วันอุตุนิยมวิทยาโลก
วันอุตุนิยมวิทยาโลก, วันอุตุนิยมวิทยาโลก หมายถึง, วันอุตุนิยมวิทยาโลก คือ, วันอุตุนิยมวิทยาโลก ความหมาย, วันอุตุนิยมวิทยาโลก คืออะไร
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก WMO - WORLD METEOROLOGICAL ORGANIZATION โดยที่อุตุนิยมวิทยาเป็นงานระหว่างประเทศ เนื่องจากกระแสอากาศเคลื่อนที่ได้ระยะทา้งเป็นพันๆกิโลเมตร ดังนั้นการตรวจเฝ้าติดตามลมฟ้าอากาศต้องกระทำเป็นบริเวณกว้างในเวลาเดียวกัน กล่าวคือต้องทำการตรวจพร้อมกันทุกแห่งทั่วโลกเพื่อที่ีี่จะวิเคราะห์อากาศได้อย่างถูกต้องการรวบรวมและกระจายผลการตรวจอากาศจำนวนมากมายเช่นนี้จะต้องมีการรับผิดชอบและจัดการร่วมกัน มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับเวลาทำการตรวจวัดหน่วยที่ใช้รหัสอุตุนิยมวิทยาวิธีการต่างๆเกี่ยวกับการรับและกระจายข่าวอากาศ ตลอดจนค้นคว้าเทคนิคแผนใหม่ๆร่วมกัน ด้วยสาเหตุนี้ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองได้มีการจัดตั้งองค์การอุตุระหว่างประเทศ (INTERNATIONAL METEOROLOGICAL ORGANIZATION) เพื่อประสานงานอุตุนิยมวิทยาแต่ละประเทศ ต่อมา พ.ศ.2490 ได้มีการประชุมหัวหน้าหน่วยบริการอุตุนิยมวิทยาประเทศต่างๆ ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศต่างๆเหล่านี้ได้ร่วมกันก่อตั้งองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกขึ้นและได้มีอนุสัญญาว่าด้วยอุตุนิยมวิทยาโลกเป็นหลักดำเนินการ อนุสัญญานี้ใช้บังคับตั้งแต่ 23 มีนาคม พ.ศ.2491 ประเทศไทยได้ร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญา 23 มีนาคม 2493
สำหรับภารกิจหลัก ๆ ของ องค์การอุตุนิยมวิทยา มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีสมาชิก 189 ประเทศ ซึ่งทำหน้าที่ตรวจเฝ้าติดตามสภาพดินฟ้าอากาศพร้อมกันทุกแห่งทั่วโลก หน้าที่ป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติ ที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบนพื้นพิภพ ตลอดจนสำรวจสภาพชั้นบรรยากาศ ที่ปกคลุมโลกมนุษย์ การให้บริการด้านการพยากรณ์เพื่อความปลอดภัยของการบินพลเรือน การขนส่งทางทะเล การเกษตรกรรม การจัดสรรทรัพยากรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ ตลอดจนทำข้อตกลงเกี่ยวกับเวลา, หน่วยตรวจวัด, รหัสอุตุนิยมวิทยา อีกทั้งวิธีการต่าง ๆ ในการรวบรวมข้อมูลและกระจายข่าวสารออกไป รวมไปถึงการค้นคว้าเทคนิคใหม่ ๆ ร่วมกันกับสมาชิก
ทุก ๆ วันที่ 23 มีนาคม ของทุกปี จะมีการจัดเฉลิมฉลอง "วันอุตุนิยมวิทยาโลก" เพื่อให้สมาชิกแต่ละประเทศร่วมระลึกถึงการก่อตั้งองค์การสำคัญดังกล่าว และจัดกิจกรรม พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าทางวิชาการอุตุนิยมวิทยา ภายใต้หัวข้อที่ชื่อว่า "การป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติ" เนื่องจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ และน้ำโดยตรง ซึ่งทาง WMO และหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติ จะหาวิธีช่วยกันเตรียมป้องกัน และบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ร่วมทั้งภัยอื่น ๆ ที่เกิดอย่างฉุกเฉินอีกด้วย ทั้งนี้เพราะจากเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงในรอบปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง WMO
1. เพื่อความสะดวกในการจัดตั้งข่ายสถานีตรวจอากาศ
2. เพื่อส่งเสริม จัดตั้งและบำรุงรักษาระบบการแลกเปลี่ยนข่าวอุตุนิยมวิทยาให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว
3. เพื่อส่งเสริมการวางมาตรฐานการตรวจอุึตุนิยมวิทยาและเพื่อเป็นหลักประกันให้มีการจัดพิมพ์ผลการตรวจและจัดทำสถิติอุตุนิยมวิทยาให้เป็นไปโดยสม่ำเสมอ
4. เพื่อขยายวงการใช้อุตุนิยมวิทยาในกิจการเกี่ยวกับการบิน การเดินเรือ การกสิกรรมและกิจการอื่นๆให้กว้างขวาง
5. เพื่อสนับสนุนการค้นคว้าและการอุตุนิยมวิทยาการบิน
แหล่งที่มา : https://www.thaigoodview.com/node/16958
https://www.siam1.net/article-13005.html
วันอุตุนิยมวิทยาโลก, วันอุตุนิยมวิทยาโลก หมายถึง, วันอุตุนิยมวิทยาโลก คือ, วันอุตุนิยมวิทยาโลก ความหมาย, วันอุตุนิยมวิทยาโลก คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!