ฮิสทีเรีย (Hysteria) เป็นชื่อเรียก โรคทางจิตเวชในกลุ่ม Somatoform Disorders ของอาการทางประสาทชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ที่เป็นฮิสทีเรีย จะมีอาการ เกี่ยวกับ การควบคุมอารมณ์ การควบคุมจิตสำนึก ด้านการกระทำลดลง และความกลัวต่าง ๆ โดยอาการฮิสทีเรียนั้น ถือว่าเป็นชนิดหนึ่งในประเภทของ โรควิตกกังวล ก็ว่าได้ หรือจะเป็น โรคขาดความอบอุ่น ก็ได้เช่นกัน
ฮิสทีเรียมีลักษณะอาการอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1. โรคประสาทฮิสทีเรีย
Conversion Reaction คือคนที่มีความเครียด กังวลใจ หรือเกิดความขัดแย้งในจิตใจอย่างรุนแรง พวกนี้จะเกิดการผิดปกติที่ระบบการเคลื่อนไหวหรือรับรู้ เช่น เป็นอัมพาต ชาตามแขนและขา ก็คือเมื่อเกิดความเครียด ความหวาดกลัว หรือความขัดแย้งในจิตใจอย่างรุนแรง สภาวะดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนเป็นอาการทางกาย คือจะเกิดความผิดปกติที่ระบบการเคลื่อนไหวหรือการรับรู้ เช่น เป็นอัมพาต กล้ามเนื้อไม่มีแรง มีอาการชาตามแขนขา พูดไม่ได้ ตามองไม่เห็น จมูกไม่ได้กลิ่น เสียการทรงตัว กล้ามเนื้อกระตุก ชัก เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จากการตรวจไม่พบความผิดปกติทางร่างกายหรือทางระบบประสาท แต่อย่างใด อาการที่เกิดขึ้นมักเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คนที่มีอาการแขนเป็นอัมพาตก็เป็นอัมพาตอย่างเดียว พูดไม่มีเสียงอย่างเดียว เป็นต้น และมักเกิดภายหลังความตึงเครียด ความผิดหวัง หรือความสูญเสียอย่างรุนแรง เช่น หลังสงคราม หรือการตายของบุคคลที่ตนรักมาก หรือสภาพความขัดแย้งภายในจิตใจอย่างหนัก
สิ่งสำคัญก็ คือ คนที่มีอาการฮิสทีเรียนั้นไม่ได้แกล้งทำหรือตั้งใจให้เกิดอาการดังกล่าว และตัวผู้ป่วยเองก็ไม่รู้ว่าสาเหตุที่ทำให้ตนมีอาการนั้นมาจากภาวะทางจิต
ที่สำคัญอีกอย่าง ในการที่จะระบุว่าอาการของผู้ป่วยคืออาการของฮิสทีเรียจริงๆ ก็คือ จะต้องแน่ใจว่าอาการที่เกิดขึ้นไม่ใช่อาการทางร่างกาย คือจากการตรวจร่างกาย ระบบประสาท ไม่พบความผิดปกติใดๆ
Dissociative Type คือคนที่สูญเสียความจำในบางเรื่องที่กระทบกระเทือนจิตใจจนไม่ต้องการรับรู้ แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
1. ผู้ป่วยจะสูญเสียความทรงจำที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างมาก โดยที่ไม่ได้มีความผิดปกติทางสมอง เช่น ผู้ป่วยขับรถพาครอบครัวไปเที่ยว แล้วรถเกิดอุบัติเหตุ ทุกคนเสียชีวิตหมดยกเว้นผู้ป่วยซึ่งไม่ได้รับบาดเจ็บเลย และผู้ป่วยจำเหตุการณ์นั้นไม่ได้เลย
2. หลังจากเกิดความขัดแย้งหรือมีการทะเลาะโต้เถียงอย่างรุนแรง ผู้ป่วยเดินทางออกจากบ้านหรือที่ทำงานทันที โดยไม่รู้สึกตัว และลืมตัวตนของตัวเอง ผู้ป่วยอาจงง เสียการรับรู้เวลา สถานที่ และบุคคล ในบางราย อาจเปลี่ยนไปเป็นอีกคนหนึ่งเลย คือจำตัวตนเดิมของตนไม่ได้ และคิดว่าตัวเองเป็นอีกคนหนึ่ง เมื่อมีคนถามก็จะบอกชื่อบอกที่มาของตัวเองเป็นคนใหม่ไป โดยที่เข้าใจว่าตนเป็นคนคนนั้นจริงๆ และจำตัวตนเดิมของตนไม่ได้เลย
3. มีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน 2 แบบหรือมากกว่าอยู่ในตัวคนเดียว และบุคลิกภาพแต่ละแบบจะเด่นในแต่ละเวลาโดยเฉพาะ เช่น ปกติเป็นคนเงียบๆอ่อนหวานก็เปลี่ยนเป็นคนดุดัน
2. บุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย (Histrionic Personality Disorder) ผู้ที่มีอาการในกลุ่มนี้ จะมีลักษณะที่พยายามทำตัวโดดเด่น เรียกร้องความสนใจอยู่ตลอดเวลา บุคลิกของคนกลุ่มนี้จะมีลีลาท่าทางการแสดงออกมากจนเหมือนเล่นละคร การแสดงอาการและอารมณ์ต่างๆ จะดูเกินจริง จนดูเหมือนเสแสร้ง เจ้ามารยา และการที่กิริยาท่าทางแสดงออกเพื่อดึงดูดความสนใจ จึงดูเหมือนเป็นการยั่วยวนเพศตรงข้าม ทำให้คนจึงมักเข้าใจผิดว่าคนที่เป็นฮิสทีเรียนั้นมีความต้องการทางเพศสูง ต้องการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่เลือก ที่จริงแล้ว ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรียนั้น มีความเป็นเด็กสูง ชอบเรียกร้องความสนใจ จึงมีการแสดงออกที่มากมายเพื่อให้คนมาสนใจ ผู้ป่วยมักจะรู้สึกขาดความมั่นใจและไม่สบายใจหากไม่ได้เป็นศูนย์รวมความสนใจ และบางครั้งก็อาจใช้วิธีข่มขู่เพื่อเรียกร้องความสนใจ
สาเหตุที่ทำให้คนมีบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรียมักมาจากการที่ขาดความรักในช่วงหนึ่งของชีวิต ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องการความรักมากที่สุด จึงทำให้มีอาการโหยหาความรักอยู่ตลอดเวลา และเมื่อมีความรักก็จะไม่รู้จักพอ แต่ก็เป็นความต้องการในความรัก ไม่ใช่ด้านความใคร่อย่างที่เข้าใจกัน
สาเหตุหลักของโรคฮิสทีเรีย
สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการฮิสทีเรียเกิดจากหลายปัจจัย เช่น
1. ปัญหาครอบครัว ปัญหาการงาน หรือปัญหาอื่นๆ
2. ความเครียด ความวิตกกังวล ความหวาดกลัว หรือความขัดแย้งในจิตใจสูง
3. ความกดดันจากสภาพแวดล้อม
4. บุคลิกภาพผิดปกติ
5. ปัจจัยทางพันธุกรรม
ฮิสทีเรีย คือ โรคขาดผู้ชายไม่ได้....จริงหรือ??
นั่นเป็นความเข้าใจผิด ความผิดพลาดทางภาษา ความมักง่ายในการใช้ภาษา การคิดไปเองของคนทั่ว ๆ ไป แล้วแต่ใครจะเรียก จึงทำให้ ฮิสทีเรีย กลายเป็น โรคขาดผู้ชายไม่ได้ ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น ผู้ที่เป็นฮิสทีเรียนั้น จะมีอาการที่เรียกว่าขาดความอบอุ่นอยู่ด้วยในตัว และธรรมชาติของมนุษย์ คือต้องการที่ยึดเหนี่ยว ต้องการที่พึ่งพิง โดยความต้องการเหล่านี้ จะเพิ่มพูนสูงขึ้นมาก กับผู้ที่เป็นฮิสทีเรีย ถ้ามองอีกแง่หนึ่งอาจจะเป็นคนประเภทพึ่งตัวเองไม่ได้เลย ก็ว่าได้ และจากเหตุนี้เอง ทำให้เมื่อมีใครสักคนหนึ่งมาทำดีด้วยกับตน ก็จะเกิดความรู้สึกผูกพันธ์ขึ้นอย่างรวดเร็ว และในบางรายอาจจะเกิดอาการแสดงความเป็นเจ้าของในระดับหนึ่ง
ขอบคุณข้อมูลจาก thaigoodview
อาการฮิสทีเรียเป็นอย่างไร
อาการฮิสทีเรียเป็นอย่างไร, อาการฮิสทีเรียเป็นอย่างไร หมายถึง, อาการฮิสทีเรียเป็นอย่างไร คือ, อาการฮิสทีเรียเป็นอย่างไร ความหมาย, อาการฮิสทีเรียเป็นอย่างไร คืออะไร
อาการฮิสทีเรียเป็นอย่างไร, อาการฮิสทีเรียเป็นอย่างไร หมายถึง, อาการฮิสทีเรียเป็นอย่างไร คือ, อาการฮิสทีเรียเป็นอย่างไร ความหมาย, อาการฮิสทีเรียเป็นอย่างไร คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!