ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

พายุสุริยะคืออะไร, พายุสุริยะคืออะไร หมายถึง, พายุสุริยะคืออะไร คือ, พายุสุริยะคืออะไร ความหมาย, พายุสุริยะคืออะไร คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 4
พายุสุริยะคืออะไร

ปรากฏการณ์ "พายุสุริยะ" คือปรากฎการณ์ที่ทำให้ดวงอาทิตย์ส่งพลังงานประจุไฟฟ้าออกมายังโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ซึ่งประจุไฟฟ้าที่ ส่งออกมาคือสิ่งที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของ "ภูมิอากาศ" และ "ระบบธรณีวิทยา" บนโลก

แล้วปรากฏการณ์พายุสุริยะเกิดขึ้นได้อย่างไร !
การจะเกิดพายุสุริยะได้ต้องมี 3 องค์ประกอบ คือ
1) ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว
2) เกิดปรากฏการณ์เรียงตัวกันเป็นระนาบในทางช้างเผือก และ
3) มีรังสีคอสมิก

จากข้อมูลขององค์การนาซ่าแห่งสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นเจ้าพ่อใหญ่แห่งวงการอวกาศโลก ชี้แจงว่าทุกๆ 11 ปี ขั้วแม่เหล็กของดวงอาทิตย์จะกลับหัวกลับหางจากเหนือเป็นใต้ เป็นเหตุให้ "จุดดับ" บนผิวดวงอาทิตย์ออกฤทธิ์เปล่งพลังงานมหาศาลออกมาในอวกาศในลักษณะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าก่อให้เกิดรังสีต่างๆได้แก่ รังสีแกมม่า และรังสีเอ็กเรย์ ซึ่งมีผลต่อโลกในสามระดับ กล่าวคือ

1.ระดับรุนแรงที่สุด (X-Class) ทำให้คลื่นวิทยุสื่อสารล้มเหลวทั้งโลกเป็นเวลานาน อุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้การติดต่อผ่านดาวเทียมและระบบคอมพิวเตอร์จะเข้าสู่ภาวะ Blackout เรียกง่ายๆว่าระบบอิเล็กโทรนิคทั้งหลายเป็นใบ้สิ้นเชิง เราๆท่านๆที่ฝากวิถีชีวิตไว้กับโลก "ออนไลน์" คงต้องทำใจกลับไปสู่ยุคไปรษณีย์จดหมายธรรมดา นักบินมือหนึ่งที่เคยชินกับการนำร่องโดยระบบคอมพิวเตอร์และจีพีเอส ก็คงต้องหันกลับมาบังคับเครื่องแบบ "ตาดู หูฟัง" ท่านที่นิยมทำธุรกรรมออนไลน์คงต้องกลับมาสู่ระบบส่งดร๊าฟทางไปรษณีย์ และที่แน่ๆการประมูลโครงก่อสร้างระดับบิ๊กๆมหาโปรเจคหมื่นล้านที่กระทรวงการคลังคุยนักคุยหนาว่า "อี อ๊อกชั่น" คงต้องกลับมาใช้วิธียื่นซองเหมือนเดิม ส่วนบรรดาผู้มีรสนิยมไฮโซชอบเล่น 3G 4G และ Facebook คงต้องระงับความอยากไว้ชั่วคราว

2.ระดับปานกลาง (m-class) เป็นอาการเดียวกับข้อแรกแต่เกิดแบบชั่วคราว เราๆท่านๆที่เป็นนักออนไลน์ และฝากชีวิตไว้กับสื่ออิเลคโทรนิค ต้องยุติความทันสมัยชั่วคราวคงไม่ถึงกับลงแดง

3. ระดับอ่อน (c-class) ไม่มีผลอะไรเลย แบบที่วัยรุ่นเรียกว่า "ชิว ชิว"


ขณะเดียวกัน เมื่อปี 2551 องค์การนาซาได้ตรวจพบ "รูรั่ว" ในสนามแม่เหล็กโลกที่มีขนาดใหญ่กว่าที่เคยคาดไว้ และยังพบชั้นบรรยากาศของโลกที่หดตัวลงมากเป็นประวัติการณ์ ซึ่งทั้ง 2 สิ่งนี้เปรียบเสมือนสิ่งที่เป็นเกราะป้องกันรังสีจากนอกโลกไว้
ประเด็นคือยิ่งปริมาณ "รังสีคอสมิก" เข้ามามากเท่าไหร่ จะเกิดความแปรปรวนของภูมิอากาศในโลก จะมีน้ำก่อตัวมากขึ้น ที่น่าเป็นห่วงคือเมื่อปี 1978 มีนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสท่านหนึ่งเคยคาดการณ์ล่วงหน้าว่า ในช่วงเร็ว ๆ นี้ระบบสุริยะที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง กำลังจะเคลื่อนตัวเข้าสู่กลุ่มก๊าซขนาดใหญ่ในอวกาศ ทำให้มี "รังสีคอสมิก" เข้ามาในระบบสุริยะมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศบนดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะ

สมมติฐานนี้ได้ถูกคอนเฟิร์มแล้ว เมื่อปี 2009 จากข้อมูลของดาวเทียม voyager 1 และ 2 ของนาซาที่โคจรอยู่บริเวณขอบของระบบสุริยะ จึงตั้งข้อสังเกตว่า หลายประเทศ ทั่วโลกที่กำลังมีความเคลื่อนไหว อาทิ พม่าย้ายเมืองหลวงไปที่เนปิเดา ห่างชาย ฝั่งทะเล 400 กิโลเมตร เนเธอร์แลนด์สร้างบ้านลอยน้ำ อเมริกากำลังสร้างเมืองลอยน้ำ นอรเวย์ย้ายฐานทัพทหารลงใต้ดิน รัสเซียกำลัง สร้างฐานทัพและหลุมหลบภัยใต้ดิน 5 พันแห่ง ฯลฯ จะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้หรือไม่ !

สัญญาณบอกเหตุ 1-3 วัน
ย้อนกลับมาดูผลศึกษาเหตุการณ์ในอดีต พบว่าเมื่อปี 1859 พายุสุริยะเคยเกิดขึ้นทำให้ระบบสายส่งโทรเลขขัดข้อง มีเจ้าหน้าที่ถูกไฟฟ้าชอร์ตเพราะพลังงานเหล่านี้ถูกส่งผ่านจากชั้นบรรยากาศ

ถัดมายุคปัจจุบัน เริ่มจากวิกฤตอุทกภัยในภาคกลางของประเทศไทยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ปรากฏว่าเมื่อ วันที่ 22 กันยายน 2554 ได้เกิดพายุสุริยะขึ้น เป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์มีการระเบิดอย่างรุนแรง โดยหน่วยงาน spaceweather.com ของสหรัฐทำนายว่า ในวันที่ 26 กันยายน จะเกิดประจุไฟฟ้ามาตกกระทบที่ขอบโลก ด้านนอก และตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน ปริมาณน้ำก็เพิ่มขึ้นมากและเกิดน้ำท่วมต่อมา และในวันเดียวกันที่ประเทศสเปนยังมีภูเขาไฟระเบิดอีกด้วย  

ล่าสุดกับ "น้ำท่วมภาคใต้" ปรากฏว่าตรวจพบพายุสุริยะเมื่อ 26 ธันวาคม จากนั้น 28  ธันวาคม  2554 เกิดฝนตกหนัก และวันที่ 30-31 ธันวาคม 2554 น้ำก็ท่วม ส่วนการเกิดคลื่นสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ปีที่ผ่านมา ก็ตรวจพบดวงอาทิตย์มีการระเบิดอย่างรุนแรง ทำให้ "จุดดับ" บนดวงอาทิตย์เกิดการหดหรือขยายตัว จึงมีการตั้งข้อสังเกต หากจุดดับบนดวงอาทิตย์หดหรือขยายตัว จะสัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหวบนโลก นั่นหมายความว่า ก่อนจะเกิดปรากฏการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติ จะมีพายุสุริยะหรือการระเบิดของดวงอาทิตย์เกิดขึ้นก่อน เฉลี่ย 1-3 วัน

ระหว่างปี 2012-2015 ยังมีโอกาสที่ดวงอาทิตย์จะเกิดปฏิกิริยาพายุสุริยะได้ตลอด แต่  ไม่ขอฟันธงว่า ภัยพิบัติธรรมชาติจะเกิดขึ้นในเมืองไทยหรือประเทศอื่น แต่เชื่อว่าแนวโน้มสภาพอากาศ แปรปรวน ปัญหาน้ำท่วมยังคงมีอยู่ และมีโอกาสจะรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม หลังจากปี 2015 ความถี่การเกิดพายุสุริยะจะลดลง จนกว่าจะผ่านไปอีก 11 ปี ที่วงรอบการเกิดพายุสุริยะถี่จะกลับมา ระหว่างนี้ คนไทยจึงไม่ควรประมาทกับภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น "สำหรับประเทศไทย ปัญหาน้ำท่วม บอกไม่ได้ ว่าเกิดที่ไหน รุนแรงเท่าใด แต่ความเสี่ยงยังมีอยู่ ช่วงระหว่างปี 2012-2015 เมื่อคำนวณจากปรากฏการณ์พายุสุริยะ"





พายุสุริยะคืออะไร, พายุสุริยะคืออะไร หมายถึง, พายุสุริยะคืออะไร คือ, พายุสุริยะคืออะไร ความหมาย, พายุสุริยะคืออะไร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu