เช้าวันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม 2555 จะเกิดอุปราคาครั้งแรกของปี เป็นสุริยุปราคาวงแหวนที่เกิดขึ้นหลังจากดวงจันทร์เพิ่งจะผ่านตำแหน่งไกลโลกที่สุดมาเมื่อ 2 วันก่อนหน้านั้น เส้นทางคราสวงแหวนผ่านพื้นที่บางส่วนของประเทศจีน ญี่ปุ่น ทางเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก และสหรัฐอเมริกา
ประเทศไทยสามารถสังเกตสุริยุปราคาครั้งนี้ได้ โดยเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนในหลายพื้นที่ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก โดยเกิดสุริยุปราคาขณะดวงอาทิตย์ขึ้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุดและนานกว่าภาคอื่น ๆ
ตาราง
ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา 21 พฤษภาคม 2555 สถานที่ ดวงอาทิตย์ขึ้น สิ้นสุดสุริยุปราคา เวลา ขนาดของ
สุริยุปราคา พื้นที่ เวลา ม.ย. มุมเงย กรุงเทพมหานคร 05:53 0.212 11.1% 06:06 145° 3.1° กาญจนบุรี 05:56 0.168 7.9% 06:07 146° 2.5° กาฬสินธุ์ 05:36 0.488 37.0% 06:09 146° 7.1° กำแพงเพชร 05:52 0.266 15.4% 06:10 147° 3.8° ขอนแก่น 05:39 0.451 33.1% 06:09 146° 6.5° จันทบุรี 05:48 0.254 14.5% 06:05 144° 3.7° ฉะเชิงเทรา 05:50 0.241 13.4% 06:06 145° 3.5° ชลบุรี 05:51 0.222 11.9% 06:06 145° 3.2° ชัยนาท 05:52 0.249 14.0% 06:08 146° 3.6° ชัยภูมิ 05:43 0.380 25.9% 06:08 146° 5.5° ชุมพร 06:03 0.008 0.1% 06:03 144° 0.4° เชียงราย 05:45 0.424 30.3% 06:13 149° 5.9° เชียงใหม่ 05:51 0.330 21.2% 06:12 149° 4.6° ตราด 05:47 0.258 14.8% 06:04 144° 3.8° ตาก 05:53 0.261 15.1% 06:10 148° 3.7° นครนายก 05:49 0.269 15.7% 06:07 146° 3.9° นครปฐม 05:54 0.189 9.4% 06:07 146° 2.7° นครพนม 05:30 0.601 49.3% 06:10 146° 8.7° นครราชสีมา 05:44 0.350 23.0% 06:07 146° 5.1° นครสวรรค์ 05:51 0.268 15.7% 06:09 147° 3.8° นนทบุรี 05:53 0.213 11.2% 06:07 146° 3.1° น่าน 05:43 0.433 31.2% 06:12 148° 6.1° บึงกาฬ 05:33 0.578 46.9% 06:11 147° 8.3° บุรีรัมย์ 05:40 0.406 28.5% 06:07 146° 5.9° ปทุมธานี 05:52 0.224 12.0% 06:07 146° 3.2° ประจวบคีรีขันธ์ 05:58 0.094 3.4% 06:05 144° 1.5° ปราจีนบุรี 05:49 0.271 15.9% 06:06 145° 3.9° พระนครศรีอยุธยา 05:51 0.238 13.2% 06:07 146° 3.4° พะเยา 05:46 0.399 27.8% 06:12 149° 5.6° พิจิตร 05:49 0.313 19.6% 06:09 147° 4.4° พิษณุโลก 05:49 0.323 20.5% 06:10 147° 4.6° เพชรบุรี 05:56 0.154 7.0% 06:06 145° 2.3° เพชรบูรณ์ 05:46 0.355 23.5% 06:09 147° 5.1° แพร่ 05:47 0.370 25.0% 06:11 148° 5.2° มหาสารคาม 05:38 0.467 34.7% 06:08 146° 6.8° มุกดาหาร 05:31 0.559 44.7% 06:09 146° 8.2° แม่ฮ่องสอน 05:54 0.290 17.5% 06:13 149° 4.0° ยโสธร 05:35 0.497 37.9% 06:08 146° 7.3° ร้อยเอ็ด 05:36 0.481 36.2% 06:08 146° 7.0° ระยอง 05:51 0.210 10.9% 06:05 145° 3.1° ราชบุรี 05:56 0.163 7.6% 06:06 146° 2.4° ลพบุรี 05:50 0.260 15.0% 06:07 146° 3.7° ลำปาง 05:49 0.341 22.2% 06:11 148° 4.8° ลำพูน 05:51 0.324 20.6% 06:12 148° 4.5° เลย 05:42 0.433 31.2% 06:10 147° 6.1° ศรีสะเกษ 05:35 0.477 35.8% 06:07 145° 7.0° สกลนคร 05:33 0.555 44.3% 06:09 146° 8.0° สมุทรปราการ 05:52 0.210 11.0% 06:06 145° 3.1° สมุทรสงคราม 05:55 0.169 8.0% 06:06 145° 2.5° สมุทรสาคร 05:54 0.190 9.5% 06:06 145° 2.8° สระแก้ว 05:46 0.300 18.4% 06:06 145° 4.4° สระบุรี 05:50 0.266 15.5% 06:07 146° 3.8° สิงห์บุรี 05:51 0.252 14.3% 06:08 146° 3.6° สุโขทัย 05:50 0.306 19.0% 06:10 147° 4.3° สุพรรณบุรี 05:53 0.219 11.6% 06:07 146° 3.2° สุรินทร์ 05:39 0.421 30.0% 06:07 145° 6.2° หนองคาย 05:37 0.507 39.0% 06:10 147° 7.2° หนองบัวลำภู 05:39 0.459 33.9% 06:10 147° 6.6° อ่างทอง 05:51 0.242 13.5% 06:07 146° 3.5° อำนาจเจริญ 05:33 0.525 41.0% 06:08 146° 7.7° อุดรธานี 05:38 0.490 37.2% 06:10 147° 7.0° อุตรดิตถ์ 05:48 0.347 22.8% 06:11 148° 4.9° อุทัยธานี 05:52 0.252 14.3% 06:08 147° 3.6° อุบลราชธานี 05:33 0.511 39.4% 06:07 145° 7.5°
หมายเหตุ
- ขนาดของสุริยุปราคา หมายถึงสัดส่วนที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ วัดตามแนวเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ ยิ่งมีค่ามากแสดงว่าดวงอาทิตย์ยิ่งแหว่งเว้ามาก (0.5 หมายถึงดวงอาทิตย์ถูกบังครึ่งดวง เป็นต้น)
- พื้นที่ คือ พื้นที่วงกลมของดวงอาทิตย์ในส่วนที่ถูกดวงจันทร์บัง
- มุมเงย คือ มุมที่วัดจากขอบฟ้า ขึ้นไปหาตำแหน่งดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า
- ม.ย. ย่อจาก มุมจุดยอด (vertex angle : V.A.) คือ มุมที่วัดจากด้านบนสุดของดวงอาทิตย์ กวาดทวนเข็มนาฬิกาไปทางซ้ายมือที่ 90° ด้านล่างที่ 180° และขวามือที่ 270° ใช้บอกตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์แหว่งโดยเทียบกับทิศทางไปยังจุดเหนือศีรษะของผู้สังเกต
- ทุกจังหวัดในตารางจะเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุดขณะดวงอาทิตย์ขึ้น
- เมฆหมอกใกล้ขอบฟ้าอาจบดบังดวงอาทิตย์ขณะขึ้นมาอยู่เหนือขอบฟ้าแล้ว จึงเริ่มเห็นดวงอาทิตย์ช้ากว่าเวลาที่ระบุ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อม
- โดยปกติ การระบุเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นจะหมายถึงเวลาที่ขอบด้านบนของดวงอาทิตย์แตะขอบฟ้า แต่ในตารางนี้ใช้เวลาเมื่อขอบด้านล่างของดวงอาทิตย์แตะขอบฟ้า (ดวงอาทิตย์ขึ้นมาอยู่เหนือขอบฟ้าทั้งดวง)
- คำนวณสำหรับอำเภอเมืองของแต่ละจังหวัด