ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การรับมือวิกฤติเศรษฐกิจ, การรับมือวิกฤติเศรษฐกิจ หมายถึง, การรับมือวิกฤติเศรษฐกิจ คือ, การรับมือวิกฤติเศรษฐกิจ ความหมาย, การรับมือวิกฤติเศรษฐกิจ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การรับมือวิกฤติเศรษฐกิจ


     ความเชื่อมั่นคือทุกสิ่งทุกอย่างในโลกธุรกิจและการเงิน โดยเฉพาะตลอดสองสามเดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้นักธุรกิจหวดผวาไปกับความร้ายแรงของการขาดความเชื่อมั่น รัฐบาลทั่วโลกตื่นตระหนกและอัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้าสู่ระบบสถาบันการเงิน เพื่อรักษาความมีเสถียรภาพของระบบธนาคารโลกไปพร้อมๆกับการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักธุรกิจและนักลงทุน โดยนโยบายต่างๆที่ถูกกำหนดขึ้นถูกออกแบบและผลักดันให้ออกมาใช้ อย่างเร่งด่วน

     นโยบายต่างๆจะมีผลเท่าใดไม่มีใครทราบ แต่ที่นักธุรกิจทั่วโลกเห็นพ้องต้องกันก็คือการที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรปมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยผลกระทบจากภาคอสังหาริมทรัพย์ได้กระจายเข้าสู่ภาคการเงินและการธนาคารแล้ว และกำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคธุรกิจจริง สิ่งที่ต้องลุ้นกันต่อไปก็คือภาวะถดถอยที่กำลังจะเกิดขึ้นจะลึกและนานเท่าใด ในตลาดโลกราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ เริ่มลดลง รวมถึงการลดลงของค่าระวางเรือ ซึ่งสามารถตีความไว้ว่าความต้องการสินค้าในตลาดโลกเริ่มหดหาย ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจที่มีต่อประเทศไทยก็เริ่มเห็นบ้างแล้ว แม้อาจจะยังคาดเดาความรุนแรงไม่ได้ โดยอย่างน้อยในช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในอุตสาหกรรมรถยนต์ โตโยต้าซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับหนึ่งของประเทศไทย ได้ประกาศลดปริมาณการผลิตลงแล้วร้อยละ 20

     นับตั้งแต่ประเทศไทยได้เริ่มก้าวเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ทางด้านเศรษฐกิจ (โดยมีแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในทศวรรษที่ 2500 เป็นจุดเริ่มต้น) ประเทศไทยได้ผ่านวิกฤติเศรษฐกิจมาแล้วสองครั้งคือ วิกฤติจากราคาน้ำมันในครึ่งหลังของทศวรรษที่ 2510 และวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 บาดแผลของวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ยังสดไม่แห้งดี และฝันร้ายก็ยังไม่หายไปจากความทรงจำ แน่นอนว่า วันนี้เศรษฐกิจของไทยแข็งแรงกว่าในปี 2540 อย่างไม่ต้องสงสัย โดยธนาคารพาณิชย์โดยส่วนใหญ่ของไทยมีอัตราทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Capital Ratio) อยู่ในเกณฑ์ที่เรียกว่าแข็งแกร่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศจำนวนมหาศาล และภาคธุรกิจก็มีกำไรสะสมอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

     แต่การมีพื้นฐานที่ดีก็ไม่ได้หมายความว่าประเทศไทยมีภูมิคุ้มกันจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก เนื่องจากเหตุผลสองประการคือ ระบบโลกาภิวัตน์ได้หลอมรวมให้ประเทศไทยกลายเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลก โดยร้อยละ 70 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทยขึ้นอยู่กับการส่งออก อุตสาหกรรมหลายๆสาขาภายในประเทศไม่สามารถพัฒนาการต่อไปได้ หากขาดความต้องการสินค้าและเงินลงทุนจากต่างประเทศ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ ซึ่งเป็นสองอุตสาหกรรมที่ทำรายได้การส่งออกให้กับประเทศมากที่สุด และถ้าเกิดวิกฤติเศรษฐกิจจริงๆ สภาพคล่องทั่วโลกจะหดหาย เครดิตไลน์และเงินทุนจะถูกดึงออกนอกประเทศ ทำให้การค้าการลงทุนหยุดชะงัก และหากเศรษฐกิจอเมริกาและยุโรปเป็นหวัด เศรษฐกิจไทยอาจเข้าขั้นโคม่า ไม่ใครอยากให้วิกฤติการเงินโลกลามมาถึงประเทศไทย และไม่มีใครอยากเป็นคนเคยรวย แต่ความประมาทและความมั่นใจในตนเองมากจนเกินไป ก็คือสาเหตุหนึ่งของการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 เราจึงต้องเตรียมการเพื่อรองรับความเป็นไปได้ที่เลวร้ายที่สุด บทเรียนหนึ่งที่เราเรียนรู้จากวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 ก็คือวิกฤติเศรษฐกิจนั้นเมื่อเกิดขึ้นจะรวดเร็วและรุนแรงมากกว่าที่จะคาดคิดได้ ดังนั้น ธุรกิจไทยจึงควรมีการเตรียมตัวรับมือวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นด้วยกลยุทธ์สี่อย่างได้แก่

     1.จำกัดการลงทุนในท้ายปีนี้และครึ่งปีแรกของปี 2552 ให้เหลือน้อยที่สุด ในช่วงที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดี ธุรกิจก็ควรลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่ในภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มจะทรุดตัวก็ต้องเลือกที่จะไม่ลงทุนในการลงทุนที่ไม่ส่งผลบวกด้านการเงินในระยะสั้น ภาวะวิกฤตินั้น เงินสดหรือสายป่านสำคัญกว่าสภาพกำไรหรือขาดทุน นอกจากนี้ การเงินสดสะสมไว้ในภาวะวิกฤติยังทำให้ธุรกิจเข้าถึงโอกาสในการซื้อสินทรัพย์หรือบริษัทที่มีสภาพย่ำแย่จากวิกฤติในราคาที่ถูกด้วย

     2.ลดหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยผูกพัน โดยเฉพาะหนี้ระยะสั้น เพราะในภาวะวิกฤติ หนี้ระยะสั้นอาจไม่สามารถหมุนทดรอบไปได้ เนื่องจากธนาคารเองก็จำเป็นต้องลดความเสี่ยง เช่นกัน การลดภาระหนี้ที่มีดอกเบี้ยผูกพันจะทำให้ภาระดอกเบี้ยเบาลง และงบดุลแข็งแรงยิ่งขึ้น ทำให้ธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ง่ายและมีต้นทุนเงินกู้ที่ถูกลงในภาวะวิกฤติ

     3.วางแผนกำลังคนอย่างยืดหยุ่น ซึ่งทำได้โดยการเปิดรับให้มีพนักงานประเภทเหมาช่วง (Sub-contract) เป็นอัตราส่วนที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับพนักงานประจำ หากเกิดภาวะที่ความต้องการสินค้าจากลูกค้าน้อยลง พนักงานประเภทเหมาช่วงจะทำให้ภาระในการลดต้นทุนค่าแรงงานเบาขึ้น และสามารถทำให้บริษัทตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวอาจจะดูรุนแรง แต่ในวิกฤติทุนนิยมโลกาภิวัตน์ การใช้พนักงานเหมาช่วงเพื่อลดต้นทุนทางด้านแรงงานให้ได้อย่างรวดเร็ว ก็ยังจะดูเลวร้ายน้อยกว่าการที่ปล่อยให้ธุรกิจล้มและปล่อยให้พนักงานทั้งหมดตกงาน โดยไม่ได้รับค่าชดเชย แต่อย่างใด

    4.กระจายข้อมูลความต้องการสินค้าและบริการให้รวดเร็วในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) การผลิตหรือการบริการนั้นมีผู้รับช่วงอยู่ข้างบนและข้างล่างเราเสมอในห่วงโซ่อุปทาน ข้อมูลความต้องการสินค้าและบริการมาจากธุรกิจที่อยุ่ปลายห่วงโซ่อุปทานสู่ต้นน้ำ และสินค้าไหลจากธุรกิจต้นน้ำสู่ธุรกิจปลายน้ำ ภาวะเลวร้ายซึ่งความต้องการใช้สินค้าของผู้บริโภคลดลง ถ้าธุรกิจปลายน้ำสามารถทำให้ข้อมูลปริมาณสินค้าคงเหลือถึงมือผุ้ผลิตต้นน้ำได้ยิ่งเรซเท่าไหร่ ผลกระทบในรูปแบบของสินค้าคงเหลือซึ่งมีค่าเท่ากับเงินสด ก็จะยิ่งน้อยลงเท่านั้น ห่วงโซ่อุปทานที่กระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็วลูกต้องจะสามารถลดความเสี่ยงและความสูญเสียของผุ้ประกอบการในห่วงโซ่นั้นได้ดีกว่าคู่แข่ง

โดย คุณวีระชาติ ชุตินันท์วโรดม
ที่มา TSI Investment Wiki
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
     https://www.tsi-thailand.org/
     https://www.set.or.th/

การรับมือวิกฤติเศรษฐกิจ, การรับมือวิกฤติเศรษฐกิจ หมายถึง, การรับมือวิกฤติเศรษฐกิจ คือ, การรับมือวิกฤติเศรษฐกิจ ความหมาย, การรับมือวิกฤติเศรษฐกิจ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu