฯลฯ
กฎหมายกำหนด
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 62/24 ,84/27 สามารถเจือปนได้ในอาหารบางชนิด แต่สารฟอกขาวเป็นสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
2.สารบอแรกซ์
อันตรายต่อร่างกาย
- อาการเฉียบพลัน อาเจียน ท้องเสีย ผิวหนังร้อนแดง ชัก มีไข้สูง ตัวเหลือง ความดันลด หมดสติ ตายในที่สุด
- อาการเรื้อรัง ได้แก่ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาเจียน ผมร่วง ชัก และโลหิตจาง
- ทำให้ทางเดินอาหารเกิดการระคายเคือง
- เป็นพิษต่อไต และสะสมในสมอง
ชนิดอาหารที่พบ
- เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์ ( หมูบด ปลาบด ทอดมัน ลูกชิ้น หมูสด เนื้อสด ไส้กรอก ฯลฯ)
- ผลไม้ดอง
- ทับทิมกรอบ ลอดช่อง
กฎหมายกำหนด
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 151 ( พ.ศ.2536 ) กำหนดให้สารบอแรกซ์เป็นสารที่ห้ามใช้ในอาหาร ผู้ฝ่าฝืนมีโทษให้ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
- พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 กำหนด บอแรกซ์เป็นสินค้าควบคุมฉลาก ต้องมีข้อความ