1. อากาศ
ควรหลีกเลี่ยงอากาศที่เป็นพิษ หรือสถานที่แออัด รวมทั้งร่วมกันลดมลพิษทางอากาศ และเมื่อป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ควรใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก
2. อาหาร
ให้รับประทานอาหารให้ได้ปริมาณ และสัดส่วนที่พอเหมาะ ไม่ควรมีน้ำหนักมากเกินไป คือมีดัชนีมวลกายประมาณ 18.5 - 23 (เท่ากับ น้ำหนักที่เป็นกิโลกรัมเป็นตัวตั้ง หารด้วยส่วนสูงที่มีหน่วยเป็นเมตร 2 ครั้ง) และสัดส่วนรอบเอวหารด้วยเส้นรอบสะโพก สำหรับผู้หญิงเอเชียไม่ควรเกิน 0.8 และสำหรับผู้ชายเอเชียไม่ควรเกิน 0.9
- อาหารประเภทไขมัน ควรลดไขมันสัตว์ ได้แก่ เนื้อสัตว์ติดมัน หนังสัตว์ เครื่องใน ไข่แดง ปลาหมึก หอยนางรม ส่วนน้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ อาจพอรับประทานได้เล็กน้อย
- อาหารประเภทวิตามิน มีมากในผักผลไม้ ถั่วต่างๆ ข้าวซ้อมมือ แต่อาหารเหล่านี้มีวิตามินที่แตกต่างกัน จึงควรรับประทานให้หลากหลาย
- อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ในกรณีที่เป็นโรคเบาหวานควรงดอาหารหวาน ส่วนผู้ที่อ้วนหรือมีไขมันในเลือดสูง อาจจะต้องลดอาหารประเภทนี้ด้วย
- อาหารประเภทโปรตีน ควรเพิ่มอาหารจากปลาเพิ่มขึ้น
- อาหารประเภทเกลือแร่ อาหารที่มีเกลือมากจะมีผลในการขับแคลเซียม และจะต้องระมัดระวังในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ไต ความดันโลหิตสูง
- แคลเซี่ยม
- ควรได้รับวันละ 1,000 มิลลิกรัม ในผู้ที่ยังไม่พร่องฮอร์โมนเพศ หรือได้รับจากนมวัวธรรมดาประมาณ 250 ซี.ซี. จำนวน 3 กล่อง
- ส่วนผู้ที่พร่องฮอร์โมนเพศ ควรได้รับแคลเซี่ยม วันละ 1,200 มิลลิกรัมหรือจากนมประมาณ 4 กล่อง
- แต่สามารถรับประทานอาหารที่ราคาถูกกว่าทดแทนนมได้ เช่น นม 250 ซี.ซี. เท่ากับ
- ปลาเล็ก (ที่รับประทานทั้งกระดูก) 4 ช้อนโต๊ะ หรือ
- กุ้งที่รับประทานได้ทั้งเปลือก 3 ช้อนโต๊ะ หรือ
- เต้าหู้ก้อน (ไม่ใช่เต้าหู้ไข่) 1 ถ้วย หรือ
- ผักใบเขียว 1 ถ้วยครึ่ง หรือ
- งานดำบด 1/3 ขีด (1 ขีด = 100 กรัม)
3. ออกกำลังกาย
ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 3 วันต่อสัปดาห์ ควรงดออกกำลังกายที่ใช้อวัยวะที่กำลังบาดเจ็บอยู่ และจะต้องประกอบด้วย
- การออกกำลังกาย แบบใช้ออกซิเจน คือมีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ มีความเหนื่อยร้อยละ 70 หรือเหนื่อยจนรู้สึกว่าร้องเพลงไม่ได้นานต่อเนื่อง 20-30 นาที โดยมีการอุ่นร่างกายก่อน และหลัง การออกกำลังกาย 5-10 นาที
- มีการถ่วงน้ำหนัก หรือต้านแรงโน้มถ่วง ตัวอย่างเช่น การวิ่งเหยาะๆ เดินเร็วๆ รำวง ลีลาศ รำมวยไทย รำมวยจีน เต้นแอโรบิค ฯลฯ
การมีอการอารมณ์ดี จะทำให้ร่างกายฮอร์โมนเพศเป็นไปได้ดี มีการสร้างสารก่อความสุข
5. อดิเรก และพักผ่อนนอนหลับ
การมีงานอดิเรกทำ จะทำให้ไม่เครียด ทั้งทำให้ร่างกายและสมองให้คงมีประสิทธิภาพอยู่ได้นาน ส่วนการนอนหลับให้เพียงพอจะทำให้สร้างฮอร์โมนเพศได้ดี
6. อาทิตย์ ควรได้รับแสงอาทิตย์ในเวลากลางวัน เพื่อทำให้นอนหลับได้ดีและให้ได้รับวิตามินดี จะได้ช่วยดูดซึมแคลเซียม
7. อด สิ่งที่เป็นพิษเช่น บุหรี่ สุรา ยาเสพติด อาหารที่มีสารพิษ
8. ออม
ควรจะต้องวางแผนการเงินไว้ในอนาคต เนื่องจากเป็นยามวัยผู้สูงอายุ มีโอกาสเจ็บป่วย ต้องมีค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ในขณะที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้
9. อุบัติเหตุ
ลดพฤติกรรมและจัดที่อยู่อาศัย ที่ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เช่น อย่าห้อยโหนรถประจำทาง หรือปีนป้ายที่สูงอย่างไม่ระมัดระวัง พื้นบ้านทำด้วยวัสดุที่ไม่ลื่น จัดให้มีแสงสว่างพอเพียงในตัวบ้าน และจัดบ้านให้โล่งเรียบเหมาะกับวัย ในบริเวณที่เนี่ยงต่อการล้ม ก็ควรมีที่เกาะยึดให้มั่นคง
แหล่งที่มา : https://carebest.blogspot.com/2012/05/9_12.html