อำเภออัมพวา เป็นชุมชนที่มีมาก่อนตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ มีผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่ไม่มากนัก ต่อมาเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2310 ได้มีผู้คนอพยพมาตั้งถิ่นฐานมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะชุมชนแห่งนี้ เป็นทำเลที่เหมาะแก่การเพาะปลูกและอยู่อาศัย ส่วนที่ทำการอำเภออัมพวาในอดีตนั้น อาศัยศาลาการเปรียญของวัดอัมพวันเจติยาราม เป็นที่ทำการ และต่อมาก็ได้ย้ายข้ามคลองไปอยู่ที่ศาลาการเปรียญวัดท้ายตลาด ตำบลบางกะพ้อม และต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองมาจนถึงปัจจุบันแต่ยังคงใช้ชื่ออัมพวาเพราะบริเวณนี้เดิมเป็นเรือกสวน มีต้นมะม่วงและต้นมะพร้าวอยู่เป็นจำนวนมาก
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่านมีลำคลองไหลผ่านหลายสาย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนผลไม้ ได้แก่สวนลิ้นจี่ สวนส้มโอ สวนมะพร้าว สวนมะม่วง ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปจะมีฝนตกชุกประมาณเดือน พฤษภาคม-ตุลาคม เนื่องจากได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากทะเลมากนัก จึงทำให้อากาศไม่หนาวจัดมากนัก
ภาพจาก คุณ amp
https://www.maeklongtoday.com/boardimages/data/0005-1.html
ประวัติความเป็นมา
อำเภออัมพวา มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยก่อนเรียกกันว่า
ข้อมูลการเกษตร
พื้นที่ของจังหวัดสมุทรสงครามมีประมาณ 260,441.87 ไร่ เป็นพื้นที่ใช้ประกอบอาชีพทางการเกษตรประมาณ 141,301ไร่ และเป็นพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลระยะทางยาว 23 กิโลเมตร ติดฝั่งแม่น้ำแม่กลอง 22 กิโลเมตร มีลำคลองสาขาอีก 330 คลอง แยกจากแม่น้ำแม่กลอง อีก 16 คลองไหลลงสู่อ่าวไทย จึงทำให้ชาวสมุทรสงครามมีอาชีพหลักที่สำคัญคือการเกษตรซึ่งมีผู้ประกอบอาชีพประมาณร้อยละ 80 และทำการประมง ซึ่งเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้กับจังหวัดมากที่สุด อีกประมาณร้อยละ 10 ส่วนที่เหลือประกอบอาชีพ ทำนาเกลือ เลี้ยงสัตว์ รับจ้างและธุรกิจอื่นๆ การเกษตรที่สำคัญซึ่งจะกล่าวในที่นี้ คือ มะพร้าว , ลิ้นจี่ และนาเกลือเท่านั้น การทำสวนมะพร้าว มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ การทำสวนมะพร้าวแบ่งออกเป็นสามประเภทคือ มะพร้าวผล มะพร้าวตาล และมะพร้าวอ่อน
ข้อมูลจาก
https://samutsongkham.doae.go.th/amphawa/
https://www.tourinthai.com/sitetravel/travel-detail.php?travel_id=247