ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ไขความลับโรค "ใหลตาย", ไขความลับโรค "ใหลตาย" หมายถึง, ไขความลับโรค "ใหลตาย" คือ, ไขความลับโรค "ใหลตาย" ความหมาย, ไขความลับโรค "ใหลตาย" คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ไขความลับโรค "ใหลตาย"

      การเสียชีวิตในขณะนอนหลับ (Brugada syndrome) หรือ "โรคใหลตาย" ชื่อที่คนไทยคุ้นหู อีกหนึ่งโรคลึกลับที่คร่าชีวิตคนไทยมาร่วมร้อยปี ในอดีตคนไทยอาจรู้จักโรคใหลตายว่าเป็นโรคท้องถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทำให้ชายหนุ่มที่ดูปกติแข็งแรงดี กลายเป็นศพในตอนเช้าโดยไม่ทราบสาเหตุ โรคใหลตายพบได้ทุกภาคในประเทศไทย แต่ที่พบมากที่สุดคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือ ภาคเหนือ ส่วนภาคอื่นพบได้ประปราย เป็นได้ทั้งหญิงและชาย แต่เพศชายเสียชีวิตจากโรคใหลตายมากกว่า ครอบครัวใดที่มีพี่ชาย ญาติพี่น้องเป็นโรคใหลตายมากๆ จึงจะพบในผู้หญิงบ้าง
สาเหตุของโรคใหลตาย
      การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคใหลเกิดจากการเต้นระริกที่ไม่มีการบีบตัวเองของกล้ามเนื้อหัวใจ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดการเต้นระริกที่ไม่มีการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ คือ การสูญเสียโปตัสเซียมแมกนีเซียมจากร่างกาย (เช่น จากการอาเจียน ท้องร่วง กินยาขับปัสสาวะ หรือดื่มกาแฟ ชา หรือเหล้า ซึ่งมีฤทธิ์ขับปัสสาวะเช่นกัน) รวมทั้งการมีไข้สูง การเกิดความเครียดจากการอดนอนทำงานหนัก สาเหตุของโรคใหลตายบางส่วนมีความเกี่ยวข้องกับสารเคมีในร่างกายเสียสมดุล เช่น ความเครียดทำให้ร่างกายหลั่งสารบางตัวออกมามากผิดปกติ นอกจากนี้ยังพบว่า พฤติกรรมการรับประทานอาหารหมักดอง ดื่มเหล้า เบียร์ สูบบุหรี่ รวมทั้งน้ำปลามีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคใหลตายได้อย่างชัดเจน
อาการของโรคใหลตาย
      อาการที่แสดงออกของโรคใหลตายที่สังเกตได้ชัดเจน ได้แก่ คอบวม อกแฟบ แขนตึง ตาเหลือง เหงื่อออกที่อุ้งมือ หัวใจเต้นผิดปกติ โคนลิ้นขาว ปวดบริเวณหัวใจหรือลิ้นปี่ กระหายน้ำ ปวดสันไหล่ รวมถึงอาการทางจิต เช่น ใจหวิวบ่อยๆ เครียดง่าย ตื่นเต้นสูง นอนไม่หลับ อารมณ์ผันแปรง่าย คิดอะไรไม่ออกและเก็บกด เป็นต้น โรคใหลไม่ได้พบเฉพาะในคนไทยเพราะการเสียชีวิตในลักษณะเช่นนี้ยังพบได้ในภาคเหนือ (เรียกว่า หลับรวด) ในประเทศลาว (เรียกว่า ทำมะลา) ในประเทศฟิลิปปินส์ (เรียกว่า Bangungut) หรือในญี่ปุ่นซึ่งเรียกว่าโรค Pokkuri ความหมายของคำเหล่านี้ล้วนบ่งถึงการเสียชีวิตในขณะนอนหลับทั้งสิ้น
โรคใหลตายกับหัวใจเต้นผิดจังหวะ
      การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคใหลเกิดจากการเต้นระริกที่ไม่มีการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจที่เกิดขึ้นเอง (Spontaneous Ventricular Fibrillation, VF) ทำให้สมองขาดเลือดและออกซิเจนกะทันหันเป็นผลให้กล้ามเนื้อตามตัว แขนขาเกิดอาการเกร็งและหายใจเสียงดังจากการมีเสมหะในหลอดลม บางรายจะมีอุจจาระปัสสาวะราด จากการสูญเสียการควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ ผู้ป่วยจะมีใบหน้า ริมฝีปากเขียวคล้ำและเสียชีวิตในเวลารวดเร็ว หากไม่ได้รับการกู้ชีวิตที่มีประสิทธิภาพ
      ผลจากการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ผู้ป่วยโรคใหลที่รอดชีวิตร้อยละ 90 มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ และมีลักษณะเฉพาะ คือมีการยกตัวของคลื่น ST เหมือนกับที่คนไข้ที่เสียชีวิตกะทันหันในยุโรป ซึ่งวิธีที่จะป้องกันโรคใหลตาย คือ ปลูกฝังเครื่องกระตุกหัวใจ (ICD) ส่วนการรับประทานยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น ไม่มีผลในการช่วยชีวิตแต่อย่างใด เพราะการใช้ไฟฟ้ากระตุกหัวใจให้กลับมาทำงานเป็นปกติ เพื่อหยุด VF โดยเร็วที่สุด ในบางครั้ง VF อาจหยุดเองได้และผู้ป่วยจะรอดตายได้เช่นกัน แต่ก็อาจจะเกิดสมองพิการถาวรหากขาดออกซิเจนนาน อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าการตรวจหัวใจไม่ว่าจะเป็นลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อและหลอดเลือดอย่างละเอียดจะให้ผลปกติ แต่กลับพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ สามารถกระตุ้นการเต้นระริกที่ไม่มีการบีบตัว  (ventricular fibrillation, VF) ได้โดยง่าย "คลื่นไฟฟ้าหัวใจดังกล่าวอาจกลับเป็นปกติได้ แต่จะสามารถตรวจพบด้วยการวางตำแหน่งที่สูงขึ้น หรือใช้ยาบางชนิด"
      นอกจากนี้การวิจัยยังพบข้อมูลที่น่าสนใจ โดยร้อยละ 30 ของครอบครัวผู้ป่วยใหลในไทยและ Pokkuri ในญี่ปุ่นมีความผิดปกติในหน่วยพันธุกรรม (gene) จริง มีผลให้การควบคุมประจุไฟฟ้าโซเดียมในระดับเซลล์ลดลง หรือไม่ทำงาน จึงเกิดการเต้นระริกขึ้นได้
      การศึกษาเพื่อหาทางรักษาและป้องกันการเสียชีวิตจากโรคอันตรายนี้ยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง โดยสถาบันวิจัยหัวใจเต็นผิดจังหวะ แปซิฟิก ริม โรงพยาบาลกรุงเทพ (Pacific Rim Electrophysiology Research Institute at Bangkok Hospital) ร่วมกับโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิดวงตะวัน และมูลนิธิเวชดุสิต ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
แหล่งที่มา : https://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/28064

ไขความลับโรค "ใหลตาย", ไขความลับโรค "ใหลตาย" หมายถึง, ไขความลับโรค "ใหลตาย" คือ, ไขความลับโรค "ใหลตาย" ความหมาย, ไขความลับโรค "ใหลตาย" คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu