นางไม้ในประเทศไทย คือ เทวดาที่อยู่ประจำตามต้นไม้ใหญ่ๆ มีวิมานอยู่บนต้นไม้ แต่ถ้าใครจะตัดต้นไม้นั้น นางไม้ก็จะไม่มีที่อยู่ นางไม้จึงต้องแสดงฤทธิ์ทำให้คนไม่กล้าตัดต้นไม้ เช่น ทำให้คนที่ตัดต้นไม้ล้มเจ็บ เป็นไข้ หรือคลุ้มคลั่งเป็นบ้า เป็นต้น ตามจินตนาการของคนแต่ก่อน นางไม้เป็นหญิงสาวสวย ผมยาวประบ่า นุ่งผ้าจีบ ห่มผ้าสไบเฉียง แต่ต้นไม้บางต้นก็มีเทวดาอยู่ ซึ่งมักเรียกว่ารุกขเทวา ในวรรณคดีไทยมักจะให้รุกขเทวาซึ่งอยู่ประจำที่ต้นไทร ที่เรียกว่า พระไทรมีบทบาทเป็นผู้ช่วยพระเอก พระไทรมักจะอุ้มพระเอกซึ่งเป็นกษัตริย์ หรือรพระราชโอรสที่มาประทับพักแรมใต้ต้นไทรไปให้เป็นสามีของนางเอก เช่น อุ้มพระอุณรุทไปนอนกับนางอุษา เป็นต้น เรียกเป็นศัพท์ทางวรรณคดีว่า อุ้มสม
นางไม้
นางไม้ เป็น วิญญาณที่อยู่ในต้นไม้, ดอกไม้ เนื่องจากพืช ก็มีวิญญาณเหมือนกับมนุษย์หรือสัตว์ จึงมีความรู้สึก ดีใจ เสียใจ หรือ กลัว คล้าย ๆ กัน แต่เนื่องจากต้นไม้ไม่มีจิตที่ชัดเจนเหมือนมนุษย์ วิญญาญจึงไม่สามารถแสดงออกมาได้อย่างชัดเจน การที่คนสามารถเห็นนางไม้ได้จึงเป็นเรื่องยาก จึงสามารถเห็นได้ในบางคนเท่านั้น
ในประเทศไทย นางไม้ปรากฏอยู่ในรูปของ เทวดาประจำต้นไม้ เช่น รุกขเทวา, พระไทร และ นางตะเคียน เป็นต้น
นางตะเคียน
ต้นไม้ใหญ่มีอายุนานนับร้อยปี แผ่กิ่งก้านสาขา ลำต้นสูงใหญ่ ย่อมให้ความรู้สึกที่น่าเกรงกลัว และจินตนาการทำให้คิดว่า น่าจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ครอบครองหรือสิงอยู่ ต้นตะเคียนเป็นต้นไม้ใหญ่ ไม้เนื้อแข็ง และเป็นต้นไม้ที่มีอายุนานหลายสิบปี จึงมีความเชื่อว่าต้นตะเคียนมีนางไม้สิงอยู่ ถ้ายิ่งมียางไม้ไหลออกมาก็ยิ่งถือกันว่า นางตะเคียนมีฤทธิ์แรง นางไม้ที่สิงอยู่ที่ต้นตะเคียนจะมีจริงหรือไม่ ไม่มีใครยืนยันได้ แต่การจะตัดต้นตะเคียนที่มีอายุหลายสิบปี ผู้ตัดมักต้องทำพิธีขอ เพื่อให้นางตะเคียนรู้ตัวและย้ายไปหาที่อยู่ใหม่ คนที่ตัดต้นตะเคียนโดยไม่ทำพิธีขอจากนางตะเคียนมักจะถูกลงโทษ ทำให้เจ็บไข้ หรือมีอาการคลุ้มคลั่ง เป็นต้น นางตะเคียนจึงเป็นพวกรุกขเทวาไม่ใช่ผีนะครับ ให้โชคให้ลาภ รู้คุณกับคนที่ดีด้วย
นางตานี
นางตานีเป็นนางไม้ประจำต้นกล้วยตานี ซึ่งเป็นกล้วยที่มีลำต้นตรงงาม มีใบยาวสีเขียวเข้ม ใบกล้วยซึ่งเรียกว่า ตอง นั้น ตองกล้วยตานีเป็นใบตองที่มีเนื้อเหนียวไม่แตกหักง่าย จึงใช้งานเป็นอุปกรณ์สำหรับห่อข้าวของได้ดี ทั้งกล้วยตานียังเป็นกล้วยที่ผลมีเมล็ดมากจนไม่มีใครกินเนื้อกล้วยตานี นอกจากจะใช้ผลอ่อนดองเป็นผักกินกับน้ำพริก ความพิเศษของกล้วยตานีทำให้คนจินตนาการว่าน่าจะมีนางไม้มาสิงอยู่ได้ และธรรมดาก็จะนึกให้นางตานีเป็นหญิงสาวสวย ผมยาว นุ่งผ้าสีเขียว ห่มสไบสีตองอ่อน แต่ก็ไม่ปรากฏว่านางตานีจะทำร้าย หรือให้คุณแก่ใครเป็นพิเศษ คงเป็นเพียงหลอกให้คนตกใจกลัว คนแต่ก่อนจึงไม่นิยมปลูกกล้วยตานีในบ้าน เข้าใจว่าเป็นเพราะกล้วยตานีเป็นกล้วยต้นใหญ่ เติบโตเร็ว กินที่มาก การบอกว่ามีนางไม้สิงอยู่อาจเป็นอุบายไม่ให้ปลูกในบริเวณบ้านก็ได้
เเต่ยังไง นางตานี ก็ขึ้นชื่อว่า เป็นผีสาว สวย รวย อิอิ เก๋ ไปอีกเเบบ อ่ะเริ่ดค่ะ อ่ะเชิ่ด ๆ
พิธีแต่งงานกับนางไม้
แต่งงานกับนางไม้ เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวบ้านมะม่วงหมู่ที่ 4 ตำบลสทิงหม้อ อำเภอเมืองสงขลา จัดขึ้นตามคำบนบานให้นางไม้ช่วยขจัดปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ของชีวิตเมื่อสมประสงค์แล้วก็จะตอบสนองด้วยการแต่งงานด้วย
การแต่งงานกับนางไม้ มีความเป็นมาอย่างไรไม่แน่ชัดทราบแต่ว่า นางไม้ที่เชื่อถือกันนี้สิงสถิตอยู่ในต้นมะม่วงใหญ่ที่บริเวณวัดมะม่วงหมู่ศูนย์กลางทางศาสนาของชุมชน ต่อมาต้นมะม่วงนั้นตาย ลง จึงย้ายไปสถิตที่ต้นไม้ใหญ่อีกต้นหนึ่งนอกเขตวัดใกล้ตลาดนัดของชาวบ้าน แต่ที่ดังกล่าวสกปรก รุกขเทวดาไม่ชอบ จึงย้ายไปสถิตที่ต้นไม้ใหญ่อีกต้นหนึ่งใกล้ ๆ กัน หน้าวัดมะม่วงหมู่ ซึ่งเป็นสถานที่สถิตปัจจุบัน ชาวบ้านเชื่อกันว่า รุกขเทวดาดังกล่าวเป็นหญิงสาวรูปงามเคยปรากฏนิมิตให้เห็นหลายครั้ง ครั้นปี พ.ศ.2523 ชาวบ้านได้ปั้นรูปหญิงสาวแต่งกายงามขนาดเท่าคนจริง เป็นรูปเคารพไว้ที่ศาลก่ออิฐเล็ก ๆ ใต้โคนไม้นั้น เรียกกันว่า "เจ้าแม่ม่วงทอง" อีกกระแสหนึ่งมีเล่ากันต่อ ๆ มาว่า มีธิดาของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชถูกโจรจับตัวมาเพื่อปล้นทรัพย์และถูกฆ่าตาย ศพถูกซ่อนอยู่ในโพรงมะม่วงใหญ่ ต่อมาได้แสดงอภินิหารให้ปรากฏเนือง ๆ จนชาวบ้านนับถือและเกิดบวงสรวงบนบานเพื่อความประสงค์ต่าง ๆ พิธีกรรมการบวงสรวงและการใช้บน บางครอบครัวนับถือจริงจัง ฝากตัวและบุตรหลานเป็นลูกหลานของเจ้าแม่ หากครอบครัวใดฝากตัวแล้วจะต้องทำพิธีแต่งงานกับเจ้าแม่ โดยเฉพาะชายที่มีอายุครบบวช ก่อนบวชต้องทำพิธีแต่งงานเสียก่อน เมื่อทำพิธีแต่งงานกับเจ้าแม่แล้วต่อไปจะไปเข้าพิธีแต่งงานกับหญิงอื่นตามปกติวิสัยก็ย่อมทำได้ หากชายผู้นั้นมีบุตรชายคนโตก็ต้องทำพิธีแต่งงานกับเจ้าแม่สืบแทนบิดาด้วย การแต่งงานกับเจ้าแม่จึงเป็นเรื่องที่ต้องกระทำสืบทอดกันไปตลอดสายสกุลนั้นจนถึงรุ่นลูก หลาน เหลน ส่วนผู้ที่มิได้นับถือทั้งสกุลวงศ์ เมื่อประสบปัญหาเดือดร้อน ขอให้เจ้าแม่ช่วยขจัดปัญหาต่าง ๆ เมื่อสมประสงค์แล้วก็แก้บนด้วยการกระทำพิธีแต่งงานกับเจ้าแม่ก็กระทำได้เช่นกัน พิธีแต่งงานกระทำเช่นเดียวกับการแต่งงานของชาวบ้านกล่าวคือ มีขันหมาก เงินททอง และเครื่องบูชาที่ต่างจากเครื่องบูชาขันหมากทั่งไป เช่น หัวหมู สุรา เป็ด ไก่ และผลไม้ เป็นต้น พิธีแต่งงานทำได้เฉพาะวันอังคารและวันเสาร์เท่านั้นเจ้าบ่าวแต่งกายเรียบร้อยสวยงามเยี่ยงเจ้าบ่าวทั่วไป และมักเหน็บกริชด้วย มีการจัดขบวนขันหมากเป็นที่ครึกครื้นเช่นเดียวกับพิธีแต่งงานตาม ปกติ เจ้าพิธีเป็นผู้ทำให้ โดยปกติในหมู่บ้านมีคนเป็นเจ้าพิธีได้หลายคน เช่น นายคล้าย ลูกจันงาม อายุ 81 ปี บ้านเลขที่ 148 นางกิ้มเฉี้ยง โมลิกะ อายุ 76 ปี บ้านเลขที่ 18 เจ้าพิธีจะจัดแจงขันหมากและข้าวของต่าง ๆ จัดสถานที่ หมอนรองกราบ และหม้อน้ำสำหรับรดน้ำ แล้วจะกล่าวชุมนุมเทวดาบูชาเทวดา เช่นเดียวกับพิธีเจริญพระพุทธมนต์โดยทั่วไป อนึ่งหากผู้หญิงต้องการความช่วยเหลือจากเจ้าแม่ก็กระทำได้ และเมื่อสมประสงค์แล้วก็แก้บนได้ด้วยการแต่งกายเป็นผู้ชายเข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าแม่ การแก้บนโดบไม่ต้องทำพิธีแต่งงานก็มีบ้าง
ปัจจุบันแม้สังคมจะเจริญขึ้น แต่ประเพณีการแต่งงานกับนางไม้ที่หมู่บ้านนี้ยังมิได้เปลี่ยนแปลงพิธีกรรมดังกล่าวยังจัดอยู่เรื่อย ๆ และถือเป็นทางแก้ปัญหาอย่างหนึ่งของชีวิตของผู้คนที่เชื่อในเรื่องนี้
ที่มา : https://th.ghosts.wikia.com/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89