ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ปลอดภัยไว้ก่อน... ทะเล กับปัญหาสุขภาพที่คุณควรจะรู้, ปลอดภัยไว้ก่อน... ทะเล กับปัญหาสุขภาพที่คุณควรจะรู้ หมายถึง, ปลอดภัยไว้ก่อน... ทะเล กับปัญหาสุขภาพที่คุณควรจะรู้ คือ, ปลอดภัยไว้ก่อน... ทะเล กับปัญหาสุขภาพที่คุณควรจะรู้ ความหมาย, ปลอดภัยไว้ก่อน... ทะเล กับปัญหาสุขภาพที่คุณควรจะรู้ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ปลอดภัยไว้ก่อน... ทะเล กับปัญหาสุขภาพที่คุณควรจะรู้

      อย่าลืมเตรียมตัวให้ดีกับความเจ็บป่วยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในท้องทะเล เพราะถ้าถึงเวลาจริงๆ คนที่ช่วยคุณได้อาจมีแต่ตัวคุณเองเท่านั้นนะ ไม่ว่าจะเป็นเมาเรือ หอยเม่น แมงกะพรุน หรือเป็นลมแดด มารู้จักวิธีรับมือกันก่อน แล้วถึงเวลาก็พาสติไปด้วยเยอะๆ ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ไม่น่ากลัวแล้วล่ะ
เมาเรือ                       เมาเรือคืออะไร? ที่แน่ๆ คือมันไม่สนุกเอาเสียเลยเมื่อเราเมาเรือในวันหยุด การเมาเรือเกิดขึ้นเมื่อเกิดความขัดแย้ง ระหว่างประสาทสัมผัสในร่างกายกับระบบการทรงตัว นั่นก็คือหูชั้นใน ตา และส่วนอื่นๆ ที่ร่างกายใช้รับรู้การเคลื่อนไหว ส่งสัญญาณขัดแย้งไปยังสมอง เช่น หูชั้นในพบว่าร่างกายกำลังเคลื่อนไหว ในขณะที่ส่วนอื่นนึกว่าปกติ อย่างเช่น หากคุณอยู่บนเรือ หูชั้นในก็จะพบว่ามีคลื่นแรง แต่ดวงตากลับมองไม่เห็นความเคลื่อนไหว จึงทำให้เกิดเป็นอาการเมาเรือได้
       ป้องกันไม่ให้เมาเรือ                       การป้องกันเป็นวิธีที่ดีกว่าการรักษา เพราะเมื่อเกิดเมาเรือขึ้นมาครั้งหนึ่งแล้วจะหยุดยาก (หากเมาเรือขึ้นมาจริง ๆ อาการจะบรรเทาลงได้ก็ต่อเมื่อการเคลื่อนไหวนั้นหยุดลง) ยิ่งถ้าคุณเคยมีประวัติเมาเรือมาก่อน อย่าพยายามมองเข้าไปในตัวเรือ หากหยุดเรือไม่ได้ คุณอาจจะนั่งหรือนอนในบริเวณที่เรือโคลงน้อยที่สุดก่อนก็ได้ โดยยาแก้เมาเรือที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไปสามารถป้องกันไม่ให้คลื่นเหียนอาเจียนได้ เพียงแต่คุณควรจะกินก่อนลงเรือ ซึ่งบางชนิดอาจกล่อมประสาทและทำให้ง่วง นอกจากนี้ คนที่ไม่ชอบกันยาก็อาจเลือกกินแคปซูลขิงแทน หรือใส่ริสแบนด์ที่ช่วยเรื่องการทรงตัวก็ได้ แม้ว่าเทียบกับวิธีอื่นแล้วจะมีราคาแพงและไม่มีข้อพิสูจน์ว่าช่วยได้จริง แต่ก็ปลอดภัย
      หากเมาเรือขึ้นมาทำอย่างไรดี
  • หายใจลึกๆ แล้วดื่มน้ำเยอะๆ
  • อย่าเข้าไปในตัวเรือที่มองข้างนอกไม่เห็น แล้วแทนที่จะลงไปนอนในตัวเรือ ให้ไปนั่งอยู่ในที่ที่ไม่โคลงนักแต่มีอากาศถ่ายเทดีกว่า
  • มองเส้นขอบฟ้าเพื่อให้สมองปรับตัวกับสภาพแวดล้อมที่ไม่มั่นคง
  • พยายามกินน้อยๆ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงหรืออาหารเผ็ด
หอยเม่นตำ                      สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบดำนำตื้นคงต้องระวังเป็นพิเศษ อย่างที่เราทราบกันว่าถ้าไม่ทำอะไรหอยเม่น มันก็จะไม่ทำอะไรเรา แต่การถูกหอยแม่นตำก็ยังเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยอยู่ดี
      เมื่อหอยเม่นตำควรทำอย่างไร
  • ใช้แหนบถอนหนามเม่นออก
  • แช่บริเวณที่ถูกตำในน้ำร้อนที่สุดเท่าที่ผู้ป่วยจะทนได้ 30-90 นาที หรือแช่ซ้ำเพื่อบรรเทาปวด (ส่วนปัสสาวะหรือน้ำส้มสายชูนั้น จะไม่ช่วยบรรเทาปวดสักเท่าไหร่)
  • อย่าเพิ่งทุบหนามให้แตก ถ้าเห็นเป็นรอยช้ำม่วงอาจจะไม่ใช่หนามที่หลงเหลืออยู่ แต่เป็นสีตกจากหอยเม่นบางชนิดซึ่งจะคงอยู่ประมาณ 24-48 ชั่วโมง แต่ถ้าเลยไปแล้ว ยังมีสีดำ ก็เป็นไปได้ว่ายังมีหนามตำอยู่
  • แผลหอยเม่นมีโอกาสจะอักเสบได้อยู่แล้ว เราจะสังเกตได้จากอาการบวมแดง หรือเป็นตุ่มน้ำขึ้นมา หรือคุณอาจจะมีไข้ ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ควรไปพบแพทย์ เพราะอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
แมงกะพรุนไฟ                      ข่าวหนึ่งที่คุณสบายใจได้คือ แผลจากแมงกะพรุนไฟอาจหายได้เองภายใน 15-20 นาที ถ้าคุณไม่แพ้ แต่ความจริงข้อนี้ก็ทำให้เกิดวิธีบรรเทาแผลแมงกะพรุนแบบแปลกๆ ขึ้นมาเหมือนกัน เช่น การใช้น้ำส้มสายชู ปัสสาวะ หรือแอลกอฮอล์ ซึ่งไม่เหมาะกับแผลแมงกะพรุนไฟ เพราะอาจทำให้พิษจากแมงกะพรุนบางชนิดถูกขับออกมามากขึ้น (แต่บางชนิดก็น้อยลงเช่นกัน) ดังนั้น การปฐมพยาบาลแผลแมงกะพรุนไฟจึงมีหลักดังนี้
  • หากมีหนวดที่ยังมองเห็นอยู่ ให้ค่อยๆ หยิบออกโดยสวมถุงมือหรือใช้กิ่งไม้เขี่ย ระวังอย่าให้ถูกผิวหนัง
  • ล้างบริเวณที่โดนด้วยน้ำทะเลหรือน้ำเปล่า
  • ประคบน้ำแข็งหากเจ็บปวดมาก
  • หากบริเวณที่โดนเป็นดวงตา ให้ลืมตาในน้ำเปล่าเรื่อยๆ อย่างน้อย 15 นาที หลังจากนั้น ถ้ายังมองไม่เห็น ภาพเบลอ แสบตา บวม หรือแพ้แสง ให้รีบไปพบแพทย์
แผลปะการัง                      คุณไม่ควรจับปะการังด้วยเหตุผลทั้งปวง ตั้งแต่ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสัตว์น้ำอื่นๆ มาอาศัย ไปจนถึงความจริงว่าปะการังอาจคมกว่าที่คิด แผลจากปะการังมักไม่ใช่รอยตัด แต่เป็นการฉีกขาดของผิวหนัง จงทำให้เกิดอาการอักเสบได้ง่ายหรือหายยากนั่นเอง ซึ่งวิธีทำความสะอาดแผลปะการังมีดังนี้
  • ใช้สบู่และน้ำสะอาดล้างแผล แล้วใช้น้ำสะอาดล้างตามอีกมากๆ
  • ใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ผสมน้ำล้างแผล แล้วล้างอีกที่ในน้ำเปล่า
  • ใช้เบตาดีนล้างแผล แล้วปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ (หรือไม่ต้องปิดก็ได้ แต่ก็ยังจำเป็นต้องทำความสะอาดแผลอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง)
แหล่งที่มา : https://www.vcharkarn.com/varticle/43788



ปลอดภัยไว้ก่อน... ทะเล กับปัญหาสุขภาพที่คุณควรจะรู้, ปลอดภัยไว้ก่อน... ทะเล กับปัญหาสุขภาพที่คุณควรจะรู้ หมายถึง, ปลอดภัยไว้ก่อน... ทะเล กับปัญหาสุขภาพที่คุณควรจะรู้ คือ, ปลอดภัยไว้ก่อน... ทะเล กับปัญหาสุขภาพที่คุณควรจะรู้ ความหมาย, ปลอดภัยไว้ก่อน... ทะเล กับปัญหาสุขภาพที่คุณควรจะรู้ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu