อองซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi)
ออง ซาน ซูจี เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2488 บิดา นายพลอองซาน เสียชีวิตจากการถูกสังหาร เมื่อเธอมีอายุเพียง 2 ขวบ จนกระทั่งอายุ 15 ปี ซูจีได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทูตพม่าประจำประเทศอินเดีย
ออง ซาน ซูจี ได้รับปริญญา สาขาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ปี 2510 และเริ่มทำงานกับสำนักงานเลขาธิการองค์การสหประชาชาติที่นิวยอร์ค จากนั้น ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่วิจัยกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลภูฐาน
ปี พ.ศ. 2515 ออง ซาน ซูจีแต่งงานกับ ดร.ไมเคิล อริส นักวิชาการชาวอังกฤษและให้กำเนิดบุตรชายคนแรก อเล็ก และปี พ.ศ.2516 บุตรชายคนที่สอง คิม
บทบาททางการเมืองของ ออง ซาน ซูจี
เธอเป็นศูนย์กลางและสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่านับแต่ปี 2531 หลัง เกิดเหตุปราบปรามเข่นฆ่านักศึกษาและประชาชนที่รวมตัวกันเรียกร้องประชาธิปไตยกลางใจเมือง ร่างกุ้ง รายได้เสริมทำผ่าน net ทำจากที่บ้าน 100% รายได้ 5 หมื่น บ/ด ขั้นต่ำ ไม่ต้องชวน ไม่ขาย สมัครที่ www.reju.true.ws
เหตุการณ์เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2532 กลายเป็นตำนานเล่าขานสืบมาเมื่อ ออง ซาน ซูจี เริ่มต้นใช้ รูปแบบสันติวิธี เผชิญหน้ากับทหารฝ่ายรัฐบาล บริเวณปากลุ่มน้ำอิระวดี ออง ซาน เดินหน้าอย่าง ไม่หยุด ปากกรับอกปืนที่ฝ่ายทหารขึ้นไกปืนเตรียมพร้อมเล็งมาที่เธอ เพื่อบังคับให้เธอหยุดการ รณรงค์หาเสียงจากการจัดให้มีการเลือกตั้งเสรีเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี เมื่อเดือนพฤษภาคม 2533 หลังจากการลุกฮือเรียกร้องประชาธิปไตยทั่วประเทศของ บรรดานักศึกษา ประชาชน เมื่อปี 2531
ผลการเลือกตั้งผิดความคาดหมาย พรรคซูจีชนะ แบบฟ้าถล่ม ส่วนพรรคชาติสามัคคีของฝ่ายทหารแพ้ยับเยิน แต่รัฐบาลทหารไม่ยอมรับ ผลการเลือกตั้ง รัฐบาลทหารพยายามบีบบังคับให้ ซูจีเดินทางออกนอกประเทศ แต่ ซูจี ปฎิเสธที่จะเดินทางออกนอกประเทศตามข้อเสนอของรัฐบาลทหารแต่เลือกที่จะ อยู่เป็นสัญลักษณ์ปลุกเร้าความกล้าหาญของประชาชนพม่าในการเรียกร้องต่อสู้ประชาธิปไตย ในประเทศเพื่อความถูกต้อง ถูกกักบริเวณให้อยู่แต่ในบ้านพักของเธอเป็นเวลาถึง 6 ปี (กรกฏาคม 2532- กรกฏาคม 2538 )
นางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย พรรคฝ่ายค้านในประเทศพม่า ได้รับการประกาศชื่อให้เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในปี พ.ศ.2534 โดยคณะกรรมการโนเบลแห่งประเทศนอรเวย์ มอบให้เป็นเกียรติในการต่อสู้ตามแนวทางสันติวิธีของเธอ ในการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในประเทศพม่า ซูจีไม่มีโอกาสเดินทาง ไปรับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ด้วยตัวเอง เดือนธันวาคม อเล็กซานเดอร์ และคิมบินไปรับรางวัล แทนมารดาที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ สองพี่น้องเดิน ถือภาพถ่ายของมารดา ขึ้นเวทีท่าม กลางเสียงปรบมือต้อนรับอย่างกึกก้อง อเล็กซานเดอร์กล่าว กับคณะกรรมการและผู้มาร่วมในพิธีว่า