คือ ลูกบอลที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ชนิดดีมีประสิทธิภาพการทำงานของ EM Ball มิใช่การบำบัดน้ำเสียโดยตรง แต่ใช้หลักการนำเอาจุลินทรีย์ชนิดดีมีประสิทธิภาพไปแย่งอาหาร (ของเสีย ซากพืชสัตว์ที่ไหลมากับน้ำ) จากจุลินทรีย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติในน้ำที่กำลังจะเน่า หรือในน้ำเสีย สกัดกั้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ธรรมชาติที่เป็นสาเหตุของน้ำเน่าเสีย
การใช้ EM Ball ในน้ำที่เริ่มจะเน่าเสียจะเห็นผลเร็วกว่าในน้ำที่เน่าเสียแล้ว
ส่วนประกอบของ EM Ball
ทราย 1 ส่วน
รำข้าวละเอียด 2 ส่วน
รำข้าวหยาบ 1 1/2 ส่วน
หัวเชื้อน้ำจุลินทรีย์เข้มข้นชนิดดีเจือจาง 1:200 ส่วน
เลือกใช้สูตรและส่วนผสมในการปั้นขึ้นรูปที่มี สารอาหารน้อยที่สุด เพียงประทังชีวิตของจุลินทรีย์ชนิดดี ให้พออยู่ได้ก่อนการนำไปใช้งาน เนื่องจากมีสูตรและส่วนผสมในการผลิตหลากหลาย และมีความเหมาะสมในการใช้งานตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ห้ามใช้สูตรที่มีส่วนผสมกากน้ำตาล หรือ มูลสัตว์ ซึ่งมีสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์มากเกินไป
EM Ball ที่ทำเสร็จแล้ว ไม่สามารถนำไปใช้ได้ทันที ต้องผึ่งลมไว้เป็นเวลา 2-3 วัน ห้ามตากแดด เป็นอันขาด
การใช้งาน EM Ball ที่เหมาะสมต้องนำไปใช้เฉพาะพื้นที่มีสภาพน้ำท่วมขัง หรือ น้ำไม่ค่อยไหลเวียน และ ต้องใช้ในปริมาณและระยะเวลาที่เหมาะสม
EM Ball ขนาดลูกเทนนิส 1 ลูก ใช้ได้สำหรับน้ำท่วมขัง 4-5 ลบ.ม. โดยจะยังไม่เห็นผลต่อสภาพในทันทีเพราะ EM Ball จะค่อยๆปลดปล่อยจุลินทรีย์ออกมาทำงานต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณ 7 วัน
หากเร่งใส่ EM Ball จนเกินจำนวนที่กำหนด จะทำให้มีสารอาหารหลงเหลือในน้ำมากเกินไป และอาจก่อให้เหิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อมได้ ทั้งนี้ EM Ball ที่ผลิตเสร็จแล้วต้องนำไปใช้ภายใน 30 วัน
วิธีการปั้นและทดสอบ EM Ball
- อัดส่วนผสมของ EM Ball ลงในภาชนะ เช่น ถ้วยให้แน่น
- นำออกจากภาชนะ
- ใช้อุ้งมือค่อยๆกด จน EM Ball แน่น
- และกลมจนมีขนาดประมาณลูกเทนนิส
- ลองหย่อน EM Ball ลงพื้นโดยมีความสูงประมาณหัวเข่า
- EM Ball ที่ดี ต้องไม่แตกร้าว ถ้าแตกร้าวต้องปั้น และทดสอบอีกครั้ง
ข้อมูลโดย : ดร.วิยดา กุนทีกาญจน์ (ปริญญาเอกด้านจุลชีววิทยา) คณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
: คณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ขอบคุณ : https://www.siamarsa.org/profiles/blogs/em-ball
เกาะติดข่าวน้ำท่วม ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม 2554 : https://news.sanook.com/thaiflood/