วันคนพิการแห่งชาติ
องค์การสหประชาชาติ มีมติรับแผนปฏิบัติการโลกว่าด้วยเรื่องคนพิการ ซึ่งประกอบด้วยนโยบาย มาตรการการดำเนินงานในด้านต่างๆ ที่จะส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการ การให้โอกาสคนพิการได้เข้าร่วมกิจกรรมของสังคมด้วยความเสมอภาค ทางองค์การสหประชาชาติได้เชิญชวนให้ประเทศสมาชิกร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อคนพิการ
ในส่วนของประเทศไทย วันคนพิการตรงกับวันเสาร์สัปดาห์ที่ 2 พฤศจิกายน ของทุกปี ซึ่งสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กำหนดจัดขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้คนพิการได้พบปะ สังสรรค์ แสดงความสามารถในด้านต่างๆ และเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ เกี่ยวกับการบำบัด รักษา การป้องกันและฟื้นฟู สมรรถภาพ รวมทั้งเพื่อให้คนทั่วไปได้เห็น ถึงศักยภาพ ศักดิ์ศรี และคุณค่าของคนพิการ
ความหมายของคนพิการ
คนพิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งมีความสามารถถูกจำกัดให้ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และการมีส่วนร่วมทางสังคมได้โดยวิธีการทั่วไป เนื่องจากมีความบกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญาและการเรียนรู้และมีความต้องการจำเป็นพิเศษ ด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป (ความหมายตาม ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546)
ประเภทของความความพิการ
1. พิการทางการมองเห็น คือ คนที่มีสายตาข้างที่ดีกว่าเมื่อใช้แว่นสายตาธรรมดา แล้วมองเห็นน้อยกว่า 6/18 หรือ 20/70 จนมองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง หรือมีเลนส์สายตาแคบกว่า 30 องศา
2. พิการทางกาย หรือการเคลื่อนไหว คือ ลักษณะความพิการ คนที่มีความผิดปกติหรือความบกพร่องของร่างกายเห็นชัดเจน และคนที่สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจวัตรในชีวิตประจำวันได้ ระดับความผิดปกติ 3 ถึง 5
3. พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย คือ การได้ยิน เด็กอายุน้อยกว่า 7 ปี ลักษณะความพิการ คือ หูตึงปานกลาง หูตึงมาก หูตึงรุนแรง หูหนวก ความดังเฉลี่ยเกิน 40 เดซิเบล จนไม่ได้ยิน ระดับความผิดปกติ 2 ถึง 5 เด็กอายุเกิน 7 ปี ถึงผู้ใหญ่ ลักษณะความพิการ คือ ความผิดปกติ หูตึงมาก หูตึงรุนแรง หูหนวก ความดัง 55 เดซิเบลขึ้นไป ระดับความผิดปกติ 2 ถึง 5 การสื่อสาร
4. พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม ลักษณะความพิการ คนที่มีความผิดปกติ ความบกพร่องทางจิตใจ หรือสมองในส่วนรับรู้ อารมณ์ ความคิด จนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมที่จำเป็นในการดูแลตนเอง หรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น ระดับความผิดปกติ ระดับที่ 1 และระดับที่ 2
5. พิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ ลักษณะพิการ คือ คนที่มีความผิดปกติ หรือความ บกพร่องทางสติปัญญาหรือสมอง จนไม่สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการศึกษาปกติได้ พิการซ้ำซ้อน มีความพิการมากกว่า 1 ลักษณะขึ้นไป
6. พิการซ้ำซ้อน คือ มีความพิการมากกว่า 1 ลักษณะขึ้นไป
ประเภทของความความพิการคนพิการแต่ละประเภทมีรายละเอียดความพิการในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 กำหนดลักษณะ ดังนี้
- พิการทางการมองเห็น คือ คนที่มีสายตาข้างที่ดีกว่าเมื่อใช้แว่นสายตาธรรมดา แล้วมองเห็นน้อยกว่า 6/18 หรือ 20/70 จนมองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง หรือมีเลนส์สายตาแคบกว่า 30 องศา
- พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย การได้ยิน เด็กอายุน้อยกว่า 7 ปี ลักษณะความพิการ คือ หูตึงปานกลาง หูตึงมาก หูตึงรุนแรง หูหนวก ความดังเฉลี่ยเกิน 40 เดซิเบล จนไม่ได้ยิน ระดับความผิดปกติ 2 ถึง 5 เด็กอายุเกิน 7 ปี ถึงผู้ใหญ่ ลักษณะความพิการ คือ ความผิดปกติ หูตึงมาก หูตึงรุนแรง หูหนวก ความดัง 55 เดซิเบลขึ้นไป ระดับความผิดปกติ 2 ถึง 5 การสื่อสาร
- พิการทางกาย หรือการเคลื่อนไหว ลักษณะความพิการ คนที่มีความผิดปกติหรือความบกพร่องของร่างกายเห็นชัดเจน และคนที่สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจวัตรในชีวิตประจำวันได้ ระดับความผิดปกติ 3 ถึง 5
- พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม ลักษณะความพิการ คนที่มีความผิดปกติ ความบกพร่องทางจิตใจ หรือสมองในส่วนรับรู้ อารมณ์ ความคิด จนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมที่จำเป็นในการดูแลตนเอง หรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น ระดับความผิดปกติ ระดับที่ 1 และระดับที่ 2
- พิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ ลักษณะพิการ คือ คนที่มีความผิดปกติ หรือความ บกพร่องทางสติปัญญาหรือสมอง จนไม่สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการศึกษาปกติได้
- พิการซ้ำซ้อน มีความพิการมากกว่า 1 ลักษณะขึ้นไป
กิจกรรมในวันคนพิการแห่งชาติ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดต่างๆ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะเสนอชื่อคนพิการที่มีความโดดเด่น ต่อสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย เพื่อรับการพิจารณาเป็นบุคคลพิการตัวอย่างประจำปีนั้นๆ จะนำคนพิการดีเด่นเข้ารับประทานโล่เกียรติคุณ และเงินรางวัลจากพระบรมวงศานุวงศ์ ในวันคนพิการประจำปีในส่วนกลางซึ่งงานนี้ จัดโดยสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งคนพิการและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าร่วมงานได้
นักเขียนพิการทางสมอง คว้ารางวัลวรรณกรรมของเนปาล
ความพิการทางสมองตั้งแต่เกิดของ ฌามัค รุมารี จิไมร์ (Jhamak Rumari Ghimire) อาจเป็นอุปสรรคในช่วงเริ่มต้นของการเรียนรู้ชีวิต แต่หลังจากที่เรียนรู้เพื่อเอาชนะอุปสรรคที่ส่งมาพร้อมกับการมีชีวิตอยู่ ทำให้แวดวงวรรณกรรมได้นักเขียนด้วยฝ่าเท้าวัย 30 มาประดับวงการ พร้อมกับของขวัญแห่งความวิริยะด้วยรางวัลอันทรงเกียรติทางด้านวรรณกรรมของ เนปาลที่ชื่อ The Madan Purakar Prize
สายด่วนคนพิการ โทร 1479 ได้งาน เข้าถึงสิทธิ์ เพื่อชีวิตที่ดีกว่า
ขอบคุณที่มา todayth.com