ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วันโอโซนสากล World Ozone Day, วันโอโซนสากล World Ozone Day หมายถึง, วันโอโซนสากล World Ozone Day คือ, วันโอโซนสากล World Ozone Day ความหมาย, วันโอโซนสากล World Ozone Day คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
วันโอโซนสากล World Ozone Day

วันโอโซนสากล วันที่ 16 กันยายนของทุกปี

     โอโซน เป็นก๊าซสีน้ำเงินเข้ม พบได้ทั่วไปในบรรยากาศโลก และเป็นอันตรายต่อปอด หากเราหายใจเข้าไปมาก ๆ ก๊าซโอโซนที่อยู่ในบรรยากาศระดับสูงเรียกว่า ชั้นสตราโซเฟียร์ จะจับตัวกันเป็นก้อนโอโซนปกคลุมทั่วโลก ในบางแห่งจะหนา และบางในบางแห่งชั้นโอโซนจะทำหน้าที่ปกป้องโลกจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ ซึ่งรังสีนี้จะทำให้โลกร้อนขึ้น และทำให้เกิดอันตรายกับสิ่งมีชีวิต เช่น ทำให้คนและสัตว์เป็นมะเร็งผิวหนัง ตาเป็นต้อหรือมัวลง  และทำให้เกิดการเปลียนแปลงของดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นสารทีถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต มีผลทำให้พืชและสัตว์กลายพันธ์ไปจากเดิม ตลอดจนเกิดการทำลายระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ และทำลายจุลินทรีย์ต่างๆ ในปี ค.ศ 1974 มาริโอ โมลินา กับเพื่อนร่วมงานชื่อ เชอร์วุ้ด โรว์แลนด์ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนียร์ ได้ทำการวิจัยพบว่า สารชนิดหนึ่งชื่อว่า สาร CFCs คือตัวการทำลายชั้นโอโซนส่งผลให้เขาและเพื่อนได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมีปี ค.ศ 1995 ในฐานะผู้ค้นพบสาร CFCs เป็นคัวการทำลายชั้นบรรยากาศ

     สาร CFCs มีชื่อทางการค้าว่า ฟรีรอน ซึ่งครั้งหนึ่งถือว่าเป็นสารมหัศจรรย์ เพราะไม่ติดไฟ ไม่เป็นพิษต่อผู้สูดดมเข้าไป ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง จึงมีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น ใช้เป็นสารทำให้เกิดความเย็น ในตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ  ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตโฟม พลาสติก ใช้เป็นสารทำลายในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และใช้เป็นสารขับดันในสเปรย์กระป๋อง เช่น สีพ่น สเปรย์ฆ่าแมลง สเปรย์ฉีดผม และอื่นๆ อีกจำนวนมาก

     การใช้สารกลุ่ม CFCs มีความสามารถทำลายชั้นบรรยากาศได้เพราะมีคลอรีน (chlorine) เป็นองค์ประกอบในโมเลกุล เมื่อสารนี้ลอยขึ้นไปสู่ชั้นสตราโตสเฟียร์และถูกรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ ก็จะแตกตัวทำให้เกิดคลอรีนอิสระ และคลอรีนนี้จะไปทำลายได้โอโซน ทำให้ไม่สามารถที่จะกั้นรังสีอัลตราไวโอเลตได้

    ด้วยเหตุแห่งความรุนแรงของสาร CFCs ต่อโอโซนในบรรยากาศของโลก ทำให้ประเทศต่าง ๆ จำนวน 31 ประเทศ ได้ส่งตัวแทนไปประชุมกันที่เมือง มอนทรีออล ประเทศแคนนาดา ในเดือนกันยายน ค.ศ 1987 และได้ร่วมกันจัดตั้งอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยการป้องกันบรรยากาศชั้นโอโซน ซึ่งภายใต้อนุ
สัญญานี้ ได้มีการจัดทำพิธีสารมอนทรีออลขึ้น โดยระบุประเทศที่พัฒนาแล้วต้องเลิกผลิตและการใช้สารที่ทำลายชั้นโอโซน

    พิธีสารมอนทรีออล มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ 1989 โดยประเทศไทยร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ 1988 และให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ 1989 และมีผลบังคับให้ต่อประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ 1989โดยประ

จากผลของอนุสัญญาฯ องสค์การสหประชาชาติ จึงได้กำหนดให้วันที่ 16 กันยายนของทุกปี เป็น "วันโอโซนโลก" พิธีสารมอนทรีออล ได้มีการแก้ไขฉบับต่อ ๆ มา ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการผลิต ในอุตสาหกรรมที่ใช้สารพวกนี้ เป็นอย่างมาก สำหรับประเทศไทย กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้วางแผนการลดและเลิก ใช้สารทำลายโอโซน โดยคาดว่า ในปี ค.ศ 1998 ประเทศไทยจะสามารถเลิกใช้สารนี้ ได้เกือบทุกชนิด ยกเว้นการใช้สาร CFCs ในอุปกรณ์ห้องเย็น ตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศ โดยเฉพาะในส่วนที่เกียวข้องกับการให้บริการเติมน้ำยาแอร์แก่อุปกรณ์เดิม คาดว่าจะเลิก ใช้ทั้งหมดภายในปี ค.ศ 2010 ตามพิธีสารฯ กำหนด 

แหล่งที่มา : https://www.lib.ru.ac.th/journal/sep/sep16-Ozone.html

วันโอโซนสากล World Ozone Day, วันโอโซนสากล World Ozone Day หมายถึง, วันโอโซนสากล World Ozone Day คือ, วันโอโซนสากล World Ozone Day ความหมาย, วันโอโซนสากล World Ozone Day คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu