"เยือนถิ่นสาวงาม เมืองมอญ นามนครเขื่อนขันธ์สืบสานความเป็นไทยเที่ยวงานพื้นบ้านชุมชนไทยรามัญ ร่วมประเพณีแห่นก แห่ปลา ชิมของดีเมืองพระประแดงในงานประเพณีสงกรานต์"
เทศบาลเมืองพระประแดง ร่วมกับจังหวัดสมุทรปราการ ชุมชนชาวพระประแดง และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กำหนดจัดงาน “ประเพณีสงกรานต์พระประแดง” ระหว่างวันที่ 18 - 20 เมษายน 2551 ณ บริเวณลานหน้าโรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้าอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริมงานประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวไทยเชื้อสายรามัญ ปี 2551 คณะทำงานได้จัดงานอย่างยิ่งใหญ่และคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ไทยรามัญดั้งเดิมนักท่องเที่ยวจะได้พบกับกิจกรรมมากมาย ได้แก่ วันที่ 18–19–20 เมษายน 2551 ตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป
• ชมการละเล่นพื้นบ้าน (สะบ้ารามัญ และสะบ้าทอย) ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ป้อมแผลงไฟฟ้า และหมู่บ้านรามัญ (บ่อนสะบ้า)
• ชมการแสดงดนตรีไทยของศูนย์เยาวชนเทศบาลเมืองพระ ประแดง
• การแสดงวงอังกะลุง และวงผิวขลุ่ย ของโรงเรียนสังกัดเทศบาล
• ชมการแสดงทะแยมอญกล่อมบ่อนสะบ้ารามัญ
• ชมการสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากการกวนกาละแม ของดีเมืองพระประแดง ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ป้อมแผลงไฟฟ้า
• ชมการประดับไฟ แสง สี ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ป้อมแผลงไฟฟ้า
• ชมภาพยนตร์ มหรสพต่าง ๆ ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ป้อมแผลงไฟฟ้า
วันที่ 18 เมษายน 2551
• การประกวดนางสงกรานต์ (ชิงถ้วยรางวัลและเงินรางวัล 50,000 บาท) และหนุ่มลอยชาย (ชิงถ้วยรางวัลและเงินรางวัล 20,000 บาท) รับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2551 ถึง วันที่ 16เมษายน 2551ณ กองการศึกษา เทศบาลเมืองพระประแดง โทร.0-2463-4841
วันที่ 20 เมษายน 2551
• ชมพิธีสรงน้ำพระพุทธรูป รดน้ำขอพรผู้ใหญ่/เล่นน้ำสงกรานต์ เวลาประมาณ 09.30 น.
• ชมพิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง ณ บริเวณปะรำพิธี เวลาประมาณ 13.00 น.
• ชมขบวนแห่นางสงกรานต์ ขบวนสาวงาม และขบวนรถบุปผชาติที่สวยงามตระการตา โดยเริ่มเคลื่อนขบวนจากที่ตั้งขบวนไปตามถนนนครเขื่อนขันธ์ ผ่านหน้าวัดกลาง เลี้ยวขวาไปตามถนนพระราชวิริยาภรณ์ เลี้ยวขวาข้ามสะพานคลองลัดหลวง เลี้ยวซ้ายเข้าสู่พระอารามหลวงวัดโปรดเกศเชษฐาราม เวลาประมาณ 15.30 น.
• ชมขบวนแห่นก – แห่ปลา และร่วมพิธีปล่อยนก – ปล่อยปลา ณ วัดโปรดเกศเชษฐาราม
นางสาวเบญจวรรณ สุเนตรวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงาน ททท.ภาคกลางเขต 8 กล่าวว่า ประเพณีสงกรานต์ของพระประแดงจะแตกต่างจากการจัดงานสงกรานต์ที่อื่น โดยจะจัดภายหลังจากงานสงกรานต์อื่น ๆ ประมาณ 1 สัปดาห์ ดังนั้น นักท่องเที่ยวที่พลาดโอกาสในการเล่นน้ำในวันสงกรานต์ 13-15 เมษายน 2551 ก็ยังสามารถมาสาดน้ำใสใส่เสื้อลายดอก เที่ยวสงกรานต์ที่เมืองพระประแดงได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถชมแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงกับสถานที่จัดงานได้อีกหลายจุด เช่น ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เลือกซื้อของอร่อย ของฝาก ของที่ระลึก ชมบรรยากาศ ตลาดน้ำได้ที่ “ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง” อ.พระประแดง หรือจะเที่ยวชมและสัมผัสเขตทหารน่าเที่ยวภายใน “ป้อมพระจุลจอมเกล้า” อำเภอพระสมุทรเจดีย์ สักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว, ชมอุทยาน ประวัติศาสตร์ทหารเรือ ประกอบด้วยอาคารนิทรรศการจัดแสดงภาพการป้องกันประเทศจากภัยคุกคาม จนถึงภาพการพัฒนากองทัพเรือในปัจจุบัน ภายนอกอาคาร จัดแสดงพิพิธภัณฑ์อาวุธยุทโธปกรณ์กลางแจ้ง วิวัฒนาการของกองทัพเรือในการป้องกันประเทศตลอดจนบทบาทในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จุดเด่นต้องไม่พลาดชมกลุ่มปืนเสือหมอบ เป็นปืนรุ่นแรกที่บรรจุกระสุนทางท้ายกระบอกและเป็นอาวุธ หลุมที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ในช่วงปี พ.ศ.2436 ในปัจจุบันยังสามารถใช้ยิงได้จริง, พิพิธภัณฑ์เรือรบหลวงแม่กลอง ที่ปลดประจำการมาให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาและเที่ยวชมได้บนบก, เที่ยวชมป่าชายเลนปราการธรรมชาติที่รักษาสมดุลระหว่างผืนแผ่นดินกับทะเล
จากนั้นก็ใช้เวลาอีกครึ่งวันเพื่อเที่ยวชมงานประเพณีสงกรานต์พระประแดงที่จัดอย่างยิ่งใหญ่ และมีกลิ่นอายของ วัฒนธรรมไทยรามัญ เข้าที่พัก เมืองปากน้ำมีที่พักหลากหลายบรรยากาศทั้งโรงแรมและรีสอร์ท
เช้าวันที่สอง เดินทางข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถใช้เส้นทางได้ถึงสองเส้นทางจะใช้สะพานวงแหวนอุตสากรรมตะวันออก หรือสะพานวงแหวนอุตสาหกรรมตะวันตก ระหว่างการขับรถข้ามฝั่งชมทิวทัศน์เมืองปากน้ำริมขอบแม่น้ำเจ้าพระยา จากนั้นเลือกชมแหล่งท่องเที่ยวหลักฝั่งเมืองปากน้ำ อาทิ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ, เมืองโบราณ, ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ, สถานตากอากาศบางปู, ไหว้หลวงพ่อโต “วัดบางพลีใหญ่ใน” , ปิดทองหัวใจพระ “วัดบางพลีใหญ่กลาง” หรือจะเที่ยวตลาดเก่าอายุกว่า 100 ปี เลือกซื้อของฝากของกินของใช้นานาชนิด “ตลาดโบราณบางพลี” และ “ตลาดคลองสวน” ก่อนจะเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
กำหนดการงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง ประจำปี 2551
วันที่ 18 – 19 – 20 เมษายน 2551 ตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป
• ชมการละเล่นพื้นบ้าน (สะบ้ารามัญ และสะบ้าทอย) ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ป้อมแผลงไฟฟ้า และหมู่บ้านรามัญ (บ่อนสะบ้า)
• ชมการแสดงดนตรีไทยของศูนย์เยาวชนเทศบาลเมืองพระประ แดง
• การแสดงวงอังกะลุง และวงผิวขลุ่ย ของโรงเรียนสังกัดเทศบาล
• ชมการแสดงทะแยมอญกล่อมบ่อนสะบ้ารามัญ
• ชมการสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากการกวนกาละแม ของดีเมืองพระประแดง ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ป้อมแผลง
ไฟฟ้า
• ชมการประดับไฟ แสง สี ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ป้อมแผลงไฟฟ้า
• ชมภาพยนตร์ มหรสพต่าง ๆ ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ป้อมแผลงไฟฟ้า
วันที่ 18 เมษายน 2551
• การประกวดนางสงกรานต์ (ชิงถ้วยรางวัลและเงินรางวัล 50,000 บาท) และหนุ่มลอยชาย (ชิงถ้วยรางวัลและเงินรางวัล 20,000 บาท) รับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2551 ถึง วันที่ 16 เมษายน 2551 ณ กองการศึกษา เทศบาลเมืองพระประแดง โทร.0-2463-4841
วันที่ 20 เมษายน 2551
• ชมพิธีสรงน้ำพระพุทธรูป รดน้ำขอพรผู้ใหญ่/เล่นน้ำสงกรานต์ เวลาประมาณ 09.30 น
• ชมพิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง ณ บริเวณปะรำพิธี เวลาประมาณ 13.00 น.
• ชมขบวนแห่นางสงกรานต์ ขบวนสายงาม และขบวนรถบุปผชาติที่สวยงามตระการตา โดยเริ่มเคลื่อนขบวนจากที่ตั้งขบวนไปตามถนนนครเขื่อนขันธ์ ผ่านหน้าวัดกลางเลี้ยวขวาไปตามถนนพระราชวิริยาภรณ์ เลี้ยวขวาข้ามสะพานคลองลัดหลวงเลี้ยวซ้ายเข้าสู่พระอารามหลวงวัดโปรดเกศเชษฐาราม เวลาประ มาณ 15.30 น.
• ชมขบวนแห่นก – แห่ปลา และร่วมพิธีปล่อยนก – ปล่อยปลา ณ วัดโปรดเกศเชษฐาราม
สรุปกิจกรรมภายในงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง ประจำปี 2551
• ขบวนแห่นางสงกรานต์ ขบวนรถบุปผาชาติ
• ขบวนสาวงามแต่งกายด้วยชุดไทยรามัญถือโหลปลา ถือกรงนก อีกส่วนหนึ่งเดินนำหน้ารถสงกรานต์ ขนาบด้วยหนุ่มแต่งชุดลอยชายซึ่งเป็นหนุ่มชาวไทยรามัญ แต่งกายด้วยโสร่ง สวมเสื้อคอ กลม ใช้ผ้าสไบคล้องคอ ตวัดชายไปข้างหลังตามแบบของรามัญ
• การละเล่นสะบ้า ซึ่งเป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยเชื้อสายรามัญ (สะบ้าบ่อน สะบ้าทอย)
• การแสดงทะแยมอญ ของชายไทยรามัญ (การร้องเพลงพื้นบ้านของชาวมอญ ทำนองเกี้ยวพาราศี ประกอบการรำของหนุ่มสาวชาวมอญ)
• จัดพิธีเปิดงานสงกรานต์ / ขบวนแห่นก – แห่ปลา อันเป็นประ เพณีของชาวไทยเชื้อสายรามัญที่สอดคล้องกับตำนานตามพุทธศาสนา ในเรื่องของการประกอบกุศลกรรม
• การประกวดนางสงกรานต์ และประกวดหนุ่มลอยชาย
• การกวนกาละแม ของดีเมืองพระประแดง ขนมคู่งานสงกรานต์พระประแดง เป็นขนมที่เชิดหน้าชูตาของชาวมอญ ซึ่งแฝงไว้
ซึ่งกลอุบายโบราณอันแยบยลที่สื่อให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความสามัคคีและความรักที่เหนียวแน่นเหมือน
“กาละแม”
• การแสดงแสง สี ประกอบละคร ณ โบราณสถานประวัติศาสตร์ป้อมแผลงไฟฟ้า ซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ 2 เพื่อเป็นป้อมปราการ ป้องกันข้าศึกทางทะเล สมัยที่ฝรั่งเศสล่าอาณานิคม
• เชิญชิมอิ่มอร่อยกับมหกรรมอาหารพื้นที่บ้านของรามัญ และอาหารอร่อยในงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง ณ ลานอเนก
ประสงค์ริมน้ำเจ้าพระยา
• เชิญชมกิจกรรมการประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ดนตรี ดารา นักร้องนักแสดง ดาวตลก การแสดงการละเล่นพื้นบ้าน และการแสดงเพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์พระประแดง ณ ลานอเนกประสงค์ริมน้ำเจ้าพระยา
นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและขอรับตัวอย่างเส้นทางท่องเที่ยวได้ที่ สำนักงานททท.ภาคกลาง เขต 8 โทร. 0-3731-2282, 0-3731- 2284 , 1672 หรือ www.tat8.com เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น.
ข้อมูลจาก : https://www.tat8.com/thai/news/sp_songkran51.htm