ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ความเครียดและโรคซึมเศร้า, ความเครียดและโรคซึมเศร้า หมายถึง, ความเครียดและโรคซึมเศร้า คือ, ความเครียดและโรคซึมเศร้า ความหมาย, ความเครียดและโรคซึมเศร้า คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ความเครียดและโรคซึมเศร้า

            สังคมของเรากำลังถูกจู่โจมด้วยโรคซึมเศร้า จากปริมาณของผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นทุกวันนี้ เราได้เคยเหลียวมองดูคนรอบข้างด้วยหรือเปล่าว่า มีใครบ้างที่กำลังมีอาการเข้าข่ายของโรคซึมเศร้า

            โรคซึมเศร้าเป็นอาการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด ซึ่งจะเกิดความเปลี่ยนแปลง ดังนี้
            1. เปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น รู้สึกซึมเศร้า วิตกกังวลอยู่ตลอดเวลา หงุดหงิด ฉุนเฉียว โกรธง่าย อยู่ไม่สุข ลุกลี้ลุกลน กระวนกระวาย
            2. เปลี่ยนแปลงทางความคิด เช่น รู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า อยากทำร้ายตัวเอง หรือ มีความพยายามที่จะฆ่าตัวตาย
            3. เปลี่ยนแปลงทางด้านการเรียนรู้ เช่น ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ไม่สนใจเรื่องความสนุกสนาน ทำงานช้าลง เบื่อหน่ายการทำงาน ขาดสมาธิ ความจำเสื่อม การตัดสินใจแย่ลง
            4. เปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม เช่น เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ นอนน้อย หรือไม่บางคนก็กินมากเกินไป มักจะมีอาการปวดศีรษะอยู่บ่อยๆ ปวดท้อง ปวดโน่นปวดนี่อยู่เป็นประจำ ขาดมิติสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

            ความเครียด ภัยเงียบใกล้ตัว
            การใช้ชีวิตประจำวันที่เร่งรีบมากขึ้นในโลกยุคใหม่ มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องอยู่ในสภาวะกดดันภายใต้ความเครียดมากกว่าคนรุ่นก่อน ความเครียดนั้นเมื่อเริ่มเกิดขึ้นแล้วสามารถค่อยๆ สะสมมากขึ้นอย่างไม่แสดงอาการ จนกระทั่งถึงจุดที่ร่างกายไม่อาจต้านทานได้ ปัญหาบางอย่าง เช่น ความเครียดจากการทำงาน ความเจ็บป่วย การสูญเสียคนรัก ล้วนก่อให้เกิดความเครียด ลดประสิทธิภาพในการทำงานและดำรงชีวิตลง ซึ่งอวัยวะของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการหลั่งฮอร์โมนความเครียด คือ ต่อมหมวกไต
            ต่อมหมวกไต จะผลิตฮอร์โมนที่ส่งผลต่อความเครียด หากมีการหลั่งฮอร์โมนมากหรือน้อยเกินไป ทำให้ร่างกายขาดเกลือแร่โพแทสเซียม อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า เนื่องจากไม่ได้รับน้ำตาลกลูโคสและสารอาหารอื่นๆ อย่างเพียงพอ หากความเครียดดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้มีภาวะซึมเศร้า กล้ามเนื้อเกร็งตัว นอนไม่หลับ
ต่อสู้กับความเครียดด้วยกลุ่มวิตามินบีและเกลือแร่
            ภาวะเครียดอย่างสม่ำเสมออาจทำให้ต่อมหมวกไตชั้นนอกหดตัว การได้รับวิตามินและเกลือแร่ประเภทต่างๆ ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้การทำงานของต่อมหมวกไตดีขึ้น

            เกลือแร่โพแทสเซียม
            ควรจะรักษาระดับเกลือแร่โพแทสเซียม ด้วยการรับประทานเกลือแร่โพแทสเซียมอย่างน้อยวันละ 3-5 กรัม และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง
            วิตามินบี 5
            การขาดวิตามินประเภทนี้จะมีผลทำให้ต่อมหมวกไตลีบ ซึ่งแสดงอาการเหนื่อยล้า นอนหลับไม่สนิท มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และรู้สึกไม่สบายในช่องท้อง การรับประทานอาหารจำพวกธัญพืช ดอกกะหล่ำ บร๊อคโคลี มะเขือเทศ และตับจะช่วยเพิ่มวิตามินประเภทนี้ได้

            สารอาหารอื่นๆ
            วิตามิน ซี บี 5 บี 6 เกลือแร่ เช่น สังกะสี แมกนีเซียม มีความจำเป็นต่อการสร้างฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ปริมาณการรับประทานวิตามินและเกลือแร่เหล่านี้ในภาวะเครียดอาจมากกว่าปริมาณสารอาหารที่แนะนำต่อวัน ตามระดับของความเครียดที่เพิ่มมากขึ้น
            อาการเครียดและโรคซึมเศร้าเหล่านี้ มีอาการภายนอกที่สามารถพบเห็นได้ และหากผู้ใกล้ชิดสังเกตเห็นแล้วควรรีบหาทางแก้ไข จะทำให้มีโอกาสหายและรับมือได้อย่างทันท่วงที จริงอยู่ว่าชีวิตทุกวันนี้เต็มไปด้วยการแข่งขันทุกรูปแบบ ฉะนั้นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มกันมากที่สุดคือ จิตใจ ต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดี ที่ยืดหยุ่นได้ในทุกสถานการณ์


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นิตยสาร รักษ์พลังงาน ฉบับที่ 50 เดือนกรกฎาคม 2551

 

ที่มาข้อมูล villagefund.or.th
ที่มารูปภาพ teenee.com


ความเครียดและโรคซึมเศร้า, ความเครียดและโรคซึมเศร้า หมายถึง, ความเครียดและโรคซึมเศร้า คือ, ความเครียดและโรคซึมเศร้า ความหมาย, ความเครียดและโรคซึมเศร้า คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu